ประสิทธิผลของโปรแกรมการพยาบาลด้วยนวัตกรรม “วงล้อเสริมแรง” ต่อองศาการเคลื่อนไหวข้อไหล่ อาการปวดไหล่ และความพึงพอใจของกลุ่มเสี่ยงภาวะข้อไหล่ติด

ผู้แต่ง

  • ฐิติมา หมอทรัพย์ อาจารย์ประจำ คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยคริสเตียน
  • วิชุดา กลิ่นหอม อาจารย์ประจำ คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยคริสเตียน

คำสำคัญ:

วงล้อเสริมแรง, นวัตกรรม, องศาการเคลื่อนไหว, อาการปวดไหล่, ภาวะข้อไหล่ติด

บทคัดย่อ

วัตถุประสงค์การวิจัย : เพื่อ 1) เปรียบเทียบองศาการเคลื่อนไหวของข้อไหล่ และอาการปวดไหล่ของกลุ่มเสี่ยงภาวะข้อไหล่ติดระหว่างก่อนและหลังเข้าร่วมโปรแกรมการพยาบาลด้วยนวัตกรรม “วงล้อเสริมแรง” และ 2) ศึกษาความพึงพอใจต่อการเข้าร่วมโปรแกรมการพยาบาลด้วยนวัตกรรมฯ ของกลุ่มเสี่ยงภาวะข้อไหล่ติด 

รูปแบบการวิจัย : การวิจัยกึ่งทดลอง แบบกลุ่มเดียววัดก่อนและหลังการทดลอง

วิธีดำเนินการวิจัย : กลุ่มตัวอย่างเป็นกลุ่มเสี่ยงภาวะข้อไหล่ติดในชุมชนจังหวัดราชบุรี คัดเลือกแบบเจาะจง จำนวน 30 ราย เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย 1) เครื่องมือที่ใช้ในการทดลอง ได้แก่ โปรแกรมการพยาบาลด้วยนวัตกรรม “วงล้อเสริมแรง” และคู่มือการใช้นวัตกรรมฯ 2) เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่  แบบบันทึกข้อมูลส่วนบุคคล  ดิจิทัลโกนิโอมิเตอร์   แบบประเมินองศาการเคลื่อนไหวของ ข้อไหล่  แบบประเมินอาการปวด และแบบประเมินความพึงพอใจ มีค่าดัชนีความตรงเชิงเนื้อหาของแบบประเมินองศาการเคลื่อนไหวของข้อไหล่ และอาการปวดไหล่ เท่ากับ 0.74 และ 0.76 ตรวจสอบความเชื่อมั่นของแบบประเมินองศาการเคลื่อนไหวของข้อไหล่และอาการปวดไหล่ เท่ากับ 0.85 และ 0.90 วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา และการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียวแบบวัดซ้ำ

ผลการวิจัย : พบว่า ภายหลังทดลองกลุ่มตัวอย่างมีองศาการเคลื่อนไหวของข้อไหล่เพิ่มขึ้นในทุกทิศทางและอาการปวดไหล่ลดลงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<.05) มีความพึงพอใจต่อโปรแกรมการพยาบาลด้วยนวัตกรรมฯ อยู่ในระดับมาก (ร้อยละ 66.70) และกลุ่มตัวอย่างให้ข้อเสนอแนะว่า ควรเพิ่มระยะเวลาในการใช้นวัตกรรมฯ ให้นานขึ้น

สรุปและข้อเสนอแนะ : นวัตกรรม “วงล้อเสริมแรง” จัดเป็นอุปกรณ์ที่สามารถใช้บริหารข้อไหล่ในกลุ่มเสี่ยงภาวะข้อไหล่ติด และช่วยลดอาการปวดไหล่ได้

References

กนกพร ก่อวัฒนมงคล. (2562). การศึกษาความชุกและปัจจัยที่เกี่ยวข้องของโรคข้อไหล่ติดในผู้ป่วยศูนย์เวชปฏิบัติครอบครัว โรงพยาบาลพระนครศรีอยุธยา. วารสารสมาคมเวชศาสตร์ป้องกันแห่งประเทศไทย, 9(1), 59-72.

จันทิรา หงส์รพิพัฒน์. (2562). ปัจจัยที่มีผลต่อระยะเวลาการฟื้นฟูผู้ป่วยโรคข้อไหล่ติด. วารสารการแพทย์ โรงพยาบาลศรีสะเกษ สุรินทร์ บุรีรัมย์, 34(1), 101-112.

ณัชกานต์ อินต๊ะรินทร์ และสาโรจน์ ประพรมมา. (2561). ประสิทธิผลการรักษาทางกายภาพบำบัดร่วมกับการออกกำลังกาย โดยใช้ Shoulder Wheel ในผู้ป่วยที่มีภาวะไหล่ติด. วารสาร วิทยาศาสตร์สุขภาพและการสาธารณสุขชุมชน, 1(2), 2-14.

ณัฏฐิยา ตันติศิริวัฒน์. (2560). อาการปวดและความผิดปกติของข้อไหล่ที่พบบ่อยในเวชศาสตร์ฟื้นฟู. จุฬาลงกรณ์เวชสาร, 61(2), 205-221.

ณัฐนันท์ อุสายพันธ์ และโสภิดา สัณฐมิตร. (2560). ผลของความร้อนลึกและความร้อนตื้นร่วมกับการ รักษาโดยวิธีดัด ดึง ข้อต่อต่อองศาการเคลื่อนไหวและระดับอาการปวดในผู้ป่วยโรคข้อไหล่ติด. วารสารวิชาการแพทย์เขต 11, 31(2), 305-315.

