การพัฒนาแนวทางการดูแลผู้ป่วยติดเชื้อในกระแสเลือดหอผู้ป่วยอายุรกรรมหญิง1 โรงพยาบาลพุทธชินราช พิษณุโลก

ผู้แต่ง

  • พรรณี ชูศรี โรงพยาบาลพุทธชินราช, พิษณุโลก
  • อิสราภรณ์ ปัญญา โรงพยาบาลพุทธชินราช, พิษณุโลก
  • ปิยะเนตร ปานเกิด โรงพยาบาลพุทธชินราช, พิษณุโลก

คำสำคัญ:

การพัฒนาแนวทางการการดูแล, การพยาบาล, ผู้ป่วยติดเชื้อในกระแสเลือด

บทคัดย่อ

การวิจัยและพัฒนานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาแนวทางการดูแลผู้ป่วยติดเชื้อในกระแสเลือดและศึกษาผลลัพธ์ของการพัฒนา การดำเนินการแบ่งเป็น 3 ระยะคือ 1) ระยะวิเคราะห์สถานการณ์โดยการศึกษาเอกสาร งานวิจัย และสนทนากลุ่ม 2) ระยะพัฒนาแนวทางฯ และ 3) ระยะประเมินผลแนวทางฯ กลุ่มตัวอย่างเป็นพยาบาลวิชาชีพ 15 คน ผู้ป่วย 30 คน วิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพด้วยการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา และวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณด้วยความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน Chi square, Paired t-test และ Wilcoxon Signed Ranks Test กำหนดระดับนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05

ผลการวิเคราะห์สถานการณ์พบมีปัญหา 3 ด้านคือ 1) ด้านการบริหาร 2) ด้านการปฏิบัติ 3) ด้านการสนับสนุน และนำไปสู่การพัฒนาแนวทางฯ ที่ประกอบไปด้วย 3 องค์ประกอบ คือ 1) การนิเทศการดูแลผู้ป่วยติดเชื้อในกระแสเลือด 2) ทักษะปฏิบัติการพยาบาลผู้ป่วยติดเชื้อในกระแสเลือดและ 3) กระบวนการดูแลผู้ป่วยติดเชื้อในกระแสเลือด โดยใช้แนวคิดวงจรการพัฒนาคุณภาพ ผลลัพธ์ของการพัฒนาแนวทางฯ พบว่าผู้ป่วยที่ได้รับการ ช่วยชีวิตใน 1 ชั่วโมงหลังพัฒนามากกว่าก่อนพัฒนาแนวทางฯ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ การเกิดภาวะล้มเหลวของอวัยวะต่าง ๆ และการเสียชีวิตมีแนวโน้มน้อยกว่ากลุ่มก่อนพัฒนาแนวทางฯ และคะแนนความรู้การปฏิบัติการพยาบาลของพยาบาลวิชาชีพมีค่ามัธยฐานหลังการพัฒนาแนวทางสูงกว่าก่อนการพัฒนาแนวทางอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p=0.001) และค่าเฉลี่ยคะแนนทักษะการปฏิบัติการพยาบาลหลังการพัฒนาแนวทางสูงกว่าก่อนการพัฒนาแนวทางอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.001) การพัฒนาการแนวทางฯนี้ สามารถพัฒนาการพยาบาลให้มีคุณภาพเพื่อก่อให้เกิดความปลอดภัยแก่ผู้ป่วยเพิ่มมากยิ่งขึ้น

References

กระทรวงสาธารณสุข. (2564). อัตราตายผู้ป่วยติดเชื้อในกระแสเลือดแบบรุนแรงชนิด community-acquired. สืบค้นเมื่อ 25 เมษายน 2565 จาก http://healthkpi.moph.go.th/kpi2/kpi/index/?id=1448

กรรณิกา อำพนธ์, ชัชญาภา บุญโยประการ, และพัชรินทร์ ศิลป์กิจเจริญ. (2560). ผลลัพธ์ของการพัฒนาการดูแลผู้ป่วยติดเชื้อในกระแสเลือดโรงพยาบาลพระปกเกล้า.วารสารศูนย์การศึกษาแพทยศาสตร์คลินิก โรงพยาบาลพระปกเกล้า, 34(3), 222-234.

