ปัจจัยคัดสรรที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการบริโภคขนมขบเคี้ยวของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4-6 ในจังหวัดนครปฐม
คำสำคัญ:
ปัจจัยคัดสรร, พฤติกรรมการบริโภคขนมขบเคี้ยว, นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4-6บทคัดย่อ
วัตถุประสงค์การวิจัย : การศึกษานี้เป็นงานวิจัยเชิงพรรณนา เพื่อศึกษาพฤติกรรมการบริโภคขนมขบเคี้ยว และเพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยด้านบุคคล ปัจจัยด้านครอบครัว และปัจจัยด้านสิ่งแวดล้อมกับพฤติกรรมการบริโภคขนมขบเคี้ยว
รูปแบบการวิจัย : การวิจัยเชิงพรรณนาแบบหาความสัมพันธ์
วิธีดำเนินการวิจัย : กลุ่มตัวอย่าง คือ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4-6 และผู้ปกครอง จำนวน 280 คน ทำการคัดเลือกกลุ่มตัวอย่างโดยการสุ่มแบบชั้นภูมิ เก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติพรรณนา การทดสอบสหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน แบบสเปียร์แมน และไคสแควร์
ผลการวิจัย : นักเรียนมีพฤติกรรมการบริโภคขนมขบเคี้ยวอยู่ในระดับปานกลาง (M=20.00, S.D.=6.64) โดยขนมขบเคี้ยวที่บริโภคบ่อย คือ ลูกอม (M=1.51, S.D.=.59) สำหรับปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการบริโภคขนมขบเคี้ยวของเด็กวัยเรียน ได้แก่ ระดับชั้นที่ศึกษา (p=.00) เงินที่ได้รับมาโรงเรียน (r=.11, p<.05) ความรู้เกี่ยวกับการบริโภคขนมขบเคี้ยว (r=.12, p<.05) และพฤติกรรมการบริโภคขนมขบเคี้ยวของผู้ปกครอง (r=.24, p<.01)
สรุปและข้อเสนอแนะ : ควรมีการศึกษาปัจจัยอื่นๆ เพื่อค้นหาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการบริโภคขนมขบเคี้ยวและภาวะโภชนาการของเด็กวัยเรียนอื่นๆ เนื่องจากปัจจัยที่ศึกษาในครั้งนี้ พบว่า มีความสัมพันธ์ในระดับต่ำ
References
กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข. (2561). รายงานผลการสำรวจสภาวะสุขภาพช่องปากแห่งชาติ (ครั้งที่ 8). บริษัท สามเจริญพาณิชย์ (กรุงเทพ) จำกัด
ชัชชฎาภร พิศมร และเอกสิทธิ์ ไชยปิน. (2564). ปัจจัยที่สัมพันธ์กับพฤติกรรมการบริโภคขนมขบเคี้ยวและเครื่องดื่มที่มีรสหวาน ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น โรงเรียนบ้านไร่ จังหวัดน่าน. วารสารพยาบาลศาสตร์และสุขภาพ, 44(3), 71-83.
ชูศรี วงศ์รัตนะ. (2558). เทคนิคการเขียนเค้าโครงการวิจัย : แนวทางสู่ความสำเร็จ. อมรการพิมพ์.
ธนิดา โพธิ์ดี, ทิพย์ฤทัย ประยูรวงษ์, ปิยนุช ทับโพธิ์, พัชราภรณ์ เอี่ยมเสม, และเมธาวี บำรุงพนิชถาวร. (2564). พฤติกรรมการบริโภคขนมขบเคี้ยวของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 อำเภอเมือง จังหวัดพิษณุโลก. วิทยาสารทันตสาธารณสุข, 26(1), 62-76.
นงนุช ใจชื่น และพุฒิปัญญา เรืองสม. (2558). การสื่อสารการตลาดอาหารในโรงเรียนกับทัศนคติ พฤติกรรมการซื้อและการบริโภคอาหารของเด็กประถมศึกษา. รายงานวิจัยภายใต้โครงการการติดตามและการเฝ้าระวังอุตสาหกรรมและการตลาดอาหาร และเครื่องดื่มที่มีน้ำตาล ไขมัน และโซเดียมสูงในเด็กและ เยาวชนของประเทศไทย. สำนักพัฒนานโยบายสุขภาพระหว่างประเทศ.
นันธินีย์ วังนันท์, นพวรรณ เปียซื่อ, และสุจินดา จารุพัฒน์ มารุโอ. (2560). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการบริโภคขนมขบเคี้ยวของเด็กก่อนวัยเรียน. วารสารสภาการพยาบาล, 32(4), 55-66.
