ประสิทธิผลของการใช้รูปแบบการโค้ชในการพยาบาลผู้บาดเจ็บที่มีภาวะช็อกจากการเสียเลือดที่ห้องฉุกเฉิน โรงพยาบาลนครปฐม

ผู้แต่ง

  • สมคิด เริงขำกลั่น พยาบาลวิชาชีพชำนาญการ โรงพยาบาลนครปฐม จังหวัดนครปฐม
  • อรนุช บุญญา พยาบาลวิชาชีพชำนาญการ โรงพยาบาลนครปฐม จังหวัดนครปฐม
  • พรทิพย์ จอกกระจาย อาจารย์ประจำ คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยคริสเตียน

คำสำคัญ:

รูปแบบการโค้ชแบบโกรว์, ผู้บาดเจ็บที่มีภาวะช็อกจากการเสียเลือด, การพยาบาล

บทคัดย่อ

บทคัดย่อ    

วัตถุประสงค์การวิจั: เพื่อศึกษาผลของรูปแบบการโค้ชในการพยาบาลผู้บาดเจ็บที่มีภาวะช็อกจากการเสียเลือด ด้านความรู้ การปฏิบัติการพยาบาล และผลการปฏิบัติการพยาบาลของพยาบาลห้องอุบัติเหตุและฉุกเฉิน โรงพยาบาลนครปฐม จังหวัดนครปฐม

รูปแบบการวิจัย :  วิจัยกึ่งทดลอง  

วิธีดำเนินการวิจัย : กลุ่มตัวอย่างแบ่งเป็นพยาบาลห้องอุบัติเหตุและฉุกเฉินจำนวน  28 คน และเวชระเบียนของผู้บาดเจ็บที่มีภาวะช็อกจากการเสียเลือดที่ห้องฉุกเฉิน โรงพยาบาลนครปฐม จำนวน 30 ราย เก็บข้อมูลด้วยแบบสอบถามและแบบบันทึกก่อนและหลังการใช้รูปแบบการโค้ชในการพยาบาลผู้บาดเจ็บที่มีภาวะช็อกจากการเสียเลือด โดยประยุกต์รูปแบบการโค้ชแบบโกรว์ 4 ขั้นตอน ประกอบด้วย ขั้นตอนที่ 1 การเตรียมการโค้ช ขั้นตอนที่ 2 การวางแผนการโค้ช ขั้นตอนที่ 3 การปฏิบัติการโค้ช และขั้นตอนที่ 4 การประเมินผลการโค้ช วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนาและสถิติทีแบบจับคู่

ผลการวิจัย : พบว่าภายหลังการจัดรูปแบบการโค้ชในการพยาบาลผู้บาดเจ็บที่มีภาวะช็อกจากการเสียเลือด กลุ่มตัวอย่างมีค่าคะแนนเฉลี่ยความรู้ การปฏิบัติการพยาบาล และผลการปฏิบัติการพยาบาล สูงกว่าก่อนการโค้ชอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.001) 

สรุปและข้อเสนอแนะ :  การใช้รูปแบบการโค้ชในการพยาบาลผู้บาดเจ็บที่มีภาวะช็อกจากการเสียเลือด ช่วยให้สมรรถนะพยาบาลเพิ่มขึ้น และความรุนแรงของภาวะช็อกลดลง ควรขยายผลรูปแบบการโค้ชในกลุ่มผู้บาดเจ็บหรือเจ็บป่วยรุนแรงอื่นๆ ที่ทำให้อัตราการเสียชีวิตสูง

References

เกตุแก้ว นิลยาน, สมพันธ์ หิญชีระนันท์,ปราณี มีหาญพงษ์. (2564). ผลการนิเทศน์ตามโมเดลการโค้ชแบบสมาร์ทของหัวหน้าหอผู้ป่วยต่อการปฏิบัติงานของพยาบาลวิชาชีพที่โรงพยาบาลของรัฐระดับทุติยภูมิแห่งหนึ่งในเขตกรุงเทพมหานคร. วารสารโรงพยาบาลเจริญกรุงประชารักษ์, 17(2), 74-88.

ฐิติมา แบ่งสุข, มาลี เอื้ออำนวย, และจุฑามาศ โชติบาง. (2560). ผลของการโค้ชต่อการปฏิบัติของพยาบาลในการจัดท่านอนทารกก่อนกำหนดที่ใส่ท่อหลอดลมคอ. พยาบาลสาร, 44(3), 1-8.

บุญใจ ศรีสถิตย์นรากูร. (2555). การพัฒนาและตรวจสอบคุณภาพเครื่องมือวิจัย: คุณสมบัติการวัดเชิง จิตวิทยา. โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

พนิดา จารย์อุปการะ และมาเรียม นิลพันธุ์. (2558). รูปแบบการพัฒนาวิชาชีพเพื่อเสริมสร้างสมรรถนะการโค้ชของครูหัวหน้ากลุ่มสาระการเรียนรู้. วารสารศิลปากรศึกษาศาสตร์วิจัย, 7(2), 174-190.

เพชรฎา ห้วยเรไร แอชตัน, นิตรา ชาญชัยเดชาชัย, พิชญดา โลลุพิมาน, และสุภาพร หงส์ทอง. (2565). ผลของการพัฒนาโปรแกรมการเรียนรู้แบบโค้ชเพื่อส่งเสริมความสามารถพยาบาลห้องผ่าตัดในการพยาบาลผู้ป่วยผ่าตัดทำทางเบี่ยงหลอดเลือดหัวใจ โรงพยาบาลนครปฐม. วารสารกองการพยาบาล, 49(3), 44-57.

รุ่งอรุณ บุตรศรี. (2562). ผลของการนิเทศตามโมเดลการโค้ชแบบโกรว์ของผู้บริหารการพยาบาลระดับต้น ต่อความสามารถในการปฏิบัติงานของพยาบาลวิชาชีพ. วารสารมหาวิทยาลัยคริสเตียน, 26(2), 84-96.

โรงพยาบาลนครปฐม. (2565). รายงานเวชระเบียนและสถิติงานอุบัติเหตุฉุกเฉินโรงพยาบาลนครปฐม 2565. งานเวชระเบียนและสถิติงานอุบัติเหตุฉุกเฉิน โรงพยาบาลนครปฐม.

Alexander, G. (2010). Behavioral coaching-the GROW model In Passmore, Jonathan. Excellencein coaching: The industry guide (2nd ed.). Kogan.

Abhilash, Kundavaram Paul Prabhakar; Sivanandan, A. (2020). Early Management of Trauma The Golden Hour. Current Medical Issues, 18(1), 36-39. DOI: 10.4103/cmi.cmi_61_19

Butcher, N. E., & Balogh, Z. J. (2014). Update on the definition of polytrauma. European Journal of Trauma and Emergency Surgery, 40(2), 107-111. doi: 10.1007/s00068-014-0391

Flaherty, J. (2010). Coaching: Evoking excellence in others. (3rd ed). Taylor & Francis.

Faul, F., Erdfelder, E., Buchner, A., & Lang, A.-G. (2009). Statistical power analyses using G*Power 3.1: Tests for correlation and regression analyses. Behavior Research Methods, 41, 1149- 1160. https://link.springer.com/article/10.3758/BRM.41.4.1149

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-06-26