กลุ่มงานอายุรกรรม. (2562). แนวปฏิบัติการดูแลผู้ป่วยติดเชื้อในกระแสเลือด. พิษณุโลก: โรงพยาบาล พุทธชินราช พิษณุโลก.

ฑิตยา วาระนัง. (2562). ผลลัพธ์ของการใช้แนวปฏิบัติการดูแลผู้ป่วยที่มีภาวะติดเชื้อในกระแสโลหิต โรงพยาบาลฝาง จังหวัดเชียงใหม่. เชียงรายเวชสาร, 11(1), 1-8.

ทิฏฐิ ศรีวิสัย และ วิมล อ่อนเส็ง. (2560). ภาวะช็อกจากการติดเชื้อ: ความท้าทายของพยาบาลฉุกเฉิน. วารสารวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี อุตรดิตถ์, 9(2), 152-162.

บดินทร์ภัทร์ สายบุตร. (2562). กระบวนการพัฒนาระบบประกันคุณภาพการศึกษาตามวงจร PDCA ของมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. วารสารวิจัยวิชาการ, 2(1), 39-53.

ประกาศิต เทนสิทธิ์, ชยันตร์ธร ปทุมานนท์,สุขี พบลาภ, ชลิสา นันทสันติ และ ธนิตา มนตรี. (2563). ปัจจัยที่มีผลต่อการเสียชีวิตเร็วและช้าในผู้ป่วยติดเชื้อในกระแสเลือด. วารสารการแพทย์โรงพยาบาลบุรีรัมย์ ศรีสะเกษ สุรินทร์ บุรีรัมย์, 35(1), 101-109.

ปัญญา เถื่อนด้วงและนาตยา คำสว่าง. (2562). การพัฒนาระบบการพยาบาลผู้ป่วยติดเชื้อในกระแสเลือดแบบรุนแรง. พุทธชินราชเวชสาร, 36(2), 180-193.

โรงพยาบาลพุทธชินราช พิษณุโลก. (2562). สถิติบริการ โรงพยาบาลพุทธชินราช พิษณุโลก. พิษณุโลก: โรงพยาบาลพุทธชินราช พิษณุโลก.

ยุวดี เทียมสุวรรณ, อรชร มาลาหอม, ธีรนุช ยินดีสุข ประภัสสร, ควาญช้าง, และนุสรา ประเสริฐศรี. (2560). การพัฒนาระบบการดูแลผู้ป่วยติดเชื้อในกระแสเลือดในผู้ป่วยหนักโดยใช้การจัดการรายกรณี ในโรงพยาบาลสรรพสิทธิประสงค์. วารสารการพยาบาลและการดูแลสุขภาพ, 35(1), 184-192.

อรรถยา อมรพรหมภักดี, ฐาศุกร์ จันทร์ประเสริฐ, และอมราพร สุรการ. (2563). การนิเทศทางการพยาบาล: การทบทวนแบบกำหนดขอบเขต. วารสารพยาบาล กระทรวงสาธารณสุข, 30(3), 144-157.

Alberto, L., Marshall, A. P., Walker, R., & Aitken, L. M. (2017). Screening for sepsis in general hospitalized patients: A systematic review. Journal of Hospital Infection, 96(4), 305–315.

Amland, R. C., & Hahn-Cover, K. E. (2016). Clinical decision support for early recognition of sepsis. American Journal of Medical Quality, 31(2), 103–110.

Daniels, J. F. (2016). Purposeful and timely nursing rounds: A best practice implementation project. JBI Database System Rev Implement Rep, 14(1), 248-267.

McNab, D., Freestone, J., Black, C., Carson-Stevens, A., & Bowie, P.. (2018). Participatory design of an improvement intervention for the primary care management of possible sepsis using the functional resonance analysis method. BMC Med, 16(1), 174.

Schorr, C. (2018). Surviving sepsis campaign hour-1 bundle. Retrieved 2020 April 22, from: https://www.myamericannurse.com/surviving-

Singer, M, Deutschman, C. S., Seymour, C. W., Shankar-Hari, M., Annane, D., & Bauer, M. et al. (2016). The third international consensus definitions for sepsis and septic shock (Sepsis-3). Jama, 315(8), 801-810.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-05-30