การศึกษาองค์ประกอบของรูปแบบการบริหารความเสี่ยงในการฝึกปฏิบัติวิชาชีพของ นักศึกษาพยาบาล คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยคริสเตียน : กรณีศึกษาโรงพยาบาลราชบุรี
คำสำคัญ:
รูปแบบการบริหารความเสี่ยง, การฝึกปฏิบัติวิชาชีพ, นักศึกษาพยาบาลบทคัดย่อ
วัตถุประสงค์การวิจัย : เพื่อศึกษาและวิเคราะห์องค์ประกอบของรูปแบบการบริหารความเสี่ยงในการฝึกปฏิบัติวิชาชีพของนักศึกษาพยาบาล : กรณีศึกษาโรงพยาบาลราชบุรี
รูปแบบการวิจัย : การวิจัยเชิงพรรณนา
วิธีดำเนินการวิจัย : กลุ่มตัวอย่าง คือ พยาบาลวิชาชีพโรงพยาบาลราชบุรี ปฏิบัติงานแผนกต่างๆ ได้แก่ แผนกผู้ป่วยหนัก อายุรกรรม ศัลยกรรม สูติ-นรีเวชกรรม กุมารเวชกรรม จิตเวช และออร์โธปิดิกส์ มีประสบการณ์การทำงานอย่างน้อย 1 ปี จำนวน 259 คน เครื่องมือที่ใช้เก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบสอบถามรูปแบบการบริหารความเสี่ยงในการฝึกปฏิบัติวิชาชีพของนักศึกษาพยาบาล 6 องค์ประกอบ มีค่าความตรงเชิงเนื้อหา เท่ากับ 0.93 หาความเชื่อมั่นของแบบสอบถาม ได้ค่าสัมประสิทธิ์แอลฟ่าครอนบาค เท่ากับ 0.94 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงสำรวจ
ผลการวิจัย : รูปแบบการบริหารความเสี่ยงในการฝึกปฏิบัติวิชาชีพของนักศึกษาพยาบาล คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยคริสเตียน : กรณีศึกษาโรงพยาบาลราชบุรี ภายหลังการทดสอบในกลุ่มตัวอย่าง มี 4 องค์ประกอบ เรียงตามลำดับค่าน้ำหนักองค์ประกอบจากมากไปหาน้อย ดังนี้ 1) ด้านการส่งเสริมระบบการวัดผลลัพธ์ การควบคุม กำกับ และตรวจสอบระบบการบริหารความเสี่ยง และการรายงานอุบัติการณ์และเหตุการณ์ไม่พึงประสงค์ 2) ด้านการส่งเสริมให้อาจารย์/อาจารย์นิเทศ และนักศึกษามีความรู้ความเข้าใจทักษะและแรงจูงใจ ในเรื่องคุณภาพและความปลอดภัย 3) ด้านการสร้างความร่วมมือของอาจารย์/อาจารย์นิเทศ พยาบาล นักศึกษา ญาติและผู้ป่วยกับองค์กรทางการศึกษาและหน่วยงานระบบบริการสาธารณสุข และ 4) ด้านการให้ความรู้การป้องกันการติดเชื้อและการแพร่กระจายเชื้อ
สรุปและข้อเสนอแนะ : คณะพยาบาลศาสตร์ ควรให้ความสำคัญในการเตรียมความพร้อมให้กับนักศึกษาให้ครอบคลุมทั้ง 4 ด้าน เพื่อลดเหตุการณ์ที่ไม่พึงประสงค์ที่อาจเกิดขึ้นระหว่างฝึกปฏิบัติวิชาชีพของนักศึกษาพยาบาล
References
คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยคริสเตียน. (2560). สถิติการรายงานอุบัติการณ์ ปีการศึกษา 2560. นครปฐม: คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยคริสเตียน
ชูศรี วงศ์รัตนะ. (2555). เทคนิคการใช้สถิติเพื่อการวิจัย. (พิมพ์ครั้งที่ 8). กรุงเทพฯ : เทพเนรมิตการพิมพ์.
นภาวรรณ วิริยะศิริกุล และเบญจวรรณ ถนอมชยธวัช. (2564). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมการป้องกันการติดเชื้อในโรงพยาบาลของนักศึกษาพยาบาล. วารสารเทคโนโลยีภาคใต้, 14(1), 86-96.
พร บุญมี และเฉลิมพรรณ์ เฆมลอย. (2554). วัฒนธรรมความปลอดภัยผู้ป่วยและการพัฒนาวัฒนธรรมความปลอดภัย ผู้ป่วยตามการรับรู้ของพยาบาลวิชาชีพ. วารสารการพยาบาลและการศึกษา, 4(3),48-62.
พีระนันทิ์ จีระยิ่งมงคล, วัลทณี นาคศรีสังข์ และจันทนา ณหทัยโภคิน. (2563). สภาพการณ์การบริหารความเสี่ยงเพื่อ ความปลอดภัยของผู้ป่วย และแนวทางการป้องกันความเสี่ยงขณะฝึกปฏิบัติงานบนหอผู้ป่วยของนักศึกษา พยาบาล วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี จักรีรัช. วารสารวิทยาลัยพยาบาลพระจอมเกล้า จังหวัดเพชรบุรี, 3(3), 204-220.
