การประเมินผลหลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการพยาบาล มหาวิทยาลัยคริสเตียน
คำสำคัญ:
การประเมินผลหลักสูตร, หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการพยาบาล, โมเดลซิปป์บทคัดย่อ
วัตถุประสงค์ : เพื่อประเมินผลหลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการพยาบาล (หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2559) โดยการประเมินผลความพึงพอใจในด้านบริบท ปัจจัยนําเข้า กระบวนการ และผลผลิต ตามแนวคิดโมเดลซิปป์ของสตาฟเฟิลบีม และคณะ (1971)
รูปแบบการวิจัย : การวิจัยเชิงประเมินผลแบบผสมผสาน
วิธีดำเนินการวิจัย : กลุ่มตัวอย่างที่เข้าร่วมการวิจัยเชิงปริมาณคือ ผู้บริหารและอาจารย์ 13 คน ผู้สำเร็จการศึกษา 6 คน นักศึกษาที่กำลังทำวิทยานิพนธ์ 16 คน และผู้ใช้ดุษฎีบัณฑิต 4 คน และผู้ให้ข้อมูลเชิงคุณภาพคือ นักศึกษาที่กำลังทำวิทยานิพนธ์ 8 คน เครื่องมือวิจัยประกอบด้วย 1) แบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคล 2) แบบสอบถามประเมินบริบท ปัจจัยนําเข้า และกระบวนการ 3) แบบสอบถามประเมินผลผลิตหรือคุณลักษณะที่พึงประสงค์ของผู้สำเร็จการศึกษา 4) แบบสอบถามประเมินคุณลักษณะที่พึงประสงค์ตามความต้องการของสถานประกอบการ และ 5) แนวการสนทนากลุ่ม มีค่าดัชนีความตรงเชิงเนื้อหาของแบบสอบถามที่ 2-4 เท่ากับ .90, .90 และ .90 ตามลำดับ และค่าสัมประสิทธิ์แอลฟ่าครอนบาคของแบบสอบถามดังกล่าวเท่ากับ .98, .97 และ .94 ตามลำดับ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติบรรยายและสถิติวิเคราะห์ตามเนื้อหา
ผลการวิจัย : ผลการวิจัยพบว่า บริบท ปัจจัยนําเข้า กระบวนการ และผลผลิตของหลักสูตรตามความคิดเห็นของผู้บริหารและอาจารย์ ผู้สำเร็จการศึกษา นักศึกษา และผู้ใช้ดุษฎีบัณฑิตอยู่ในระดับมาก วัตถุประสงค์ของหลักสูตรมีความสอดคล้องกับความต้องการทางการบริหารการพยาบาลโดยเฉพาะจุดเน้นการบริหารและการวิจัย โครงสร้างของหลักสูตรมีความสอดคล้องกับวัตถุประสงค์ของหลักสูตร ปัจจัยนําเข้าและกระบวนการของหลักสูตรมีความเหมาะสม สำหรับผลผลิตคือผู้สำเร็จการศึกษา มีคุณลักษณะและความสามารถในการปฏิบัติงานดีเป็นไปตามความต้องการของผู้บริหาร อาจารย์ ผู้สำเร็จการศึกษาและผู้ใช้ดุษฎีบัณฑิต ผู้สำเร็จการศึกษามีความสำเร็จในหน้าที่การงานในวิชาชีพและเป็นแบบอย่างที่ดีสำหรับผู้เรียนในหลักสูตร หลักสูตรนี้ควรมีการปรับปรุงเกี่ยวกับ 1) โครงสร้างหลักสูตรควรมีรายวิชาปฏิบัติที่นักศึกษาได้ติดตามผู้บริหารทางการพยาบาลระดับสูง 2) ปรับเนื้อหาบางรายวิชา และมีการกำหนดขอบเขตของหัวข้อวิทยานิพนธ์ให้กับนักศึกษา 3) ลดจำนวนรายวิชาเพื่อให้นักศึกษาทำวิทยานิพนธ์เร็วขึ้น 4) ปรับบริบทที่เกี่ยวข้องกับการจัดการเรียนรู้ ได้แก่ ห้องเรียนวิทยานิพนธ์ที่ส่งเสริมการเรียนรู้กับอาจารย์ที่ปรึกษา เจ้าหน้าที่ให้บริการสม่ำเสมอและเสมอภาค ตรวจสอบความพร้อมของอุปกรณ์ที่ใช้ในการสอน และมีการพัฒนาวิชาการร่วมกันระหว่างศิษย์เก่า นักศึกษา และอาจารย์
สรุปและข้อเสนอแนะ : ผลการวิจัยครั้งนี้สามารถนำไปใช้ในการปรับปรุงหลักสูตรนี้ให้ตรงตามความต้องการของผู้ที่เกี่ยวข้อง ส่งเสริมทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 และเป็นไปตามระบบการประกันคุณภาพการศึกษา
References
เพชรา บุดสีทา. (2564). แนวทางการจัดการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21. สืบค้นจาก http://fms.kpru.ac.th/pr-all/pr-km/pr-km-2560/4908/.
