การตีตราและการรับรู้การตีตราของนักศึกษาพยาบาลต่อปัญหาสุขภาพจิต: กรณีศึกษาในเขตภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทย

ผู้แต่ง

  • ศราวุธ สงนอก นักศึกษาหลักสูตรพยาบาลศาสตรบัณฑิต วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี นครราชสีมา คณะพยาบาลศาสตร์ สถาบันพระบรมราชชนก
  • นพรัตน์ สมทางดี นักศึกษาหลักสูตรพยาบาลศาสตรบัณฑิต วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี นครราชสีมา คณะพยาบาลศาสตร์ สถาบันพระบรมราชชนก
  • พิมพ์นารา อิสริยเรืองเดช นักศึกษาหลักสูตรพยาบาลศาสตรบัณฑิต วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี นครราชสีมา คณะพยาบาลศาสตร์ สถาบันพระบรมราชชนก
  • รัชดาพร พงษ์พิทักษ์ นักศึกษาหลักสูตรพยาบาลศาสตรบัณฑิต วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี นครราชสีมา คณะพยาบาลศาสตร์ สถาบันพระบรมราชชนก
  • รัญชนา จุลลัษเฐียร นักศึกษาหลักสูตรพยาบาลศาสตรบัณฑิต วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี นครราชสีมา คณะพยาบาลศาสตร์ สถาบันพระบรมราชชนก
  • รัตนาวดี ชัชวาลปรีชา นักศึกษาหลักสูตรพยาบาลศาสตรบัณฑิต วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี นครราชสีมา คณะพยาบาลศาสตร์ สถาบันพระบรมราชชนก
  • วรัญญา ขวัญทอง นักศึกษาหลักสูตรพยาบาลศาสตรบัณฑิต วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี นครราชสีมา คณะพยาบาลศาสตร์ สถาบันพระบรมราชชนก
  • สุชาดา สุนารักษ์ นักศึกษาหลักสูตรพยาบาลศาสตรบัณฑิต วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี นครราชสีมา คณะพยาบาลศาสตร์ สถาบันพระบรมราชชนก
  • สุหทัย โตสังวาลย์ อาจารย์ประจำ คณะพยาบาลศาสตร์ วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี นครราชสีมา สถาบันพระบรมราชชนก

บทคัดย่อ

วัตถุประสงค์การวิจัย: เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยส่วนบุคคลกับการตีตราและการรับรู้การตีตราเกี่ยวกับปัญหาสุขภาพจิตของนักศึกษาพยาบาล

รูปแบบการวิจัย: การวิจัยเชิงพรรณนาแบบหาความสัมพันธ์

วิธีดำเนินการวิจัย: กลุ่มตัวอย่างเป็นนักศึกษาพยาบาล จำนวน 410 คน สุ่มตัวอย่างแบบแบ่งชั้นภูมิ เก็บข้อมูล โดยใช้แบบวัดการตีตราและการรับรู้การตีตราเกี่ยวกับทัศนคติที่มีต่อปัญหาสุขภาพจิต วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา สถิติการวิเคราะห์ความแปรปรวน สถิติทดสอบค่าที สถิติสหสัมพันธ์พอยท์ไบซีเรียล และสถิติสหสัมพันธ์ของเพียร์สัน

ผลการวิจัย: นักศึกษาพยาบาล มีระดับการตีตราและการรับรู้การตีตราต่อปัญหาสุขภาพจิตอยู่ในระดับปานกลาง (M=9.89, S.D.=2.34) ไม่มีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติของคะแนนการตีตราและการรับรู้การตีตราระหว่าง นักศึกษาพยาบาลในแต่ละชั้นปี (F=.48, p=.690) ปัจจัยส่วนบุคคล เช่น เพศ (rpb= -.171, p=.01) และการเจ็บป่วยด้วยโรคทางจิตเวชในปัจจุบัน (rpb=.113, p=.022) มีความสัมพันธ์กับการตีตราและการรับรู้การตีตราต่อปัญหาสุขภาพจิตโดยภาพรวม

สรุปและข้อเสนอแนะ: สถาบันการศึกษาพยาบาลควรเพิ่มหัวข้อเกี่ยวกับสุขภาพจิตในหลักสูตรพยาบาลทุกระดับชั้น เพื่อเพิ่มความตระหนัก และลดการตีตราและการรับรู้การตีตราเกี่ยวกับปัญหาสุขภาพจิตของนักศึกษาพยาบาล

References

กรมสุขภาพจิต. (2565). เช็ค 9 สัญญาณ "ซึมเศร้า" แค่ไหน ถึงเป็น "โรคซึมเศร้า". https://dmh.go.th/news-dmh/view.asp?id=31458

ฉวีวรรณ สัตยธรรม, แผ จันทร์สุข, และศุกร์ใจ เจริญสุข. (2557). การพยาบาลจิตเวชและสุขภาพจิต (ฉบับปรับปรุง) เล่มที่ 1 (พิมพ์ครั้งที่ 2). นนทบุรี: โครงการสวัสดิการวิชาการ สถาบันพระบรมราชชนก.

