การพยาบาลผู้ป่วยบาดเจ็บหลายระบบ: กรณีศึกษาเปรียบเทียบ

ผู้แต่ง

  • สกุลวรรณ อร่ามเมือง พยาบาลวิชาชีพชำนาญการ โรงพยาบาลราชบุรี จังหวัดราชบุรี

คำสำคัญ:

การบาดเจ็บหลายระบบ, กระบวนการพยาบาล, กรณีศึกษาเปรียบเทียบ

บทคัดย่อ

การบาดเจ็บหลายระบบเป็นการบาดเจ็บของอวัยวะร่วมกันตั้งแต่ 2 ระบบขึ้นไปซึ่งเป็นภาวะวิกฤตที่นำไปสู่การเสียชีวิตได้ เป้าหมายของการพยาบาลผู้ป่วยคือ การเฝ้าระวังดูแลเพื่อลดภาวะคุกคามต่อชีวิต พยาบาลเป็นบุคคลสำคัญที่ต้องมีทักษะทางคลินิกสูงในการดูแลผู้ป่วยโดยใช้กระบวนการพยาบาลให้สอดคล้องกับปัญหา ความต้องการของผู้ป่วย และครอบครัว  วัตถุประสงค์ในการนำเสนอกรณีศึกษานี้คือ เพื่อศึกษาเปรียบเทียบผู้ป่วยบาดเจ็บหลายระบบที่เข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลราชบุรี จำนวน 2 ราย โดยใช้กระบวนการพยาบาลและทฤษฎีความไม่แน่นอนในการเจ็บป่วย และวิเคราะห์เปรียบเทียบความรุนแรงการบาดเจ็บ พยาธิสภาพ อาการและอาการแสดง การรักษาและประเมินผลจากการพยาบาล ผลการศึกษา พบว่า กรณีศึกษาที่ 1 มีภาวะช็อกจากการเสียเลือดปริมาณมาก เลือดออกจากหัวใจในหนึ่งนาทีลดลง  และภาวะความดันในกะโหลกศีรษะสูง กรณีศึกษาที่ 2 มีภาวะความดันในกะโหลกศีรษะสูง ภาวะซีดจากการเสียเลือด และการติดเชื้อทางเดินหายใจ  สรุปการศึกษาครั้งนี้แสดงให้เห็นว่าพยาบาลมีบทบาทสำคัญ ในการประเมิน เฝ้าระวัง จัดการการดูแลผู้ป่วยบาดเจ็บหลายระบบ เพื่อให้ผู้ป่วยปลอดภัยจากภาวะคุกคามต่อชีวิต

References

กรรณิกา รักยิ่งเจริญ, อาภรณี ไทยกล้า, และประภาพร สุวรรณกูฎ. (2561). การใช้หลัก ABCs ในการดูแลผู้ป่วยที่มีภาวะความดันในกะโหลกศีรษะสูง. วารสารวิจัยทางวิทยาศาสตร์สุขภาพ, 12(ฉบับพิเศษ), 12-19.

กลุ่มงานพัฒนาระบบบริการและการแพทย์ฉุกเฉิน. (2565). สรุปสถานการณ์การบาดเจ็บและเสียชีวิตจากอุบัติเหตุทางถนนจังหวัดราชบุรี. http://www.rbpho.moph.go.th

นครชัย เผื่อนปฐม และธีรเดช ศรีกิจวิไลกุล. (2562). แนวทางเวชปฏิบัติกรณีสมองบาดเจ็บ. พรอสเพอรัสพลัส.

นรชาติ ศิริศรีตรีรักษ์. (2565). การตรวจประเมินผู้ป่วยบาดเจ็บหลายระบบและภาวะฉุกเฉินทางออร์โธปิดิกส์. https://www.med.mahidol.ac.th

ปลมา โสบุตร์ และณิชาภัตร พุฒิคามิน. (2565). ปัจจัยทำนายความรุนแรงของการบาดเจ็บสมองในผู้ป่วยสมองบาดเจ็บ. วารสารโรงพยาบาลมหาสารคาม, 19(1), 77-87.