มาเรียม นิลพันธุ์, อรพิน สิริสัมพันธ์, วิสาข์ จัติวัตร์, วิสูตร โพธิ์เงิน และอธิกมาส มากจุ้ย. (2560). การ ประเมินหลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน (หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2556) คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร. Veridian E-Journal ฉบับภาษาไทย สาขามนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ และศิลปะ, 10(2), 1198-1216.
รายงานการประเมินคุณภาพตนเองระดับหลักสูตร. (2563). หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการพยาบาล หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2559. ปีการศึกษา 2562 (1 กันยายน พ.ศ. 2562 – 31 สิงหาคม พ.ศ. 2563). นครปฐม: คณะสหวิทยาการ มหาวิทยาลัยคริสเตียน
วิจารณ์ พานิช. (2555). วิถีสร้างการเรียนรู้เพื่อศิษย์ในศตวรรษที่ 21. กรุงเทพมหานคร: มูลนิธิสดศรี-สฤษดิ์วงศ์.
วิจารณ์ พานิช. (2556). สนุกกับการเรียนในศตวรรษ ที่ 21. กรุงเทพมหานคร: มูลนิธิสดศรี-สฤษดิ์วงศ์.
สน สุวรรณ. (2556 ). แบบจำลอง CIPP Model. สืบค้นจาก https://suwanlaong.wordpress.com.
สมพิศ สุขแสน (2545). CIPP Model: รูปแบบการประเมินผลโครงการ. สืบค้นจาก http://docshare01.ds/cshare.tips/files/5765/57652595.pdf.
สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา. (2558). ประกาศกระทรวงศึกษาธิการ เรื่องเกณฑ์มาตรฐานหลักสูตรระดับบัณฑิตศึกษา พ.ศ. ๒๕๕๘. ราชกิจจานุเบกษา, ๑๓๒, ตอนพิเศษ ๒๙๕ง. สืบค้นจาก file:///C:/Users/admin/Desktop/2558%20post%20G%202558.PDF
AbdiShahshahania, M., Ehsanpourb, S., Yamanic, N., Kohand, S., & Hamidfare, B. (2015). The Evaluation of Reproductive Health PhD Program in Iran: A CIPP Model Approach. Procedia-Social and Behavioral Sciences, 197, 88-97.
Burns, N., & Grove, S., (2009). The practice of nursing research: Appraisal, synthesis, and generation of evidence (6th ed.). St. Louis: Elsevier.
Deming, W.E. (2021). The New Economics for Industry, Government, Education (3rd ed.). Massachusetts: The MIT Press.
International Development Research Center. (2020). Technology and innovation. Retrived from https://www.idrc.ca/en/what-we-do/technology-and-innovation.
Keswani, B., Banerjee, C., & Patni, P. (2020). Role Of technology in education: A 21st century approach. Retrieved from https://www.researchgate.net/publication/260342317
Krejcie, R. V., & Morgan, D. W. (1970). Determining sample size for research activity. Journal of Education and Psychological Measurement, 30, 607-610.
Phattharayuttawat, S., Chantra, J,. Chaiyasit, W., Bannagulrote, K,. Imaroonrak, S., Sumalrot, T., & Auampradit, N. (2009). An evaluation of the curriculum of a graduate programme in Clinical Psychology. South East Asian Journal of Medical Education, 3(1), 14-19.
Stufflebeam, D. L., Foley, W.J., Gephart, W.J., Guba, E.G., Hammond, R.L., Merriman, H.O. & Provus, M. M. (1971). Education and decision making. Itasca, Illinois: Peacock Publisher.
Wangthanomsak, M. (2017). The Evaluation of the Ph.D Curriculum in Educational Administration (revised 2556 B.E.). Veridian E-Journal, Silpakorn University International (Humanities, Social Sciences and Arts), 10(4), 348-361.