ปิยภรณ์ รุ่งโสภาสกุล, เจริญ กระบวนรัตน์ และราตรี เรืองไทย. (2557). การเปรียบเทียบผลการฝึกด้วยยางยืดเพื่อเพิ่มความแข็งแรงและความอดทนที่มีต่อช่วงการเคลื่อนไหวข้อไหล่ ในผู้ป่วยหญิงที่มีภาวะข้อไหล่ติดแข็ง. วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการกีฬา, 14(2), 129-141.

รัญชิดา ภิมาล. (2562). กายภาพบำบัดในภาวะข้อไหล่ติด. Chulalongkorn Medical Bulletin, 1(4), 425-438.

สถาบันมะเร็งแห่งชาติ. (2557). คู่มือการใช้เครื่องมือวัดข้อไหล่ด้วยตนเอง. กรุงเทพมหานคร: สถาบันมะเร็ง.

สายใจ นกหนู, มณีภรย์ บกสวัสดิ์ และมุคลิส อาม๊ะ. (2561). ผลของโปรแกรมการออกกำลังกายต่ออาการปวดและองศาการเคลื่อนไหวในผู้ป่วยที่มีภาวะข้อไหล่ยึดติด. วารสารมหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์, 10(1), 88-98.

Athwal, G.S. & Wider, B. (2021). Frozen shoulder. AAOS: OrthoInfo, Retrieved from https://orthoinfo.aaos.org/globalassets/pdfs/frozen-shoulder.pdf

Barua, S. K., & Chowdhury, M. Z. A. (2014). Phonophoresis in Adhesive Capsulitis (Frozen Shoulder). Chattagram Maa-O-Shishu Hospital Medical College Journal, 13(1), 60-64.

Cadogan, A., & Mohammed, K. D. (2016). Shoulder pain in primary care: frozen shoulder. Journal of Primary Health Care, 8(1), 44–51.

Chan, H., Pua, P. Y., & How, C. H. (2017). Physical therapy in the management of frozen shoulder. Singapore Medical Journal, 58(12), 685–689.

Chang, C. M., Chang, Y. C., Chang, H. Y., & Chou, L. W. (2012). An interactive game-based shoulder wheel system for rehabilitation. Patient Preference and Adherence, 6, 821–828.

Contractor, E. S., Agnihotri, D. S., Patel, M. (2016). Effect of Spencer Muscle Energy Technique on pain and functional disability in cases of adhesive capsulitis of shoulder joint. IAIM, 3(8), 126-131.

Cohen, J. (1998). Statistical Power Analysis for the Behavioral Science. (2nd ed.), New Jersey: Lawrence Erlbaum Associates.

Eid A. (2012). Miniopen coracohumeral ligament release and manipulation for idiopathic frozen shoulder. International Journal of Shoulder Surgery, 6(3), 90-96.

Garra, G., Singer, A. J., Domingo, A., & Thode, H. C. (2013). The Wong-Baker pain FACES scale measures pain, not fear. Pediatric Emergency Care, 29(1), 17-20.

Gupta, K. K., Attri, J. P., Singh, A., Kaur, H., & Kaur, G. (2016). Basic concepts for sample size calculation: Critical step for any clinical trials!. Saudi Journal of Anaesthesia, 10(3), 328-331.

Jaccard, J. & Becker, M.A. (1990). Statistics for the Behavioral Sciences: Study Guide. (2nd ed.), University of Virginia: Wadsworth Publishing Company.

Jain, T. K., & Sharma, N. K. (2014). The effectiveness of physiotherapeutic interventions in treatment of frozen shoulder/adhesive capsulitis: a systematic review. Journal of Back and Musculoskeletal Rehabilitation, 27(3), 247-273.

Kaya N, Turan N, & Aydın G.Ö. (2016) Innovation in Nursing: A Concept Analysis. J Comm Pub Health Nursing, 2, 1-4.

Killian, M. L., Cavinatto, L., Galatz, L. M., & Thomopoulos, S. (2012). Recent advances in shoulder research. Arthritis Research & Therapy, 14(3), 1-10.

Lewis J. (2015). Frozen shoulder contracture syndrome-Aetiology, Diagnosis and Management. Manual Therapy, 20(1), 2-9.

Melnyk, B. M., Fineout-Overholt, E., Gallagher-Ford, L., & Kaplan, L. (2012). The state of evidence based practice in US nurses: Critical implications for nurse leaders and educators. Journal of Nursing Administration, 42(9), 410-417.

Morrison, W. (2020). Understanding the Normal Shoulder Range of Motion. Retrieved from: https://www.healthline.com/health/shoulder-range-of-motion#What-is-normal-shoulder-range-of-motion?

Punia, S. & Sushma (2015). Effect of Physiotherapy Treatment on Frozen Shoulder: a Case Study. IJPOT, 9(1), 136-140.

Ramirez J. (2019). Adhesive Capsulitis: Diagnosis and Management. American Family Physician, 99(5), 297-300.

Van, de L. S., & Van, der Z. P. (2014). Management of the frozen shoulder. Orthop Res Rev, 6, 81-90.

Whelton, C., & Peach, C. A. (2018). Review of diabetic frozen shoulder. European Journal of Orthopedic Surgery & Traumatology: Orthopedic Traumatologie, 28(3), 363-371.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-11-17