ผลของโปรแกรมการป้องกันแผลกดทับในผู้ป่วยกลุ่มเสี่ยงโดยใช้กระบวนการพยาบาล ในโรงพยาบาลราชบุรี
คำสำคัญ:
โปรแกรมการป้องกันการเกิดแผลกดทับ, แผลกดทับ, กระบวนการพยาบาล, ความรู้, ผู้ป่วยกลุ่มเสี่ยงบทคัดย่อ
บทคัดย่อ
วัตถุประสงค์การวิจัย: เพื่อเปรียบเทียบความรู้ในการปฏิบัติการพยาบาลของพยาบาลวิชาชีพเพื่อป้องกันแผลกดทับในผู้ป่วยกลุ่มเสี่ยง ก่อนและหลังได้รับโปรแกรมการป้องกันแผลกดทับในผู้ป่วยกลุ่มเสี่ยงโดยใช้กระบวนการพยาบาล และอุบัติการณ์การเกิดแผลกดทับในผู้ป่วยกลุ่มเสี่ยง
รูปแบบการวิจัย: การวิจัยกึ่งทดลอง ชนิดหนึ่งกลุ่มวัดก่อนและหลังการทดลอง
วิธีดำเนินการวิจัย: กลุ่มตัวอย่าง มี 2 กลุ่ม คือ 1) พยาบาลวิชาชีพ จำนวน 40 คน ที่ได้รับโปรแกรมการป้องกันแผลกดทับในผู้ป่วยกลุ่มเสี่ยงตามกระบวนการพยาบาล 4 ขั้นตอน ดังนี้ การดึงประสบการณ์ ในการประเมินความเสี่ยงต่อการเกิดแผลกดทับโดยใช้แบบประเมินของบราเดน การสะท้อนและอภิปราย วิเคราะห์ความเสี่ยงและปัจจัยทำนายการเกิดแผลกดทับในผู้ป่วยที่มีความเสี่ยง การมีความคิด สรุปการประเมินความเสี่ยง และปัจจัยทำนายการเกิดแผลกดทับ การวางแผนและการปฏิบัติการพยาบาลเพื่อป้องกันแผลกดทับ และ การทดลอง/การประยุกต์แนวคิดเพื่อปฏิบัติการพยาบาลโดยกำหนดความต้องการการดูแลที่จำเป็น กำหนดแผนการพยาบาล การปฏิบัติการพยาบาล และประเมินผลการพยาบาล และ 2) ผู้ป่วยกลุ่มเสี่ยงต่อการเกิดแผลกดทับ จำนวน 57 คน ที่พักรักษาตัวในหอผู้ป่วย 4 แห่ง ที่ได้รับการดูแลโดยพยาบาลที่ได้รับโปรแกรมการป้องกันแผลกดทับ ระหว่างเดือนมีนาคม - เดือนมิถุนายน พ.ศ. 2566 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา และการทดสอบค่าที
ผลการวิจัย: ความรู้ของพยาบาลวิชาชีพหลังได้รับโปรแกรมการป้องกันแผลกดทับฯ มีค่าเฉลี่ยของคะแนนสูงกว่าก่อนได้รับโปรแกรมฯ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p-value < 0.001) อุบัติการณ์การเกิดแผลกดทับในผู้ป่วยที่มีความเสี่ยงแผลกดทับก่อนได้รับโปรแกรมฯ ร้อยละ 4.16 ภายหลังได้รับโปรแกรมฯ ลดลงเหลือ ร้อยละ 1.89
สรุปและข้อเสนอแนะ: ควรส่งเสริมให้ใช้โปรแกรมการป้องกันการเกิดแผลกดทับในผู้ป่วยกลุ่มเสี่ยงโดยใช้กระบวนการพยาบาลเพื่อป้องกันการเกิดแผลกดทับในผู้ป่วยที่มีความเสี่ยงต่อการเกิดแผลกดทับในโรงพยาบาลราชบุรี
References
กลุ่มการพยาบาล โรงพยาบาลราชบุรี, (2566). แบบสรุปข้อมูลการเฝ้าระวังแผลกดทับ. โรงพยาบาลราชบุรี.
จุฑามาส จันทร์ฉาย. (2555). โปรแกรมการเรียนรู้เรื่องเบาหวานและการจัดการตนเองของผู้ที่เป็นโรคเบาหวานชนิดที่ 2 จังหวัดประจวบคีรีขันธ์. [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิตไม่ได้ตีพิมพ์]. มหาวิทยาลัยมหิดล.
