ผลของการเข้าโรงเรียนผู้สูงอายุต่อกิจกรรมทางสังคมของผู้สูงอายุเขตสุขภาพที่ 5

ผู้แต่ง

  • อุไรรัชต์ บุญแท้ นักวิเคราะห์นโยบายและแผนชำนาญการพิเศษ กลุ่มงานพัฒนายุทธศาสตร์สาธารณสุข สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดเพชรบุรี
  • ธีรนันท์ วรรณศิริ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ อาจารย์ประจำคณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยคริสเตียน
  • จุฑารัตน์ ผู้พิทักษ์กุล อาจารย์ประจำ คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยคริสเตียน

คำสำคัญ:

กิจกรรมทางสังคม, ผู้สูงอายุ, โรงเรียนผู้สูงอายุ

บทคัดย่อ

บทคัดย่อ

วัตถุประสงค์การวิจัย : เพื่อเปรียบเทียบกิจกรรมทางสังคมของผู้สูงอายุ ระหว่างกลุ่มที่เข้าโรงเรียนผู้สูงอายุและกลุ่มที่ไม่ได้เข้าโรงเรียนผู้สูงอายุ

รูปแบบการวิจัย : การวิจัยกึ่งทดลอง ชนิดสองกลุ่มวัดก่อนและหลังการทดลอง

วิธีดำเนินการวิจัย  : กลุ่มตัวอย่าง เป็นผู้สูงอายุเขตสุขภาพที่ 5 ที่มีคุณสมบัติตรงตามเกณฑ์รวม 112 คน แบ่งเป็นกลุ่มทดลองและกลุ่มเปรียบเทียบ กลุ่มละ 56 คน เครื่องมือที่ใช้ ได้แก่ แบบสอบถามกิจกรรมทางสังคมของผู้สูงอายุ พัฒนาโดยผู้วิจัย ตรวจสอบเนื้อหาโดยผู้ทรงคุณวุฒิ 3 ท่าน และใช้สูตรสัมประสิทธิ์อัลฟาของครอนบาค ได้ค่าความเชื่อมั่นโดยรวม เท่ากับ 0.86 วิเคราะห์ข้อมูล โดย ค่าเฉลี่ย ร้อยละ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่าความแตกต่างด้วยค่าทีแบบอิสระและไม่อิสระ

ผลการวิจัย : พบว่ากิจกรรมทางสังคมโดยรวมเฉลี่ยของผู้สูงอายุกลุ่มทดลอง หลังจบหลักสูตรโรงเรียนผู้สูงอายุดีกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 (t=-10.772) และกิจกรรมทางสังคมโดยรวมเฉลี่ยของผู้สูงอายุกลุ่มทดลองดีกว่ากลุ่มเปรียบเทียบอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 (t=8.667)

สรุปและข้อเสนอแนะ : สามารถนำผลการวิจัยไปวางแผนพัฒนาการจัดการเรียนการสอนเกี่ยวกับการดูแลสุขภาพผู้สูงอายุโดยส่งเสริมให้มีกิจกรรมทางสังคม

References

กรมอนามัยกระทรวงสาธารณสุข. (2559). คู่มือการดูแลส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุ (เล่มสีม่วง). นนทบุรี.

คณะทำงานจัดทำหลักสูตรโรงเรียนผู้สูงอายุกรมกิจการผู้สูงอายุ. (2559). คู่มือโรงเรียนผู้สูงอายุ. กองส่งเสริมศักยภาพผู้สูงอายุ.

คณะกรรมการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2555). แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 11 (พ.ศ.2555-2559). สำนักงานคณะกรรมการการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ.

คณะทำงานพัฒนาหลักสูตรโรงเรียนผู้สูงอายุศูนย์อนามัยที่ 5 ราชบุรี. (2559). คู่มือหลักสูตรโรงเรียน ผู้สูงอายุเขต สุขภาพที่ 5. ศูนย์อนามัยที่ 5 ราชบุรีกรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข.

บรรลุ ศิริพานิช. (2551). คู่มือผู้สูงอายุ: ฉบับเตรียมตัวก่อนสูงอายุ (เตรียมตัวก่อนเกษียณอายุการงาน). หมอชาวบ้าน.

บริบูรณ์ ศรีมาชัย, นำชัย ศุภฤกษ์ชัยสกุล และนาฎสุดา เชมนะสิริ. (2557). แบบจำลองสมการโครงสร้างปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมการมีส่วนร่วมของผู้สูงอายุในกิจกรรมชุมชน เขตจตุจักร กรุงเทพมหานคร. วารสารสมาคมนักวิจัย, 19(1), 146-158.

