การเสริมพลังแกนนำนักเรียนทางด้านสุขภาพในการรณรงค์ป้องกันการสูบบุหรี่ในนักเรียนโรงเรียนมัธยมศึกษา: บทบาทพยาบาลชุมชน

ผู้แต่ง

  • วิชุดา กลิ่นหอม อาจารย์ประจำ หลักสูตรพยาบาลศาสตรบัณฑิต คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยคริสเตียน
  • ฐิติมา หมอทรัพย์ อาจารย์ประจำ หลักสูตรพยาบาลศาสตรบัณฑิต คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยคริสเตียน

คำสำคัญ:

บทบาทพยาบาลชุมชน, แกนนำนักเรียนด้านสุขภาพ, พฤติกรรมการสูบบุหรี่, การเสริมพลังอำนาจ

บทคัดย่อ

บุหรี่เป็นสารเสพติดอันตรายที่เป็นสาเหตุการเสียชีวิตเพิ่มมากขึ้นของคนทั่วโลกซึ่งสามารถป้องกันได้ ปัจจุบันพบการสูบบุหรี่ในเยาวชนและมีผู้สูบหน้าใหม่เพิ่มมากขึ้นทุกปี สิ่งเหล่านี้ก่อให้เกิดปัญหาด้านสุขภาพในระยะยาว ดังนั้นจำเป็นต้องมีการแก้ไขปัญหาการสูบบุหรี่ในเยาวชน โดยกลุ่มเยาวชนด้วยกัน การเป็นแกนนำนักเรียนทางด้านสุขภาพ จึงเป็นกำลังสำคัญในการรณรงค์ลดพฤติกรรมการสูบบุหรี่ กระทรวงสาธารณสุขตระหนักถึงศักยภาพของเยาวชนในหลายมิติ หนึ่งในนั้นคือ มิติการขับเคลื่อนทางด้านสุขภาพ จึงมีแนวคิดในการส่งเสริมให้เยาวชนเข้ามามีส่วนร่วม ทั้งการดูแลสุขภาพตนเอง ครอบครัว และชุมชน พยาบาลชุมชนมีบทบาทสำคัญยิ่งในการร่วมพัฒนาสถานศึกษาปลอดบุหรี่ พัฒนาศักยภาพของเยาวชนด้วยการสร้างพลังเพื่อให้มีความรู้ ความมั่นใจในตนเอง รับรู้ความสามารถในตนเอง และเพิ่มความสามารถในการปฏิบัติ ในบทความนี้ได้ประยุกต์มโนทัศน์การเสริมพลังอำนาจในการพัฒนาศักยภาพของแกนนำนักเรียนทางด้านสุขภาพของโรงเรียนมัธยมศึกษาแห่งหนึ่งมาใช้ในการลดพฤติกรรมการสูบบุหรี่

References

กองสถิติสังคม สำนักงานสถิติแห่งชาติ. (2564). การสำรวจพฤติกรรมด้านประชากร พ.ศ.2564. กองสถิติพยากรณ์ สำนักงานสถิติแห่งชาติ.

กองสุขศึกษา กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ กระทรวงสาธารณสุข. (2565). คู่มือการพัฒนายุวอาสาสมัครสาธารณสุข (ยุว อสม.). กระทรวงสาธารณสุข.

ธนะวัฒน์ รวมสุก และแอนน์ จิระพงษ์สุวรรณ. (2565). พยาบาลกับการจัดการสภาพแวดล้อมปลอดบุหรี่ในชุมชน. วารสารพยาบาล, 71(1), 53-62.

นงพิมล นิมิตอานันท์, วิชุดา กลิ่นหอม, และฐิติมา หมอทรัพย์. (2563). การเสริมพลังชุมชน: มโนทัศน์และการประยุกต์ในการปฏิบัติการพยาบาลเวชปฏิบัติชุมชน. วารสารพยาบาลและสุขภาพ, 14(1), 13-23.

พัชราภัณฑ์ ไชยสังข์, ประภาส ธนะ, รัชพร ศรีเดช, และนพภัสสร วิเศษ. (2563). ประสิทธิภาพของการพัฒนาศักยภาพ ด้านความรู้ และทักษะการให้คำปรึกษาเรื่องการเลิกบุหรี่ทางออนไลน์ในสถาบันการศึกษาในแกนนำนักศึกษาพยาบาล. วารสารพยาบาล, 69(1), 36-43.

ภัทรพล จึงสมเจตไพศาล และสันติ ทวยมีฤทธิ์. (2564). การพัฒนารูปแบบการส่งเสริมป้องกันการสูบบุหรี่ของนักเรียนมัธยมศึกษา จังหวัดนครราชสีมา. วารสารวิชาการสาธารณสุข, 30(5), 824-833.

ปราลีณา ทองศรี และอารยา เชียงของ. (2561). บทบาทพยาบาลอนามัยชุมชนในงานอนามัยโรงเรียน. วารสารพยาบาลสาธารณสุข, 32(2), 203-222.

สุปาณี เสนาดิสัย และสุรินธร กลัมพากร. (2563). บุหรี่กับสุขภาพ: พยาบาลกับการควบคุมการบริโภคยาสูบ. (พิมพ์ครั้งที่ 2). สำนักพิมพ์สื่อตะวัน.

สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2564). (ร่าง) แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 13. https://www.nesdc.go.th/download/document/Yearend/2021/plan13.pdf

Ashrafm, M. N., Al-Ansari, A., Abbasi, N., & Almas, K. (2019). Global Prevalence of Tobacco Use in Adolescents and Its Adverse Oral Health Consequences. Open Access Maced J Med Sci, 7(21), 659-3666.

National Association of School Nurses. (2020). Framework for 21st century school nursing practice™ clarifications and updated definitions. NASN School Nurse, 35(4), 225-233.

National Statistical office. (2021). HEALTH BEHAVIOUR OF POPULATION SURVEY 2021. Statistical Forecasting Division; National Statistical Office.

Wallerstein, N., & Bernstein, E. (1988). Empowerment education: Freire's ideas adapted to health education. Health Education Quarterly, 15(4), 379-394.

Wallerstein, N., & Bernstein, E. (1994). Introduction to community empowerment participatory education and health. Health Education Quarterly, 21(2), 141-148.

World Health Organization. (2003). WHO Framework convention on tobacco control. Geneva, Switzerland: WHO Document Production Services. http://apps.who.int/iris/bitstream/ handle/10665/42811/9241591013.pdf;jsessionid=99E4BB48E5C44D33889F3BC9A7A4DCEF?sequence=1 W

World Health Organization. (2013). WHO Framework convention on tobacco control. Geneva, Switzerland: Author

World Health Organization. (2018). Global Health Observatory data repository. Tobacco use. http://apps.who.int/gho/data/node.main.65

World Health Organization. (2020). Tobacco. https://www.who.int/news- room/fact-sheets/detail/tobacco

World Health Organization. (2021). WHO report on the global tobacco epidemic, 2021 addressing new and emerging products. Geneva. https://apps.who.int/iris/bitstream/handle/10665/343287/9789240032095-eng.pdf?sequence =1% 26isAllowed =y

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-12-15