นวัตกรรมเจลเย็นมหัศจรรย์ลดปวดฉับพลันและป้องกันเลือดออกหลังผ่าตัดตา

ผู้แต่ง

  • จุฑามาศ มาคุ้ม พยาบาลวิชาชีพชำนาญการ วิสัญญีพยาบาล โรงพยาบาลเมตตาประชารักษ์ (วัดไร่ขิง)

คำสำคัญ:

นวัตกรรมเจลเย็น, ภาวะท่อน้ำตาอุดตัน, การดูแลผู้ป่วยหลังผ่าตัดแก้ไขท่อน้ำตาอุดตัน

บทคัดย่อ

ภาวะท่อน้ำตาอุดตัน เป็นความผิดปกติของทางเดินท่อน้ำตา โดยมีอาการน้ำตาไหล การอักเสบปวดบวมบริเวณหัวตาที่เป็นทางเดินของท่อน้ำตา การผ่าตัดจึงเป็นการรักษาเพื่อแก้ไขท่อน้ำตาอุดตันโดยทำทางเดินน้ำตาจากถุงน้ำตาไปลงในช่องโพรงจมูก ภาวะแทรกซ้อนที่อาจเกิดหลังการผ่าตัด ได้แก่ เลือดออกทางจมูก เลือดออกชั้นใต้ผิวหนัง ติดเชื้อบริเวณแผลผ่าตัด และอาการปวดบริเวณบาดแผล การดูแลที่ช่วยลดภาวะดังกล่าวทำได้หลายวิธี เช่น การประคบเย็น การเบี่ยงเบนความสนใจ เป็นต้น ผู้เขียนสนใจการประคบเย็นเพราะเป็นบทบาทอิสระของพยาบาลที่สามารถกระทำได้ภายใต้ขอบเขตวิชาชีพมุ่งให้การพยาบาลแบบองค์รวม จากหลักฐานเชิงประจักษ์ และการทบทวนวรรณกรรมอย่างเป็นระบบเกี่ยวกับการประคบเย็นพบว่า ความเย็นทำให้ลดการหลั่งสารเคมีที่กระตุ้นปลายประสาทรับความรู้สึกปวดทำให้เซลล์มีการเผาผลาญและลดการใช้ออกซิเจนของเซลล์ส่งผลให้การรับรู้ต่อความปวดลดลง ป้องกันอาการบวมของเนื้อเยื่อรอบแผลผ่าตัดได้และป้องกันเลือดออกของแผลผ่าตัดได้ ผู้เขียนจึงได้พัฒนานวัตกรรม “เจลเย็นมหัศจรรย์ลดปวดฉับพลันและป้องกันเลือดออกหลังผ่าตัดตา” ขึ้น 

References

กนกรัตน์ ชุ่มภิรมย์. (2562). ปัจจัยที่มีผลต่อการอุดตันซ้ำหลังการผ่าตัดแก้ไขท่อน้ำตาอุดตัน. จักษุเวชสาร, 33(1), 19-26.

กรกนก เฮงสวัสดิ์. (2564). การศึกษาประสิทธิผลของการประคบผิวหนังด้วยเจลเย็นต่อการลดความเจ็บปวดแบบเฉียบพลันขณะทำการฉีดยาเข้าช่องไขสันหลัง. วิสัญญีสาร, 47(1), 10-15.

เจือจันทน์ เจริญภักดี และวิฑูรย์ หอมลา. (2564). นวัตกรรมแผ่นประคบเย็นสุดแจ๋วเพื่อลดความเจ็บปวดในผู้ป่วยผ่าตัดกระดูก. วารสารพยาบาล, 70(3), 20-28.

ฐิติมา หมอทรัพย์ และวิชุดา กลิ่นหอม. (2565). ประสิทธิผลของโปรแกรมการพยาบาลด้วยนวัตกรรม “วงล้อเสริมแรง” ต่อองศาการเคลื่อนไหวข้อไหล่ อาการปวดไหล่ และความพึงพอใจของกลุ่มเสี่ยงภาวะข้อไหล่ติด. วารสารพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยคริสเตียนม, 9(1), 1-19.

ปิยะนันท์ อนันต๊ะยศ. (2564). ผลการประคบด้วยถุงเจลแช่เย็นต่อการลดความปวดและความพึงพอใจของผู้ป่วย หลังผ่าตัดโพรงจมูกและไซนัส. วารสารโรงพยาบาลธรรมศาสตร์เฉลิมพระเกียรติ, 6(3), 48-51.