เพชรน้อย สิงห์ช่างชัย. (2549). หลักการและการใช้สถิติการวิเคราะห์ตัวแปรหลายตัวสำหรับการวิจัยทางการพยาบาล (พิมพ์ครั้งที่ 3). สงขลา: ชานเมืองการพิมพ์.
รณชัย คนบุญ, เพิ่มพูน บุญมี และยงยุทธ บรรจง. (2564). การบริหารจัดการความเสี่ยงของคณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ การบริหารการเปลี่ยนแปลงในองค์กรยุคใหม่. วารสารวิจัยและพัฒนาระบบสุขภาพ, 13(3), 260-274.
วีระศักดิ์ จินารัตน์. (2557). การวิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงอนุมาน. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยการจัดการและเทคโนโลยีอีสเทิร์น, 11(2), 80-85.
สตรีรัตน์ ธาดากานต์, โซเฟีย หู, สุมลชาติ ดวงบุบผา, ธีรวัฒน์ ช่างปัด และมิ่งกมล ภิบาลวงษ์. (2565). ความคลาดเคลื่อนในการบริหารยาของนักศึกษาพยาบาลขณะฝึกปฏิบัติบนคลินิกและสถานการณ์จำลอง. รามาธิบดีพยาบาลสาร, 28(2), 281-298.
สถาบันรับรองคุณภาพสถานพยาบาล (องค์การมหาชน). (2560). ผู้ป่วยปลอดภัย เราก็ปลอดภัยด้วย 2P Safety Goals. สืบค้นจาก https://www.crhospital.org/hacc/file/60/download/2P%20Safety%20HACC%20Chiangrai.pdf. สถาบันรับรองคุณภาพสถานพยาบาล (องค์การมหาชน). (2561). เป้าหมายความปลอดภัยของผู้ป่วยของประเทศไทย พ.ศ. 2561. นนทบุรี: เฟมัสแอนด์ ซัคเซ็สฟูล.
สถาบันรับรองคุณภาพสถานพยาบาล (องค์การมหาชน). (2562). เป้าหมายความปลอดภัยของบุคลากรสาธารณสุข ของประเทศไทย พ.ศ.2561 Personal Safety Goals : SIMPLE Thailand 2018. (พิมพ์ครั้งที่ 4). นนทบุรี: เฟมัส แอนส์ ซัคเซ็สฟูล.
สถาบันรับรองคุณภาพสถานพยาบาล (องค์การมหาชน). (2562). HA UPDATE 2019. นนทบุรี: เฟมัส แอนส์ ซัคเซ็สฟูล.
สถาบันรับรองคุณภาพสถานพยาบาล (องค์การมหาชน). (2564). การพัฒนามาตรฐานโรงพยาบาลและบริการสุขภาพ (HA). สืบค้นจาก https://www.ha.or.th/TH/มาตรฐานโรงพยาบาลและบริการ
สภาการพยาบาล. (2562). ประกาศสภาการพยาบาล เรื่อง มาตรฐานการพยาบาล พ.ศ. 2562. วันที่ 18 เมษายน 2562. สืบค้นจาก https://www.tnmc.or.th/images/userfiles/files/A111.PDF
สภาการพยาบาล. (2563). คู่มือการรับรองสถาบันการศึกษาวิชาการพยาบาลและการผดุงครรภ์สำหรับสถาบันการศึกษา ที่มีผู้สำเร็จการศึกษาหลักสูตรพยาบาลศาสตรบัณฑิต. นนทบุรี : ฝ่ายมาตรฐานการศึกษาการพยาบาลและการผดุงครรภ์ สภาการพยาบาล.
สาธิต ปิตุเตชะ, (2564). สธ. ด้านคุณภาพสถานบริการใหม่จาก “2P Safety” สู่ “3P Safety” ผู้ป่วย-บุคลากร-สังคม ปลอดภัย. สืบค้นจาก https://www.thecoverage.info/news/content/1235
สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา. (2560). เกณฑ์มาตรฐานหลักสูตรระดับอุดมศึกษา พ.ศ. 2558 และเกณฑ์ มาตรฐานที่เกี่ยวข้อง. กรุงเทพมหานคร: บริษัท วงศ์สว่างพับลิชชิ่ง แอนด์ พริ้นติ้ง จำกัด.
สุบิน ยุระรัช. (2565). ทําไมต้องลิเคิรต์. วารสารนวัตกรรมและการจัดการ, 7(1), 152-165.
DeVellis, R. F. (2012). Scale development : Theory and development. Newbury park CA: Sage: 85.
El-Jardali, F., Dimassi, H., Jamal, D., Jaafar, M., & Hemadeh, N. (2011). Predictors and outcomes of patient safety culture in hospitals. BMC Health Services Research, 11(1), 1-12.
Joint Commission International Accredited Organization. (2015). Hospital National Patient Safety Goals. The Joint Commission, 1, 1-17.
Hair, J. F., Black, W. C., Babin, B. J., Anderson, R. E& ham Ronald L. (2010). Multivariate data analysis. (7th ed). New Jersy: Prentice Hall.
World Health Organization. (2014). WHO patient safety education: Patient safety curriculum guide. Retrieved from: http://www.isqua.org/docs/geneva-presentations/b11-zheng-hao.pdf?sfvrsn=2.
Yamane, Taro. (1967). Statistics, An Introductory analysis. (2nd ed). New York: Harper and Row.