เฟื่องสิริ ต่อดำรงค์. (2560). ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับระดับความรุนแรงของการได้รับบาดเจ็บศีรษะของผู้ประสบอุบัติเหตุจักรยานยนต์. วารสารแพทย์เขต 4-5, 36(3), 138-144.

ภมร แช่มรักษา และธันยมัย ศรีหมาด. (2557). ปัจจัยทำนายระยะเวลาหย่าเครื่องช่วยหายใจในหอผู้ป่วยศัลยกรรมทางเดินหายใจ. วารสารมหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์, 6(2), 36-46.

โรงพยาบาลราชบุรี งานเวชระเบียนและสถิติ หอผู้ป่วยศัลยกรรมระบบประสาท 1. (2565). รายงานสถิติประจำปี 2559. งานเวชระเบียนและสถิติ โรงพยาบาลราชบุรี.

วิไลวรรณ ทองเจริญ. (2565). การเปลี่ยนแปลงทางด้านร่างกายในวัยสูงอายุ. https://www.ns.mahidol.ac.th

วรพล รัตนเลิศ และสุรศักดิ์ สังขทัต ณ อยุธยา. (2565). Coagulopathy in surgical critical care patients: Point of care assessment and management. http://www.medinfo2.psu.ac.thSurgery/Collective%20review/2559/1.Coagulopathy_In_Surgical_Patients%20(Woraphon%2013.1.59).pdf

วิจิตรา กุสุมภ์. (2562). บทนำเกี่ยวกับกระบวนการพยาบาล. ใน วิจิตรา กุสุมภ์ และสุลี ทองวิเชียร (บ.ก.), ข้อวินิจฉัยการพยาบาลและการวางแผนการพยาบาล. (น.1-19). พี.เค.เค.พริ้นท์ติ้ง.

วิจิตรา กุสุมภ์. (2565). ความผิดปกติเกี่ยวกับระบบประสาท. ใน วิจิตรา กุสุมภ์ (บ.ก.), การพยาบาลผู้ป่วยภาวะวิกฤต: แบบองค์รวม (น.366-429). พี.เค.เค.พริ้นท์ติ้ง.

สกุลวรรณ อร่ามเมือง, ทิพา ต่อสกุลแก้ว, และวีนัส ลีฬหกุล. (2562). ผลของโปรแกรมสนับสนุนด้านข้อมูลและอารมณ์ต่อความรู้สึกไม่แน่นอนในการเจ็บป่วยและการเผชิญความเครียดของญาติในการดูแล ผู้ป่วยบาดเจ็บศีรษะ. วารสารพยาบาลสงขลานครินทร์, 39(3), 77-89.

อรุณี เฮงยศมาก และวิจิตรา กุสุมภ์. (2556). ภาวะวิกฤตเกี่ยวกับระบบประสาท. ใน วิจิตรา กุสุมภ์ และคณะ (บ.ก.), การพยาบาลผู้ป่วยภาวะวิกฤต: แบบองค์รวม (น.345-400). ห้างหุ้นส่วนสามัญนิติบุคคลสหประชาพาณิชย์.

อรุณี เฮงยศมาก. (2565). การจัดการผู้ป่วยภาวะช็อก. ใน วิจิตรา กุสุมภ์ (บ.ก.), การพยาบาลผู้ป่วยภาวะวิกฤต: แบบองค์รวม (น.157-197). พี.เค.เค.พริ้นท์ติ้ง.

Mishel, M. H. (1988). Uncertainty in illness Image. Journal of Nursing Scholarship, 20(4), 225-232.

Mishel, M. H. (1990). Reconceptualization of uncertainty in illness theory. Journal of Nursing Scholarship, 22(4), 256-262.

Nickson, C. (2015). Increased intracranial pressure in traumatic brain injury. https://www.lifeinthefastlane.com/

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-12-15