การจัดการเรียนการสอนทางการพยาบาลโดยใช้ทีมเป็นฐาน

ผู้แต่ง

  • กัลยาลักษณ์ ไชยศิริ อาจารย์พยาบาล หลักสูตรพยาบาลศาสตรบัณฑิต วิทยาลัยพยาบาลตำรวจ
  • อุบลวรรณ ส่งเสริม ผู้ช่วยศาสตราจารย์ สาขาหลักสูตรและวิธีการสอน คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร

คำสำคัญ:

การเรียนการสอนทางการพยาบาล, การเรียนการสอนโดยใช้ทีมเป็นฐาน, การทำงานเป็นทีม

บทคัดย่อ

การจัดการเรียนการสอนโดยใช้ทีมเป็นฐานเป็นกลยุทธ์การสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง ช่วยพัฒนาให้ผู้เรียนเกิดทักษะในศตวรรษที่ 21 และเกิดคุณลักษณะที่พึงประสงค์ของนักศึกษา การเรียนการสอนโดยใช้ทีมเป็นฐานถูกนำมาใช้ในการจัดการเรียนการสอนกับนักศึกษาพยาบาล เนื่องจากพยาบาลต้องทำงานกับสหวิชาชีพที่มีความหลากหลาย ดังนั้นผู้เรียนจะเรียนรู้ผ่านกระบวนการทั้ง 7 ขั้นตอน ได้แก่ 1) การมอบหมายงานให้ผู้เรียนศึกษาด้วยตนเอง 2) การทดสอบความรู้รายบุคคล 3) การทดสอบความรู้รายทีม 4) การยื่นอุทธรณ์คำตอบที่ยังมีข้อสงสัย 5) การให้ข้อมูลป้อนกลับในคำตอบที่ยังมีข้อสงสัย 6) การประยุกต์ใช้ความรู้ในการแก้ไขปัญหาที่ซับซ้อน และ 7) การสะท้อนผลและประเมินผลการเรียนรู้ โดยผู้สอนมีหน้าที่ในการเตรียมการสอน อำนวยความสะดวกในการเรียนรู้และส่งเสริมให้ผู้เรียนเรียนรู้ด้วยตนเอง กระบวนการแต่ละขั้นตอนของการจัดการเรียนการสอนโดยใช้ทีมเป็นฐานจะช่วยให้ผู้เรียนเข้ามามีส่วนร่วมในการเรียนและจดจ่ออยู่กับการเรียน ส่งผลให้ผู้เรียนพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ความสามารถในการทำงานเป็นทีม ทักษะการสื่อสาร ทักษะการคิด  และการคิดแก้ไขปัญหา มีความรับผิดชอบ และช่วยให้ห้องเรียนมีความสนุกสนาน รวมทั้งทำให้ผู้เรียนเกิดความพึงพอใจต่อการจัดการเรียนเรียนการสอนมากขึ้น

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2560). นโยบายสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานปีงบประมาณ พ.ศ. 2560. โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย จำกัด.

กิตติทัช เขียวฉอ้อน และธีระวัฒน์ จันทึก. (2560). การทำงานเป็นทีมสู่การเพิ่มประสิทธิผลในการทำงาน. วารสารวิทยาลัยดุสิตธานี, 11(1), 355-370.

ดวงใจ พรหมพยัคฆ์. (2565). การเรียนรู้แบบทีม: การจัดการเรียนการสอนทางการพยาบาล เพื่อพัฒนาการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21. วารสารพยาบาลทหารบก, 23(1), 23-32.

ทิศนา แขมมณี. (2564). ศาสตร์การสอน: องค์ความรู้เพื่อการจัดกระบวนการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ. (พิมพ์ครั้งที่ 25). สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

พีรยา คงรอด, เพชรน้อย สิงห์ช่างชัย และเบ็ญจวรรณ พุทธิอังกูร. (2562). ผลของโปรแกรมการทำงานเป็นทีมต่อคุณภาพบริการพยาบาลของหอผู้ป่วยตามการรับรู้ของผู้บริหารทางการพยาบาลระดับต้นที่โรงพยาบาลเอกชนระดับทุติยภูมิแห่งหนึ่ง. พยาบาลสาร, 46(2), 131-141.