พรรณี ลีกิจวัฒนะ. (2565). วิธีการวิจัยทางการศึกษา. พิมพ์ครั้งที่ 12. มีนเซอร์วิส ซัพพลาย.

ทิพวรรณ พุฒดอน (2561). พฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพตนเองของผู้สูงอายุก่อนและหลังเข้าโรงเรียนผู้สูงอายุเทศบาลตำบลหนองหัวแรต อำเภอหนองบุญมาก จังหวัดนครราชสีมา. วารสารวิจัยและพัฒนาด้านสุขภาพ สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดนครราชสีมา. 3(2), 73-89.

มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. (2558). สังคมผู้สูงอายุ : นัยต่อการพัฒนาเศรษฐกิจ. http://www.stou.ac.th

ยุพิน ทรัพย์แก้ว (2559). การพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุด้วยหลักสูตรโรงเรียนผู้สูงอายุของศูนย์ความเป็นเลิศด้านการสร้างเสริมสุขภาพผู้สูงอายุวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนครศรีธรรมราช. วารสารการพยาบาลและการศึกษา, 9(2), 25-39.

สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดเพชรบุรี. (2561). เอกสารรับการตรวจราชการและนิเทศงานกรณีปกติ ปี 2561. PS Graphic.

Bassuk, S. S., Glass, T. A., & Berkman, L. F. (1999). Social disengagement and incident cognitive decline in community-dwelling elderly persons. Annals of Internal Medicine, 131(3), 165-173. doi.org/10.7326/0003-4819-131-3-199908030-00002.

Biddle, B. J. (1986). Recent developments in role theory. Annual Review of Sociology, 12, 67-92.

Bowling, A., & Stafford, M. (2007). How do objective and subjective assessments of neighborhood influence social and physical functioning in older age? Findings from a British survey of ageing. Social Science & Medicine, 64(12), 2533-2549. https://doi.org/10.1016/j.socscimed.2007.03.009

Cachadinha, C., Costa, Branco De Oliveira Pedro, J. A., & Carmo Fialho, J. (2011). Social participation of community living older persons: Importance, determinants and opportunities. In Proceedings Include 2011: 6th International Conference on Inclusive Design "The Role of Inclusive Design in Making Social Innovation Happen" (pp. 18-20). UK: Publisher.

Cohen, J. (2013). Statistical Power Analysis for the Behavioral Sciences. (2nd Ed). Routledge. https://doi.org/10.4324/9780203771587

Cronbach, L. J. (1947). Test “reliability”: Its meaning and determination. Psychometrika, 12, 1-16. https://doi.org/10.1007/BF02289289

Eagly, A. H., & Sczesny, S. (Eds.). (2019). Gender roles in the future Theoretical foundations and future research directions. Frontiers Media.

Havighurst, R. J. (1963). Successful aging. Processes of aging: Social and psychological perspectives, 1, 299-320.

Kristin, R. K., Robert S. W., Julia, M. K., Lisa L. B., Julia, L. B., & David, A. B. (2009). Social engagement and cognitive function in old age. Experimental Aging Research, 35(1), 45–60.

Lemon, B. W., Bengtson, V. L., & Peterson, J. A. (1972). An exploration of the activity theory of aging: Activity types and life satisfaction among in-movers to a retirement community. Journal of Gerontology, 27(4), 511-523. https://doi.org/10.1093/geronj/27.4.511

Richard, L., Gauvin, L., Gosselin, C., & Laforest, S. (2009). Staying connected: Neighborhood correlates of social participation among older adults living in an urban environment in Montreal, Quebec Health Promotion International, 24(1), 46-57.

Rubio, E., Lázaro, A., & Sánchez-Sánchez, A. (2009). Social participation and independence in Activities of daily living: A cross-sectional study. BMC Geriatrics, 9(26), 1-11.

Taylor, Cecelia Monat. (1982). Essentials of Phychiatric Nursing. (8th ed.). The C.V. Mosby Company.

United Nations. (1981). Department of International Economic and Social Affairs.Popular participation as a strategy for promoting community level action and nation development: Report of the meeting for the Adhoc group of experts. United Nations.

World Health Organization. (2002). Active ageing: A policy framework. Geneva: WHO.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-06-26