ความสัมพันธ์ระหว่างแรงสนับสนุนทางสังคม แรงจูงใจกับพฤติกรรมการป้องกันโรคมะเร็งเต้านมของสตรีที่มาใช้บริการในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล จังหวัดปทุมธานี
คำสำคัญ:
แรงสนับสนุนทางสังคม, แรงจูงใจ, การป้องกันโรคมะเร็งเต้านม, โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบทคัดย่อ
วัตถุประสงค์การวิจัย เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างแรงสนับสนุนทางสังคมและ แรงจูงใจกับพฤติกรรมการป้องกันโรคมะเร็งเต้านม
รูปแบบการวิจัย การวิจัยเชิงพรรณนา
วิธีดำเนินการวิจัย กลุ่มตัวอย่าง คือ สตรีที่มาใช้บริการในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล 2 แห่ง ในอำเภอลำลูกกา จังหวัดปทุมธานี จำนวน 216 คน เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม ประกอบด้วย 4 ส่วน ได้แก่ 1) ข้อมูลส่วนบุคคล 2) แรงสนับสนุนทางสังคม 3) แรงจูงใจในการป้องกันโรคมะเร็งเต้านม และ 4) พฤติกรรมการป้องกันโรคมะเร็งเต้านม ตรวจสอบความตรงเชิงเนื้อหาโดยผู้ทรงคุณวุฒิ 3 ท่าน ได้ค่าดัชนีความตรงตามเนื้อหา (CVI) ส่วนที่ 2, 3 และ 4 เท่ากับ 0.70, 0.81 และ 0.88 ค่าความเชื่อมั่นโดยใช้ค่าสัมประสิทธิ์แอลฟา ส่วนที่ 2, 3 และ 4 เท่ากับ 0.85, 0.76 และ 0.86 ตามลำดับ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน
ผลการวิจัย พบว่า แรงสนับสนุนทางสังคมในการป้องกันโรคมะเร็งเต้านมอยู่ในระดับปานกลาง (=3.32, S.D.=.74) แรงจูงใจในการป้องกันโรคอยู่ในระดับมาก (=3.58, S.D.=.33) พฤติกรรมการป้องกันโรคมะเร็งเต้านมอยู่ในระดับปานกลาง (=2.10, S.D.=.31) แรงสนับสนุนทางสังคมและแรงจูงใจมีความสัมพันธ์ในทิศทางเดียวกันกับพฤติกรรมการป้องกันโรคมะเร็งเต้านมของสตรี อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 (r=.309, p<.01 และ r=.438, p<.01)
สรุปและข้อเสนอแนะ จากผลการวิจัย ควรมีแนวทางบริการสำหรับสตรีที่มารับบริการให้ได้รับการส่งเสริมแรงจูงใจ และการสนับสนุนทางสังคมทั้งจากบุคคลากรด้านสุขภาพที่เกี่ยวข้องและบุคคลใกล้ชิดในการส่งเสริมพฤติกรรมการป้องกันโรคมะเร็งเต้านมและตรวจเต้านมด้วยตนเอง
References
กองสุขศึกษา กระทรวงสาธารณสุข. (2548). รายงานผลการประเมินสถานการณ์ด้านพฤติกรรมสุขภาพ: การตรวจเต้านมด้วยตนเองของสตรีอายุ 35 ปีขึ้นไป. นนทบุรี: โรงพิมพ์ชุมชนสหกรณ์การเกษตรแห่ง ประเทศไทยจำกัด.
คนึงนิจ พงศ์ถาวรกมล, พิจิตรา เล็กดำรงกุล, พรพรรณ วนวโรดม และวันทกานต์ ราชวงศ์. (2557). ความสัมพันธ์ระหว่างแรงสนับสนุนทางสังคม สถานภาพทางการเงิน พฤติกรรมการส่งเสริมสุขภาพ และคุณภาพชีวิตในสตรีมะเร็งเต้านมระหว่างได้รับรังสีรักษา. วารสารพยาบาลศาสตร์, 32(1), 15-27.
ชูใจ คูหารัตนชัย. (2546). สถิติเบื้องต้น: Introduction to Statistics. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
พัชยา ภัคจีรสกุล. (2559). ปัจจัยที่ส่งผลต่อพฤติกรรมการตรวจเต้านมด้วยตนเองของหญิงไทย ในจังหวัดลำปาง (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, ปทุมธานี.