รชตะ มุลเมือง, สายันต์ บุญใบ, และวรกัญญาพิไล แกระหัน. (2562). การพัฒนาภาวะผู้นำนักเรียนโรงเรียนบ้านซ่อมกอก สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาบึงกาฬ. วารสารการบริหารการศึกษา และภาวะผู้นำ มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร, 7(1), 21-29.

ลําเทียน เผ้าอาจ. (2559). การทำงานเป็นทีมของข้าราชการครูในโรงเรียนขยายโอกาส อําเภอเมืองตราด สังกัดสํานักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาตราด. [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์]. มหาวิทยาลัยบูรพา.

ศาสตร์ตรา สารราษฎร์ และโกศล สอดส่อง. (2564). การทำงานเป็นทีมของบุคลากรทางการแพทย์ โรงพยาบาลหนองบัวลำภู. วารสารวิจัยธรรมศึกษา, 4(2), 51-60.

สมศักดิ์ ดลประสิทธิ์. (2564). แนวทางการจัดการศึกษาเพื่อพัฒนากำลังคนในศตวรรษที่ 21. คุรุสภาวิทยาจารย์, 2(1), 1-15.

สุจิรา วิเชียรรัตน์, ศิริพร ครุฑกาศ, นงณภัทร รุ่งเนย, วลีรัตน์ แตรตุลาการ และแสงเดือน จักรพันธุ์ ณ อยุธยา.(2561). การเปรียบเทียบความคิดเห็นเกี่ยวกับทักษะการแก้ปัญหาทางการพยาบาลของนักศึกษาวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี จังหวัดนนทบุรี. วารสารสมาคมพยาบาลแห่งประเทศไทยฯ สาขาภาคเหนือ, 24(2), 96-107.

Branney, J. & Priego-Hernández, J. (2018). A mixed methods evaluation of team-based learning for applied pathophysiology in undergraduate nursing education. Nurse Education Today, 61, 127-133.

Burgess, A., Van Diggele, B., Roberts, C. & Mellis, C. (2020). Team-based learning: design, facilitation and participation. BMC Medical Education, 20(Suppl 2), 461, 1-7

Chung, E., Rhee, J., Baik, Y. & A, OS. (2009). The effect of team-based learning in medical ethics education. Medical Teacher, 31(11), 1013-1017.

Faezi, S. T., Moradi, K., Amin, A. G. R., Akhlaghi, M. & Keshmiri, F. (2018). The effects of team-based learning on learning outcomes in a course of rheumatology. J Adv Med Educ Prof, 6(1), 22-30.

Kim, H., Song, Y., Lindquist, R. & Kang, H. (2016). Effects of team-based learning on problem-solving, knowledge and clinical performance of Korean nursing students. Nurse Education Today, 38, 115-118.

Ko, E. & Kim, H. Y. (2017). Effects of Simulation-based Education Combined Team-based Learning on Self-directed Learning, Communication Skills, Nursing Performance Confidence and Team Efficacy in Nursing Students. J Korean Acad Fundam Nurs, 24 (1), 39-50.

Michaelsen, L. K., Davidson, N., & Major, C. H. (2014). Team-based learning practices and principles in comparison with cooperative learning and problem-based learning. Journal on Excellence in College Teaching, 25(3&4), 57-84.

Persky, A. M. & Pollack, G. M. (2011). A Modified Team-Based Learning Physiology Course. American Journal of Pharmaceutical Education, 75(10), 1-8.

Roh, Y. S., Kim, S. S., Park, S. & Ahn, J. (2020). Effects of a Simulation with Team-Based Learning on Knowledge, Team Performance, and Teamwork for Nursing Students. Comput Inform Nurs, 38(7), 367-372.

Sharma, A., Janke, K. K., Larson, A. & Peter, W. st. (2017). Understanding the early effects of team-based learning on student accountability and engagement using a three session TBL pilot Currents in Pharmacy. Teaching and Learning, 9(5), 802-807.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-11-28