ความสัมพันธ์ระหว่างความรู้ ทัศนคติ และการปฏิบัติการพิทักษ์สิทธิผู้ป่วย แรงงานต่างด้าวของพยาบาลวิชาชีพห้องผู้ป่วยหนัก โรงพยาบาลสมุทรสาคร

ผู้แต่ง

  • อรวรรณ สมบูรณ์จันทร์ พยาบาลวิชาชีพชำนาญการ โรงพยาบาลสมุทรสาคร
  • จิดาภา ลีลาถาวรกุล พยาบาลวิชาชีพชำนาญการ โรงพยาบาลสมุทรสาคร

คำสำคัญ:

สิทธิผู้ป่วย, ผู้ป่วยต่างด้าว, แบบจำลอง KAP, ผู้ป่วยวิกฤต

บทคัดย่อ

วัตถุประสงค์การวิจัย:  1) เพื่อศึกษาระดับความรู้ ทัศนคติ และการปฏิบัติการพิทักษ์สิทธิผู้ป่วยแรงงานต่างด้าวของพยาบาลวิชาชีพห้องผู้ป่วยหนัก โรงพยาบาลสมุทรสาคร และ 2) เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างความรู้ ทัศนคติ และการปฏิบัติการพิทักษ์สิทธิผู้ป่วยแรงงานต่างด้าวของพยาบาลวิชาชีพห้องผู้ป่วยหนัก โรงพยาบาลสมุทรสาคร

รูปแบบการวิจัย : การวิจัยเชิงบรรยาย

วิธีดำเนินการวิจัย : กลุ่มตัวอย่างเป็นพยาบาลวิชาชีพที่ปฏิบัติงานในห้องผู้ป่วยหนัก โรงพยาบาลสมุทรสาคร จำนวน 37 ราย เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย เครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ 1) แบบสอบถามความรู้  2) แบบวัดทัศนคติ และ 3) แบบสอบถามการปฏิบัติการพิทักษ์สิทธิผู้ป่วยต่างด้าว  มีค่าดัชนีความตรงตามเนื้อหา เท่ากับ 1, 1, และ 1 และค่าความเชื่อมั่น เท่ากับ 0.71, 0.72, และ 0.70 ตามลำดับ วิเคราะห์ข้อมูลโดยคำนวณหาค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน

ผลการวิจัย : ในประเด็นการพิทักษ์สิทธิผู้ป่วยแรงงานต่างด้าวของกลุ่มตัวอย่างพบว่า มีความรู้เรื่องการพิทักษ์สิทธิผู้ป่วยต่างด้าวอยู่ในระดับมาก (ร้อยละ 75.70) ทัศนคติในระดับมาก (ร้อยละ 89.20) และการปฏิบัติการพิทักษ์สิทธิผู้ป่วยต่างด้าวอยู่ในระดับสูง (ร้อยละ 94.60) ทัศนคติมีความสัมพันธ์เชิงบวกกับการปฏิบัติการพิทักษ์สิทธิผู้ป่วยต่างด้าวในระดับสูง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (r=.566**, p<.01)

สรุปและข้อเสนอแนะ : การส่งเสริมให้พยาบาลมีทัศนคติที่ดีต่อการดูแลผู้ป่วยโดยไม่แบ่งแยกจะนำไปสู่ปฏิบัติการพิทักษ์สิทธิผู้ป่วยแรงงานต่างด้าวที่ถูกต้องและเหมาะสม

 

References

ญานิกา ศักดิ์ศรี. (2561). ความสัมพันธ์ระหว่างความรู้ ทัศนคติ และการปฏิบัติในการป้องกันการติดเชื้อตำแหน่งผ่าตัดในระยะผ่าตัด ของพยาบาลห้องผ่าตัด. (วิทยานิพนธ์ปริญญาพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์, สงขลา.

ดาริน จอมวงค์, สุธี อยู่สถาพร, ฉัตรสุมน พฤฒิภิญโญ, และวิริณธิ์ กิตติพิชัย. (2563). การปฏิบัติตามสิทธิผู้ป่วยของพยาบาลวิชาชีพในโรงพยาบาลจุฬาภรณ์. วารสารกฎหมายและนโยบายสาธารณสุข, 6(1), 127-140.

