การพยาบาลผู้ป่วยโรคไตวายเรื้อรังระยะสุดท้ายที่รักษาด้วยการล้างไตทางช่องท้องชนิดถาวร ร่วมกับภาวะปอดอักเสบเนื่องจากโรคติดเชื้อโคโรน่าไวรัส 2019 (COVID-19): กรณีศึกษา

ผู้แต่ง

  • บุญพริ้ง เจริญภัทราวุฒิ โรงพยาบาลนครปฐม

คำสำคัญ:

การพยาบาล, ผู้ป่วยโรคไตวายเรื้อรังระยะสุดท้ายที่ล้างไตทางช่องท้องชนิดถาวร, ภาวะปอดอักเสบเนื่องจากโรคติดเชื้อโควิด-19

บทคัดย่อ

ผู้ป่วยไตวายเรื้อรังระยะสุดท้ายที่ต้องรับการฟอกเลือดหรือล้างไตทางช่องท้องมีความเสี่ยงที่จะติดเชื้อ โคโรน่าไวรัส 2019 และภาวะแทรกซ้อนรุนแรงซึ่งเป็นสาเหตุการเสียชีวิต กรณีศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์ การพยาบาลผู้ป่วยโรคไตวายเรื้อรังระยะสุดท้ายที่รักษาด้วยวิธีการล้างไตทางช่องท้องชนิดถาวรและมีภาวะปอด อักเสบเนื่องจากโรคติดเชื้อโควิด-19 จำนวน 2 รายที่เข้ารับการรักษาที่โรงพยาบาลนครปฐม เก็บข้อมูลจาก เวชระเบียน การสัมภาษณ์ผู้ป่วยและญาติ มีการกำหนดข้อวินิจฉัยการพยาบาลและวางแผนปฏิบัติการพยาบาลโดยใช้ แนวคิดแบบแผนสุขภาพของกอร์ดอนเป็นกรอบในการศึกษา ผลการศึกษาพบว่า ปัญหาทางการพยาบาลสำคัญที่พบ คล้ายคลึงกัน คือ ปัญหาการติดเชื้อในระบบทางเดินหายใจ และปัญหาการขับถ่ายของเสียออกจากร่างกายจากภาวะ ไตวายเรื้อรัง แนวทางการรักษาพยาบาลจึงเน้นที่การช่วยเหลือเรื่องการหายใจ และลดการติดเชื้อในระบบต่างๆ การให้ยารักษาโควิด-19 และรวมทั้งการช่วยให้ร่างกายขับถ่ายของเสีย และการดูแลทางด้านจิตใจ ผลลัพธ์การดูแล ขึ้นอยู่กับปัจจัยต่างๆที่เกี่ยวข้อง เช่น โรคประจำตัวของผู้ป่วย หรือภาวะแทรกซ้อนอื่นๆ เช่น การติดเชื้อในกระแสเลือด ดังนั้นผู้เขียนจึงขอเสนอแนะว่าพยาบาลควรมีการประเมินภาวะสุขภาพของผู้ป่วยเฉพาะรายเพื่อกำหนด ข้อวินิจฉัยทางการพยาบาล และวางแผนปฏิบัติการพยาบาลได้อย่างถูกต้อง ตรงตามปัญหาของผู้ป่วยแต่ละราย และ อาจมีการพัฒนาเป็นมาตรฐานการปฏิบัติการพยาบาลผู้ป่วยโรคไตวายเรื้อรังระยะสุดท้ายที่รักษาด้วยวิธีการล้างไต ทางช่องท้องชนิดถาวรร่วมกับภาวะปอดอักเสบเนื่องจากโรคติดเชื้อโควิด-19 เพื่อใช้เป็นแนวทางในการพยาบาลผู้ป่วย เหล่านี้ต่อไปอย่างมีประสิทธิภาพ

References

กรมการแพทย์. (2564). แนวทางเวชปฏิบัติ การวินิจฉัย ดูแลรักษา และป้องกันการติดเชื้อในโรงพยาบาลกรณีผู้ป่วย ผู้ป่วยติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 สำหรับแพทย์และบุคลากรสาธารณสุข. สืบค้นจาก https://covid19.dms.go.th/Content.

นิธิพัฒน์ เจียรกุล. (2563). คำแนะนำเรื่องการดูแลผู้ป่วยติดเชื้อ COVID-19 ที่มีอาการรุนแรง. สืบค้นจาก https://www.thoracicsocietythai.org/2020/03/09/severe-covid-19-management/

สมาคมไตแห่งประเทศไทย. (2558). คำแนะนำสำหรับการดูแลผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังก่อนการบำบัดทดแทนไต. สืบค้นจาก http://www.nephrothai.org/images/10-11 2016/

สมาคมไตแห่งประเทศไทย. (2564) ตอบข้อสงสัยการฉีดวัคซีนโควิด-19 ในผู้ป่วยโรคไต. สืบค้นจาก https://www.posttoday.com/life/healthy/663525

เสาวภา ทองงาม, สุพิศตรา ภูมูล, และรณิษฐา รัตนะรัต. (2563). การพยาบาลผู้ป่วยโรคโควิด-19 ในหอผู้ป่วยแยกโรค โรงพยาบาลศิริราช. เวชบันทึกศิริราช, 13(3), 223-229.

อัจฉรา เจริญพิริยะ, อุดมศักดิ์ แซ่โง้ว, งามจิต คงทน. (2560). ความชุกโรคไตวายเรื้อรังในผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 ในโรงพยาบาลมหาราช จังหวัดนครศรีธรรมราช. วารสารวิชาการแพทย์เขต 11, 31(1), 73–82.

Sakaci, T., Koc, E. & Basturk, T. (2015). Clinical outcomes and mortality in elderly peritoneal dialysis Patients. Clinics, 70(5), 363-368.

World Health Organization. (2018). Diabetes. Retrieved from http://www.who.int/news-room/fact-sheets/detail/diabetes

World Health Organization. (2021). Coronavirus disease (COVID-2019) situation reports. Retrieved from: http://www.who.int/

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-01-31