การพัฒนารูปแบบบริการพยาบาลผู้ป่วยมะเร็งลำไส้ใหญ่และทวารหนักระยะหลังผ่าตัด ที่ได้รับการรักษาด้วยยาเคมีบำบัด
คำสำคัญ:
รูปแบบบริการพยาบาล, มะเร็งลำไส้ใหญ่และทวารหนัก, ยาเคมีบำบัดบทคัดย่อ
วัตถุประสงค์การวิจัย: เพื่อพัฒนารูปแบบบริการพยาบาลผู้ป่วยมะเร็งลำไส้ใหญ่และทวารหนักระยะหลังผ่าตัดที่ได้รับการรักษาด้วยยาเคมีบำบัด และประเมินประสิทธิผลของรูปแบบบริการพยาบาลฯ
รูปแบบการวิจัย: การวิจัยและพัฒนา (Research and Development)
การดำเนินการวิจัยมี 3 ระยะ คือ ระยะศึกษาสถานการณ์ คุณภาพการดูแลผู้ป่วย ระยะพัฒนารูปแบบฯ และระยะศึกษาประสิทธิผลการใช้รูปแบบฯ
ผลการวิจัย: 1. รูปแบบบริการฯ ประกอบด้วย 1) เป้าหมาย (Goal) 2) ความรู้ (Knowledge) ทัศนคติ (Attitude) การปฏิบัติหรือทักษะการพยาบาล (Practice, Skills) 3) แนวปฏิบัติการพยาบาล (CNPG) 4) พยาบาลผู้จัดการรายกรณี และ 5) การติดตามประเมินผล (Monitoring & Evaluation) ผลลัพธ์ด้านผู้ใช้บริการ 2. คะแนนความสามารถในการดูแลตนเองของผู้ป่วยในกลุ่มหลังใช้รูปแบบฯสูงกว่ากลุ่มก่อนการใช้รูปแบบบริการฯ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .001 คะแนนของความรู้และคะแนนทัศนคติของผู้ให้บริการ หลังใช้รูปแบบฯสูงกว่าก่อนการใช้รูปแบบฯอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .001 ส่วนคะแนนทักษะในการปฏิบัติการพยาบาลของผู้ให้บริการ หลังใช้รูปแบบบริการฯสูงกว่าก่อนการใช้รูปแบบฯ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
สรุปและข้อเสนอแนะ: รูปแบบบริการพยาบาลฯที่พัฒนาขึ้นเกิดผลลัพธ์ที่ดีทั้งด้านผู้ให้บริการและผู้ใช้บริการ พยาบาลวิชาชีพใหม่ในหน่วยเคมีบำบัดควรได้รับการอบรมเกี่ยวกับรูปแบบบริการพยาบาลฯ และควรมีการศึกษาติดตามผลลัพธ์ระยะยาวอย่างต่อเนื่อง
References
กองยุทธศาสตร์และแผนงานสำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข. (2566). สถิติสาธารณสุข 2565. สืบค้นเมื่อ 20 มกราคม 2567 จาก https://spd.moph.go.th/wpcontent/uploads/2023/11/Hstatistic65.pdf
ข้อมูลสถิติโรงพยาบาลสมุทรสาคร. (2566). ข้อมูลสถิติโรคมะเร็งโรงพยาบาลสมุทรสาคร. พ.ศ. 2564, 2565, 2566. โรงพยาบาลสมุทรสาคร.
จันจิรา กิจแก้ว และวรารัตน์ ศรีสุข. (2563). ประสิทธิผลของโปรแกรมการเรียนรู้ด้านการดูแลผู้ป่วยมะเร็งที่ได้รับเคมีบำบัดของพยาบาลวิชาชีพ. APHEIT Journal of Nursing and Health, 2(2), 27-40.
นิศากร ปากเมย, สุนทรีย์ ศิริพรอดุลย์ศิลป์ และพจนา ไกรศร. (2562). การพัฒนารูปแบบการพยาบาลผู้ป่วยมะเร็งลำไส้ที่มารับการรักษาด้วยสูตร FOLFOX4 โรงพยาบาลบุรีรัมย์. วารสารการแพทย์ศรีสะเกษ สุรินทร์ บุรีรัมย์, 34(2), 239-256.
ยุวลี ฉายวงศ์. (2563). ความรู้ ทัศนคติ และการปฏิบัติเกี่ยวกับการป้องกันการติดเชื้อในผู้ป่วยมะเร็งของพยาบาลวิชาชีพ หอผู้ป่วยใน โรงพยาบาลมะเร็งอุดรธานี. วารสารกรมการแพทย์, 45(1), 130-136.
สมพร บรรลุพันธุนาถ, กิจจา อ่วมแก้ว, และสืบตระกูล ตันตลานุกุล. (2563) การพัฒนารูปแบบบริการพยาบาลผู้ป่วยมะเร็งลำไส้ที่ได้รับยาเคมีบำบัดในโรงพยาบาลพื้นที่จังหวัดสุโขทัย. วารสารวิจัยและพัฒนาระบบสุขภาพ, 13(2), 123-134.
American Cancer Society. (2024). Chemotherapy for colorectal cancer. Revised: February 22, 2024. Retrieved from https://www.cancer.org/cancer/types/colon-rectal-cancer/treating/chemotherapy.html
Bloom, B. S. (1964). Taxonomy of education objective: The classification of educational goals: Handbook II: Affective domain. David Mckay.
Cordon, C.P. (2013). System Theories: An Overview of Various System Theories and Its Application in Healthcare. American Journal of Systems Science, 2(1), 13-22.
Jeon, H. J., Woo, J. H., Lee, H. Y., Park, K. J., & Choi, H. J. (2011). Adjuvant chemotherapy using the FOLFOX regimen in colon cancer. J Korean Soc Coloproctol, 27(issue), 140-146.
Neuss, M. N., Gilmore, T. R., Belderson, K. M., Billett, A. L., Conti-Kalchik, T., Harvey, B. E., Hendricks, C., LeFebvre, K. B., Mangu, P. B., McNiff, K., Olsen, M., Schulmeiste, L., Gehr, A. V., & Polovich, M. (2016). Updated American society of clinical oncology/oncology nursing Society chemotherapy administration safety standards, including standards for pediatric oncology. J Oncol Pract, 12(12), 1262-71.
National Cancer Institute. Hospital-level cancer registry 2020. Bangkok: Agency for Medical Records and Cancer Database Digital Medicine Working Group National Cancer Institute; 2021. (in Thai)
World Health Organization. (2022). Colorectal cancer. [cited 2023 September 16]. Available from: https://www.who.int/news-room/fact-sheets/detail/colorectal-cancer