ดรุณี เตื้องวิวัฒน์. (2565). ความเครียด และวิธีเผชิญความเครียดของพยาบาลที่ได้รับการฝึกอบรมการช่วยชีวิตเบื้องต้น ในสถานการณ์ที่เกิดการระบาดของโรคโควิด19: กรณีศึกษาโรงพยาบาลตำรวจ. วารสารพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยคริสเตียน, 9(1), 59-76.

เบญจพร ทองมาก และวรวิทย์ มิตรทอง. (2564). การรับรู้สิทธิประโยชน์ของบัตรประกันสุขภาพและบัตรประกันสังคม ในกลุ่มแรงงานต่างด้าวและบุคลากร ณ โรงพยาบาลแห่งหนึ่งในจังหวัดสมุทรสาคร. วารสารสาธารณสุขมหาวิทยาลัยบูรพา, 16(1), 52-64.

ปณิตา ศรศรี. (2557). แรงงานต่างด้าว : ความสำคัญและการบริหารจัดการ. นครราชสีมา: ศูนย์ฝึกอบรมตำรวจภูธรภาค 3.

ภัคสิริ แอนิหน. (2561). แรงงานต่างด้าว: การบริหารและการจัดการในประเทศไทย, วารสารศิลปการจัดการ, 2(2), 117-132.

พยาม การดี และวราภรณ์ บุญเชียง. (2562). การดูแลสุขภาพแรงงานต่างด้าวในบริการปฐมภูมิ: ความท้าทายในบทบาทพยาบาล. วารสารพยาบาลสาธารณสุข, 33(3), 146-162.

รัชตวรรณ ศรีตระกูล. (2543). ความสัมพันธ์ระหว่างความรู้ ทัศนคติ และการปฏิบัติการพิทักษ์สิทธิผู้ป่วยของพยาบาลวิชาชีพในโรงพยาบาลศูนย์ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ. (วิทยานิพนธ์ปริญญาพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยขอนแก่น, ขอนแก่น.

วาทินี แก้วทับทิม. (2554). ผลกระทบจากการจ้างแรงงานข้ามชาติของไทยภายใต้ยุคพิสูจน์สัญชาติ. (รายงานการวิจัย). กรุงเทพมหานคร: สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศ.

สถาบันพัฒนาและรับรองคุณภาพโรงพยาบาล. (2551). มาตรฐานโรงพยาบาลและบิการสุขภาพฉบับเฉลิมพระเกียรติฉลองสิริราชสมบัติ 60 ปี. กรุงเทพมหานคร: หนังสือดีวัน จำกัด.

สภาการพยาบาล. (2562). มาตรฐานการพยาบาล. สืบค้นจาก http://www.tnmc.or.th/images/userfiles/Files/A111.PDF

สำนักงานสถิติแห่งชาติ. (2561). ประกาศสำนักทะเบียนกลาง เรื่อง จำนวนราษฎรทั่วราชอาณาจักร ตามหลักฐานทะเบียนราษฎร์. สืบค้นจาก http: //stat.bora.dopa.go.th/stat/pk/pk-61.pdf

Best, J.W., and Kahn J.V. (1993). Research in education. (7th ed). Boston: Allyn and Bacon.

International Council of Nursing [ICN]. (2015). Nurses and human rights. Retrieved from http://www.icn.ch/images/stories/documents/ publications/position_statements/E10_ Nurses_Human_Rights.pdf

Launiala, A. (2009). How much can a KAP survey tell us about people’s knowledge, attiudes and practices? Some observations from medical anthropology research on malaria in pregnancy? in Malawi. Anthropology Matters Journal, 11(1), 1-13. DOI:10.22582/am.v11i1.31.

Thorndike, R. M., Cunningham, G. K., Thorndike, R. K., & Hagen, E. P. (1991). Measurement and evaluation in psychology and education (5th ed.). New York: Macmillan.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-06-19