พุทธา เจือจันทึก. (2557). การส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคมะเร็งเต้านมในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยขอนแก่น, ขอนแก่น.
เพ็ญพิศ จีระภา. (2554). แรงจูงใจในการตรวจเต้านมด้วยตนเองของสตรี อำเภอเมือง จังหวัดชุมพร. วารสารมหาวิทยาลัยราชภัฎยะลา, 6(2), 104-113.
รุ้งระวี นาวีเจริญ, สุรศักดิ์ ตรีนัย, นพมาศ พัดทอง และสุวิมล โรจนาวี. (2561). ผลของโปรแกรมการพัฒนาศักยภาพในการป้องกันมะเร็งเต้านมและการติดตามด้วยโทรศัพท์ต่อพฤติกรรมการป้องกันมะเร็งเต้านมของบุคลากรหญิงจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.วารสารแพทย์นาวี, 45(2), 186-201.
วิเชียร เกตุสิงห์. (2538). ค่าเฉลี่ยกับการแปลความหมาย : เรื่องง่ายๆ ที่บางครั้งก็พลาดได้. ข่าวสารทางการศึกษา, 18(2), 8-10.
วิชุดา กิจธรธรรม. (2559). หน่วยการเรียนรู้ที่ 2 ธรรมชาติของพฤติกรรม: หลักสูตรการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพสำหรับพยาบาลผู้จัดการรายกรณีโรคเรื้อรัง. (พิมพ์ครั้งที่ 1). กรุงเทพมหานคร: สำนักงานกิจการโรงพิมพ์องค์กรสงเคราะห์ทหารผ่านศึก ในพระบรมราชูปถัมภ์.
สถาบันมะเร็งแห่งชาติ. (2548). คู่มือการสอนการตรวจเต้านมด้วยตนเองสำหรับบุคลากรสาธารณสุข สำหรับประชาชน. (พิมพ์ครั้งที่ 1). กรุงเทพมหานคร: สยามออฟเซ็ท.
สถาบันมะเร็งแห่งชาติ. (2563). ทั่วโลกรณรงค์ให้ตระหนักถึงภัยของมะเร็งเต้านม. สืบค้นจาก https://www.pr.moph.go.th
สิรินุช บูรณะเรืองโรจน์. (2559). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการตรวจเต้านมด้วยตนเองในสตรีไทย เขตอำเภอองครักษ์ จังหวัดนครนายก. วารสารพฤติกรรมศาสตร์เพื่อการพัฒนา, 8(1), 283-301.
สุชาดา นนทะภา และรุ้งระวี นาวีเจริญ (2560). ความสัมพันธ์ระหว่างแรงจูงใจในการป้องกันโรคกับพฤติกรรมการป้องกันมะเร็งเต้านมของครูในโรงเรียนประจำจังหวัด เขตภาคกลาง. วารสารเกื้อการุณย์, 24(2), 23-35.
สุพรรณ ศรีธรรมา และ วีรวุฒิ อิ่มสำราญ. (2560). มะเร็งเต้านม. สืบค้นจาก https://www.hfocus.org2015-08-25
อรวรรณ จุลวงษ์. (2557). แรงจูงใจในการป้องกันโรคกับพฤติกรรมสุขภาพของพลทหารกองประจำการ. วารสารพยาบาลทหารบก, 15(2), 28-32.
อภิญญา ศิริพิทยาคุณกิจ. (2553). แรงสนับสนุนทางสังคม: ปัจจัยสำคัญในการดูแลผู้ที่เป็นเบาหวาน. Rama Nurse Journal, 16(2), 309-322.
อาคม ชัยวีระวัฒนะ, เสาวคนธ์ ศุกร์โยธิน, สุเมศ รื่นสุรงค์วงศ์ และธีรวุฒิ คูหะเปรมะ. (บรรณาธิการ). (2550). แนวทางการตรวจวินิจฉัยและรักษาโรคมะเร็งเต้านม. (พิมพ์ครั้งที่ 1). กรุงเทพมหานคร: ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.
Daniel, W.W. (2010). Biostatistics Basic Concepts and Methodology for the Health Science. (9th ed). New York: Asia John Wiley & Son.
Schaefer, C., Coyne, J.C., & Lazarus, R.S. (1981).The health related functions of social support. Journal of Behavior Medicine, 44(4), 381-406.