ชูศรี เกิดพงษ์บุญโชติ, เบญจพร ปัญญายง, และชูชาติ วงศ์อนุชิต. (2558). การรับรู้ตราบาปของผู้ป่วยจิตเวช. วารสารสุขภาพจิตแห่ง ประเทศไทย, 23(1), 25-37.

ฐิตาภา ทินราช. (2557). พื้นที่สร้างสรรค์เชิงสัญลักษณ์ของกลุ่มคนไร้บ้าน. http://www.thapra.lib.su.ac.th/thesis/showthesis_th.asp?id=0000010566

ปนิดา พุ่มพุทธ, และขวัญตา ภูริวิทยาธีระ. (2564). บทบาทพยาบาลในการส่งเสริมความสามารถในการดูแลผู้ป่วยโรคจิตเภทเพื่อลดการรับรู้ตราบาป. วารสารสาธารณสุขและวิทยาศาสตร์สุขภาพ, 4(3), 215-224.

รัฐกานต์ ขำเขียว, ศนิกานต์ ศรีมณี, และศิรินา สันทัดงาม. (2566). ปัจจัยทำนายพฤติกรรมจัดการสุขภาพแบบมีส่วนร่วมในชุมชนริมคลองภาษีเจริญ กรุงเทพมหานคร. วารสารสุขภาพกับการจัดการสุขภาพ, 9(2), 204-216.

วรัฐกานต์ อัศวพรวิพุธ. (2559). มาตรฐานการพยาบาล: กระบวนการพยาบาล และจริยธรรมวิชาชีพ. https://phad.ph.mahidol.ac.th/journal_law/2-3/14-Waratthakarn.pdf

สมาภรณ์ เทียนขาว และเกศกาญจน์ ทันประภัสสร. (2561). การรับรู้ต่อการจัดการเรียนการสอนแบบเน้นสภาพจริง วิชาการพยาบาลบุคคลที่มีปัญหาทางจิตของนักศึกษาพยาบาล. วารสารพยาบาลสงขลานครินทร์, 38(3), 127-140.

สุหทัย โตสังวาลย์. (2566). คุณสมบัติทางจิตมิติของแบบวัดการตีตราและการรับรู้การตีตราเกี่ยวกับทัศนคติที่มีต่อปัญหาสุขภาพจิต [ไม่ได้ตีพิมพ์].

เอื้ออนุช ถนอมวงษ์. (2565). อิทธิพลของการรับรู้ตราบาปและความรอบรู้ทางสุขภาพจิตที่มีต่อเจตคติต่อการแสวงหาความช่วยเหลือจากนักวิชาชีพทางด้านจิตวิทยา. วารสารจิตวิทยาคลินิกไทย, 53(2), 64-76.

Adeosun, I. I. (2013). Correlates of caregiver burden among family members of patients with Schizophrenia in Lagos, Nigeria. Schizophrenia Research and Treatment, 2013(8), https://doi.org/10.1155/2013/353809

Al-Maqbali, R., Al-Hinaai, F. L., Al-Farsi, H. A., Al-Amari, M. A., & Al-Shibli, M. S. (2023). Stigmatizing attitude of Nursing students towards patients with Mental Illness. Asian Journal of Nursing Education and Research, 13(4), 241-248.

Corrigan, P. W. & Rao, D. (2012). On the self- stigma of mental illness: Stages, disclosure, and strategies for change. Canadian Journal of Psychiatry, 57(8), 464-469.

Gray, N. S., Docksey, A, & Snowden, R., J. (2022). SASS stigma and self-stigma questionnaire. Health Psychology Research, 10(3), 1-14.

Latalova, K., Kamaradova, D., & Prasko, J. (2014). Perspectives on perceived stigma and self-stigma in adult male patients with depression. Neuropsychiatric disease and treatment, 29(10), 1399-1405. https://doi.org/10.2147/NDT.S54081

Lin, C. L. E. (2023). Incorporating anti-stigma training into psychiatric mental health nursing education. Journal of Nursing, 70(1), 29-34. doi: 10.6224/JN.202302_70(1).06

Morrison, R. (2011). Nursing Students’ Attitudes toward people with mental illness: Do they change after instruction and clinical exposure? Outstanding Honors Theses. 77. https://digitalcommons.usf.edu/honors_et/77

Ntshingila, N., Temane, A., Poggenpoel, M., & Makhale, M. E. (2024). Psychiatric nurses advocating for the human rights of mental health care users in Gauteng. South African Journal of Psychiatry, 30(1), 1-8.

Roach, A., & Tadesse, R. (2023). “It Is OK Not to Be OK”: Nursing Students’ Backgrounds and Perceptions of Mental Health Stigma and Implications for Mental Health Nursing Education. Issues in mental health nursing, 44(10), 1050-1058.

https://doi.org/10.1080/01612840.2023.2265470

Rodríguez-Almagro, J., Hernández-Martínez, A., Rodríguez-Almagro, D., Quiros-García, J. M., Solano-Ruiz, M. D. C., & Gómez-Salgado, J. (2019). Level of stigma among Spanish nursing students toward mental illness and associated factors: A mixed-methods study. International Journal of Environmental Research and Public Health, 16(23), 4870.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-11-26