การพัฒนาแนวทางการดูแลผู้ป่วยโรคหัวใจขาดเลือดที่ได้รับการสวนหัวใจเพื่อการรักษา
คำสำคัญ:
การพัฒนาแนวทางการดูแล, โรคหัวใจขาดเลือด, การสวนหัวใจเพื่อการรักษาบทคัดย่อ
การวิจัยและพัฒนานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลลัพธ์การใช้แนวทางในการดูแลผู้ป่วยโรคหัวใจขาดเลือดที่ได้รับการสวนหัวใจเพื่อการรักษา โรงพยาบาลพุทธชินราช พิษณุโลก แบ่งเป็น 4 ขั้นตอน คือ 1) วิเคราะห์ปัญหาและวางแผนพัฒนา 2) พัฒนาแนวทางการดูแลผู้ป่วยโรคหัวใจขาดเลือดที่ได้รับการสวนหัวใจเพื่อการรักษา 3) นำแนวทางที่พัฒนาไปใช้ 4) ประเมินผลลัพธ์การพยาบาล กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้ป่วยโรคหัวใจขาดเลือดที่ได้รับการสวนหัวใจเพื่อการรักษา แบ่งเป็นกลุ่มก่อนการพัฒนา 32 คน และกลุ่มหลังการพัฒนา 28 คน และพยาบาลวิชาชีพที่ปฏิบัติงานในโรงพยาบาลพุทธชินราช พิษณุโลก 15 คน วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ยส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน Chi-square test, paired t-test และ Wilcoxon Signed Rank Test ผลวิจัยพบว่า ค่ามัธยฐานคะแนนความรู้การปฏิบัติของพยาบาลวิชาชีพตามแนวทางการดูแลผู้ป่วยโรคหัวใจขาดเลือดที่ได้รับการสวนหัวใจเพื่อการรักษา และความพึงพอใจต่อการใช้แนวทางการดูแลผู้ป่วยสูงกว่าก่อนการพัฒนา (p<0.001, p=0.001 ตามลำดับ) การปฏิบัติการดูแลตามแนวทางการดูแลผู้ป่วยโรคหัวใจขาดเลือดที่ได้รับการสวนหัวใจเพื่อการรักษาหลังพัฒนาสูงกว่าก่อนการพัฒนา (p<0.001) กลุ่มผู้ป่วยที่ได้รับการดูแลตามแนวทางการดูแลผู้ป่วยโรคหัวใจขาดเลือดที่ได้รับการสวนหัวใจเพื่อการรักษาเกิด hematoma น้อยกว่าก่อนการใช้แนวทางการดูแลผู้ป่วย (p<0.001) แต่พบว่าความคลาดเคลื่อนทางยาและอุบัติการณ์ไม่พึงประสงค์ก่อนและหลังการใช้แนวทางการดูแลผู้ป่วยไม่แตกต่างกัน ดังนั้นผู้บริหารการพยาบาลควรใช้รูปแบบการพัฒนานี้ในการปฏิบัติการพยาบาลผู้ป่วยโรคหัวใจขาดเลือดที่ได้รับการสวนหัวใจเพื่อการรักษาให้ครอบคลุมทั้งโรงพยาบาลเพื่อให้ผู้ป่วยปลอดภัยมากยิ่งขึ้น
References
แจ่มจันทร์ ประทีปมโนวงศ์, สุรสิทธิ์ ช่วยบุญ, และณหฤทัย นฤมานโภคิน. (2562). การพยาบาลผู้ป่วยที่ได้รับการสวนหัวใจผ่านทางหลอดเลือดแดงที่ข้อมือ : กรณีศึกษา. วารสารพยาบาลโรคหัวใจและทรวงอก, 30(2), 2-14.
ณัฐธิวรรณ พันธ์มุง, อลิสรา อยู่เลิศลบ, และสราญรัตน์ ลัทธิ. (2561). ประเด็นสารรณรงค์วันหัวใจโลก ปี พ.ศ. 2561. สืบค้นจาก http://thaincd.com/document/file/download/knowledge/61.pdf
โรงพยาบาลพุทธชินราช. (2561). รายงานประจำปี โรงพยาบาลพุทธชินราช, 2561. พิษณุโลก: โรงพยาบาลพุทธชินราช พิษณุโลก.
โรงพยาบาลพุทธชินราช. (2562). รายงานประจำปี โรงพยาบาลพุทธชินราช, 2562. พิษณุโลก: โรงพยาบาลพุทธชินราช พิษณุโลก.
ลดาวัลย์ ฤทธิ์กล้า. (2562). ผลของโปรแกรมป้องกันการเกิดภาวะแทรกซ้อนของหลอดเลือดเรเดียลภายหลังการตรวจสวนหัวใจและขยายหลอดเลือด. วารสารโรงพยาบาลธรรมศาสตร์เฉลิมพระเกียรติ, 4(2), 20-31.
ลดาวัลย์ ฤทธิ์กล้าและดิลก ภิยโยทัย. (2562). ผลของการใช้แนวปฏิบัติทางการพยาบาลในการดูแลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดหัวใจที่ได้รับการฉีดสีหลอดเลือดหัวใจในหอผู้ป่วยอายุรกรรม ธท.2 โรงพยาบาลธรรมศาสตร์เฉลิมพระเกียรติ. พยาบาลสาร, 46(4), 149-157.
Al-Hijji, M. A., Lennon, R. J., Gulati, R., Sabbagh, A. E., Park, J. Y., Crusan, D., …et al. Safety and risk of major complications with diagnostic cardiac catheterization. Circulation: Cardiovascular Interventions, 12(7), 1-9.
Ahmed, N. M., Azer, S. Z., Abdelmohsen, S., & Mohsen, A. A. (2019). Effect of nursing guidelines on minimizing incidence rate of post cardiac catheterization complications. Retrieved from https://www.researchgate.net/publication/337414016_Effect_of_nursing_guidelines_on_minimizing_incidence_rate_of_post_cardiac_catheterization_complications
O’Riordan M. (2017). Ischemic heart disease the leading cause of death globally. Retrieved from https://www.tctmd.com/news/ischemic-heart-disease-leading-cause-death- globally
Severino, P., D’Amato, A., Pucci, M., Infusino, F., Adamo, F., Birtolo, L. I., Netti, L., Montefusco, G., Chimenti, C., Lavalle, C., Maestrini, V., Mancone, M., Chilian, W. M., & Fedele, F. (2020). Ischemic heart disease pathophysiology paradigms overview: From plaque activation to microvascular dysfunction. International Journal of Molecular Sciences, 21(21). https://doi.org/10.3390/ijms21218118
Thabet, O. F., Ghanem, H. M., Ahmed, A. A., & Abd-ElMouhsen, S. A. (2019). Effect of developing and implementing nursing care standards on outcome of patients undergoing cardiac catheterization. IOSR Journal of Nursing and Health Science, 8(1), 42-54.
The W. Edwards Deming Institute. (2022). PDSA Cycle. Retrieved from https://deming.org/explore/pdsa/.
Yoshimachi, F., Ikari, Y. (2018). Patient Preparation, Vascular Access, and Guiding Catheter Selection. In T. Watson, P. Ong, & J. Tcheng, J. (eds) Primary Angioplasty. Singapore: Springer. https://doi.org/10.1007/978-981-13-1114-7_7
World Health Organization. (2019). Cardiovascular disease. Retrieved from https://www.who.int/cardiovascular_diseases/resources/atlas/en/
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2022 วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี พุทธชินราช
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.