ฉัตรวลัย ใจอารีย์. (2563). ผลของการใช้แนวปฏิบัติทางคลินิกสำหรับป้องกันการเกิดแผลกดทับโรงพยาบาลนครปฐม. วารสารแพทย์เขต 4-5, 39(4), 684-696.
รักษนันท์ ขวัญเมือง. (2544). การประเมินความเสี่ยงของการเกิดแผลกดทับในผู้ป่วยที่จำกัดการกิจกรรม. มหาวิทยาลัยมหิดล.
สมาคมพยาบาลแล ออสโตมีและควบคุมการขับถ่าย. (2566). เอกสารประกอบการประชุมประจำปีสมพยาบาลแผล ออสโตมีและควบคุมการขับถ่าย เรื่อง “Valued Based Health Care in Wound/Ostomy: Safe, timely, efficient, equitable, effective, and patient-centered are the key successes”. [เอกสารที่ไม่ได้ตีพิมพ์]. สมาคมพยาบาลแล ออสโตมีและควบคุมการขับถ่าย.
อรนุช มกราภิรมย์ และอันธิกา คะระวานิช. (2563). การพัฒนาแนวปฏิบัติทางการพยาบาลสำหรับป้องกันการเกิดแผลกดทับในโรงพยาบาลตราด”. วารสารกองการพยาบาล, 47(1), 139-152.
Avsar, P., & Karadag, A. (2018). Efficacy and cost-effectiveness analysis of evidence-base nursing interventions to maintain tissue integrity to prevent pressure ulcers and incontinence-associated dermatitis. Worldviews on Evidence-Based Nursing, 15(1), 54-61.
Braden, B. & Bergstrom, N. (2000). “A conceptual schema for the study of etiology of pressure sore. Rehabilitation Nursing, 25(3), 105-109.
Behrendt, Ghaznavi, A. M., Mahan, M., Craft, S., & Siddiqui, A. (2014). Continuous bedside pressure mapping and rates of hospital-associated pressure ulcers in medical in tensive care unit. American Journal of Critical Care, 23(2), 127-133.
Benner, P. (1984). From novice to expert. Addison-Wesley.
Bergstrom N, Braden B, Kemp M, Champagne M, & Ruby E. (1998) Predicting pressure ulcer risk: A multisite study of the predictive validity of the Braden Scale. Nurs Res, 47(5), 261-9.
Bloom, B. S., Madaus, G. F., & Hastings, J. T. (1971). Handbook on formative and summative evaluation of student learning. McGraw-Hill.
Josephine, L., Paul, F., & Sandra, M. (2020). International consensus on pressure injury preventive intervention by risk level for critically ill patients: A modified Delphi study. International Wound Journal, 17(5), 1112-1127.
Kalowes, P. (2016). Five-layered soft silicone foam dressing to prevent pressure ulcers the intensive care unit. American Journal of Critical Care, 25(6), E108-E119.
Kolb, D.A. (1984). Experiential Learning: Experience as the source of Learning and Development. Englewood Cliffs, Prentice-Hall.
National Pressure Ulcer Advisory Panel. (2016). National Pressure Ulcer Advisory Panel (NPUAP) announces a change in terminology from pressure ulcer to pressure Injury and updates the stages of pressure injury. April 13.
Still, M. D., Cross, L. C., Dunlap, M., Rencher, R., Larkings, E. R. (2013). The turn team: A novel strategy for reducing pressure ulcers in the surgical intensive care unit. Journal of the American College of Surgeons, 216(3), 373-379.
Tayyib, N., & Coyer, F. (2016). Effectiveness of pressure ulcer prevention strategies for adult patients in intensive care units: A systematic review. Worldviews on Evidence-Based Nursing, 13(6), 432-444.
Whitty, J, A., Mclmmes, E., Bucknall, T., Webster, J., Gillespie, B.M., Banks, M., et al. (2017). The cost-effectiveness of a patients-centered pressure ulcer prevention care bundle: Finding from the INTACT cluster randomized trial. International Journal of Nursing Studies, 75, 35-42.
Tayyib, N., & Coyer, F. (2016). Effectiveness of pressure ulcer prevention strategies for Evidence-Based Nursing, 13(6), 432–444.
Uzan, O., Aylaz, R., & Karadag, E. (2009). Prospective study: Reducing pressure ulcers in intensive care units at a Turkish medical center. WOCN: Journal of Wound, Ostomy, and Continence Nursing, 36(4), 404-411.
Yilmazer, T., & Tuzer, H. (2022). The effect of a pressure ulcer prevention care bundle on nursing workload costs. Journal of Tissue Viability, 31(3), 459–464.