วราพรรณ ไหมเหลือง, คันธมาทน์ กาญจนภูมิ, ชัดเจน จันทรพัฒน์, และกัลยา ตันสกุล. (2563). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อพฤติกรรมการบริโภคอาหารหวานของนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนต้นในอำเภอ เมือง จังหวัดยะลา. การประชุมหาดใหญ่วิชาการระดับชาติและนานาชาติ ครั้งที่ 11, 1938-1956. มหาวิทยาลัยหาดใหญ่. https.//www.hu.ac.th/conference/roceedings2020/
วารุณี สุดตา, พิมพ์อนงค์ แพรต่วน, ศุภณัฐ คงหอม, และสุวัฒนา เกิดม่วง. (2565). ปัจจัยทีมีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการบริโภคขนมขบเคี้ยว และเครื่องดื่มที่มีรสหวานในนักเรียนชั้นประถมศึกษาปี ที่ 4-6 อำเภอเมือง จังหวัดนครสวรรค์. วารสารการพัฒนาสุขภาพชุมชน มหาวิทยาลัยขอนแก่น, 10(4), 473-487.
สโรชา นันทพงศ์, นฤมล ศราธพันธุ์, และอภิญญา หิรัญวงษ์. (2557). ความรู้เกี่ยวกับโภชนาการและพฤติกรรมการจัดอาหารสำหรับเด็กวัยก่อนเรียนของผู้ปกครองโรงเรียนรัฐบาลจังหวัดชุมพร. วารสารวิจัย เกษตรศาสตร์ (สังคม), 35(2), 235-244.
สำนักงานสถิติแห่งชาติ. (2561). การสำรวจพฤติกรรมการบริโภคอาหารของประชากร 2560. https://www.m-society.go.th/ewtadmin/ewt/mso_web*/ewt_news.php?nid=22149
สุชาดา ธรรมเจริญ. (2560). พฤติกรรมการบริโภคขนมขบเคี้ยวของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนต้น โรงเรียนเทพนิมิตรศึกษา จังหวัดสุราษฎร์ธานี [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร]. https://repository.rmutp.ac.th/bitstream/handle/123456789/3027/HEC_62_11.pdf?3027/HEC_62_11.pdf?sequence=1&isAllowed=y
สุธีรา บัวทอง. (2550). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการบริโภคขนมขบเคี้ยวและเครื่องดื่มที่มีรสหวานในเด็กนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 และ 6 ของโรงเรียนในเขตอำเภอเมือง จังหวัดนครปฐม [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยมหิดล]. https://books.google.co.th/books?id= raxPNQEACAAJ
สุพัตรา นุตรักษ์ และวรรณไพร แย้มมา. (2565). การพยาบาลเด็กเพื่อการส่งเสริมสุขภาพและพัฒนาการเด็กทุกช่วงวัย. บริษัท นีโอดิจิตอล จำกัด.
อภิญญา อุตระชัย และกริช เรืองไชย (2561). ความสัมพันธ์ระหว่างความรู้ พฤติกรรมการบริโภคขนมและเครื่องดื่มรสหวานและภาวะโภชนาการของในนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น อำเภอเมือง จังหวัดราชบุรี. วารสารมหาวิทยาลัยนครพนม ฉบับการประชุมวิชาการครบรอบ 25 ปี, 95-102. https://so03.tci-thaijo.org/index.php/npuj/article/view/08337/87987
อุไรวรรณ ไม้กร่าง, อังคณา ขันตรีจิตรานนท์, และนฤมล ศราธพันธ์. (2562). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการบริโภคขนมขบเคี้ยวของวัยรุ่นโรงเรียนของรัฐในกรุงเทพมหานคร. วารสารศึกษาศาสตร์ปริทัศน์, 34(3), 18-26.
Batubara O., Arief Y.S., & Krisnana I. (2020). Factors associated with student snacking consumption. Eurasia Journal of BioSciences, 14(2), 2669-2673.
Ettekal A.V., & Mahoney J.L. (2017). The SAGE encyclopedia of out-of-school learning. SAGE Publications, Inc.
Krejcie, R.V., & Morgan, D.W. (1970). Determining sample size for research activities. Education and Psychological Measurement, 30(1), 607-610.
UPRETI Y.R., BASTIEN S., BJONNESS B., & DEVKOTA B. (2020). Socio-ecological factors associated with snacking behaviors of basic school students in nepal. Current Research in Nutrition and Food Science Journal, 8(3), 774-784.