ปรานอม เนาว์สุวรรณ. (2561). การศึกษาอุบัติการณ์การเกิดภาวะแทรกซ้อนทางวิสัญญีในผู้ป่วยที่ได้รับยาระงับความ รู้สึกแบบทั่วตัวโรงพยาบาลสิชล จังหวัดนครศรีธรรมราช. วารสารวิชาการแพทย์เขต, 11, 32(3), 1121-1130.

พจีภัทร อนุราชเสนา. (2562). ระยะเวลาการประคบเย็นต่อการลดความเจ็บปวดและการลดภาวะเลือดออกบริเวณที่ฉีดโบทูลินุมทอกซินชนิด A ของผู้ป่วยใบหน้ากระตุกครึ่งซีก. วารสารศูนย์การศึกษาแพทยศาสตร์คลินิก โรงพยาบาลพระปกเกล้า, 36(1), 25-31.

โรงพยาบาลเมตตาประชารักษ์ (วัดไร่ขิง). (2565). สถิติโรงพยาบาลเมตตาประชารักษ์ (วัดไร่ขิง). หน่วยงานวิสัญญี. นครปฐม: โรงพยาบาลเมตตาประชารักษ์ (วัดไร่ขิง).

วารุณี พันธุ์แพง, เมธินี วงศ์วานิชรัมภกาภรณ์, พนิต เข็มทอง, และปานเทพ ลาภเกษร. (2560). การสร้างแบบวัด ความรู้ความเข้าใจสำหรับผู้เข้าอบรมหลักสูตร Hospital Accreditation พื้นฐานสำหรับการพัฒนา คุณภาพสถานพยาบาล (HA 201) ของสถาบันรับรองคุณภาพสถานพยาบาล (องค์การมหาชน). วารสาร ศึกษาศาสตร์ปริทัศน์, 32(3), 63-69.

อมรลักษณ์ เทพบุตร และเกศกัญญา สัพพะเลข. (2559). ความพึงพอใจของผู้ป่วยศัลยกรรมช่องปากต่อการประคบเย็นด้วยเจลเก็บรักษาอุณหภูมิ. วารสารพยาบาลสภากาชาดไทย, 9(2), 119-131.

Ide B., Walter C., Maria G. C., Amerige G., Elio G., Anna V., & Mario G. (2016). Effects of cold therapy in the treatment of mandibular angle fractures: Hilotherm system vs ice bag. Ann Ital Chir, 87(5), 411-416.

Kuo, C. C., Lin, C. C., Lee, W. J., & Huang, W. T. (2013). Comparing the antiswelling and analgesic effects of three different ice pack therapy durations: A randomized controlled trial on cases with soft tissue injuries. Journal of Nursing Research, 21(3), 186-193.

Li, Z., & Wang, Q. (2016). Ice compresses aid the reduction of swelling and pain after scleral buckling surgery. Journal of Clinical Nursing, 25(21-22), 3261-3265. doi: 10.1111/jocn.13362.

Malanga, G. A., Yan, N., & Stark, J. (2015). Mechanisms and efficacy of heat and cold therapies for musculoskeletal injury. Postgraduate medicine, 127(1), 57-65. doi: 10.1080/00325481.2015.992719.

Modabber, A., Rana, M., Ghassemi, A., Gerressen, M., Gellrich, N. C., Hölzle, F., & Rana, M. (2013). Three-dimensional evaluation of postoperative swelling in treatment of zygomatic bone fractures using two different cooling therapy methods: a randomized, observer-blind, prospective study. Trials, 14(1), 1-10. DOI: 10.1186/1745-6215-14-238.

Melnyk, B. M., Fineout-Overholt, E., Stillwell, S. B., & Williamson, K. M. (2010). Evidence-based practice: Step by step: the seven steps of evidence-based practice. AJN The American Journal of Nursing, 110(1), 51-53.

Muaddi, H., Lillie, E., Silva, S., Cross, J. L., Ladha, K., Choi, S., Mocon, A. & Karanicolas, P. (2023). The Effect of Cryotherapy Application on postoperative pain: A systematic review and meta-analysis. Annals of Surgery, 277(2), e257-e265. doi: 10.1097/SLA.0000000000004987.

Zhuo Li & Qin Wang (2016). Ice compresses aid the reduction of swelling and pain after scleral buckling surgery. Journal of Clinical Nursing, 25(21-22), 3261-3263.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-06-19