ความเครียด และวิธีเผชิญความเครียดของพยาบาลที่ได้รับการฝึกอบรมการช่วยชีวิตเบื้องต้น ในสถานการณ์ที่เกิดการระบาดของโรคโควิด19: กรณีศึกษาโรงพยาบาลตำรวจ
คำสำคัญ:
ความเครียด, วิธีเผชิญความเครียด, พยาบาล, การฝึกอบรมการช่วยชีวิตเบื้องต้น, โควิด19บทคัดย่อ
วัตถุประสงค์การวิจัย: เพื่อ 1) ศึกษาความเครียด และวิธีเผชิญความเครียดของพยาบาลโรงพยาบาลตำรวจที่ได้รับการฝึกอบรมการช่วยชีวิตเบื้องต้น ในสถานการณ์ที่เกิดการระบาดของโรคโควิด19 2) เปรียบเทียบวิธีการเผชิญความเครีดของพยาบาลโรงพยาบาลตำรวจ จำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล และ 3) ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างระดับความเครียดกับวิธีเผชิญความเครียดของพยาบาลโรงพยาบาลตำรวจ
รูปแบบการวิจัย: การวิจัยเชิงพรรณนา
วิธีดำเนินการวิจัย: กลุ่มตัวอย่าง คือ พยาบาลที่ปฏิบัติงานในโรงพยาบาลตำรวจที่ได้รับการฝึกอบรมการช่วยชีวิตเบื้องต้นและดูแลผู้ป่วยโควิด19 จำนวน 134 คนคัดเลือกแบบเฉพาะเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูลคือแบบสอบถามความเครียดและวิธีเผชิญความเครียดมีค่าดัชนีความตรงเชิงเนื้อหาเท่ากับ 1.00 ทั้งสองชุดและค่าสัมประสิทธิ์ความเชื่อมั่นของครอนบาคเท่ากับ 0.96 และ 0.88 ตามลำดับวิเคราะห์ข้อมูลโดยการแจกแจงความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าสหสัมพันธ์แบบเพียรสัน
ผลการวิจัย : กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่มีความเครียดอยู่ในระดับสูง วิธีเผชิญความเครียดอยู่ในระดับสูง โดยใช้วิธีเผชิญความเครียดแบบมุ่งแก้ปัญหามากที่สุด ปัจจัยส่วนบุคคลได้แก่ เพศ สถานภาพ รายได้ต่อเดือน และที่พักอาศัย ของกลุ่มตัวอย่างที่แตกต่างกัน มีวิธีเผชิญความเครียดไม่แตกต่างกัน แต่พบว่า ระดับความเครียดมีความสัมพันธ์ทางบวกในระดับต่ำกับวิธีเผชิญความเครียดของพยาบาล และระดับความเครียดมีความสัมพันธ์ทางบวกในระดับต่ำกับวิธีเผชิญความเครียดแบบได้ประโยชน์น้อย อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
สรุปและข้อเสนอแนะ : กลุ่มงานการพยาบาล ควรจัดตั้งกลุ่มงานเฉพาะกิจในการส่งเสริมและติดตามการเผชิญความเครียดของพยาบาลในช่วงระบาดของโควิด 19
References
กนกอร เปรมเดชา. (2559). ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยสภาพการทำงาน การจัดการความเครียดและระดับความเครียดของพนักงานมหาวิทยาลัย (การค้นคว้าอิสระปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี, ปทุมธานี.
กรมสุขภาพจิต. (2563). ผ่า 4 กลุ่มความเครียดที่กระทบสุขภาพ เครียดแบบเราจัดอยู่กลุ่มไหน?. สืบค้นจาก https://www.dmh.go.th/news-dmh/view.asp?id=30321
กรมสุขภาพจิต. (2564). ภาวะสุขภาพจิตของบุคลากรสาธารณสุข. นนทบุรี: กลุ่มระบาดวิทยาสุขภาพจิต สำนักวิชาการสุขภาพจิต.
จันทรา อุ้ยเอ้ง และวรรณกร พลพิชัย. (2561). การศึกษาความเครียดและวิธีเผชิญความเครียดของนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนปลายในอำเภอเมือง จังหวัดตรัง (รายงานผลการวิจัย). สงขลา: มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย.
จารุชา บรรเจิดถาวร และภุชงค์ เหล่ารุจิสวัสดิ์. (2562).ความเครียดและปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับความเครียดของนิสิตปริญญาตรีที่ได้รับทุนการศึกษาในคณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. จุฬาลงกรณ์เวชสาร, 1(2), 191-203.
ชิดชนก นาชัยเวช. (2554). ความสัมพันธ์ระหว่างความเครียดและผลที่ตามมาของความเครียดของพนักงานสายทรัพยากรบุคคล บริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน) (การค้นคว้าอิสระปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี, ปทุมธานี.
ชุติมา พระโพธิ์. (2558). ความสัมพันธ์ระหว่างความเครียด การจัดการความเครียดและคุณภาพชีวิตการทำงานของข้าราชการครูในจังหวัดสระบุรี (การค้นคว้าอิสระปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี, ปทุมธานี.
พนิดา สังฆพันธ์. (2556). ความเครียดและปัญหาสุขภาพจิตของนักศึกษาสัตวแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น. วารสารสัตวแพทยศาสตร์ มข., 3(2), 1-14.
มณฑา ลิ้มทองกุล. (2562). สาเหตุความเครียด วิธีเผชิญความเครียด และผลที่เกิดขึ้นในนักศึกษาพยาบาล. รามาธิบดีพยาบาลสาร, 2(15), 192-205.
วัชรีย์ แสงมณี, น้ำทิพย์ แก้ววิชิต, สุธิสา เต็มทับ, และเจรจา กลูเกื้อ. (2565). ความเครียดและการเผชิญความเครียดจากการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัส COVID-19ของบุคลากรทางการพยาบาล ฝ่ายบริการพยาบาล โรงพยาบาลสงขลานครินทร์. วารสารมหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์, 14(1), 17-32.
สิมาพร พรมสาร, ปิยะณัฐ พรมสาร, และกนกวรรณ รัตนแสงเลิศ. (2564). ความเครียดและภาวะหมดไฟในการทำงานของบุคลากรทางการแพทย์โรงพยาบาลศิริราชระหว่างการรักษาพยาบาลผู้ป่วยโรคติดเชื้อไวรัส โคโรนา 2019. เวชสารแพทย์ทหารบก, 74(3), 197-204.
สุพรรณี พุ่มแฟง. (2556). การพัฒนาแบบประเมินความเครียดในงานของพยาบาลวิชาชีพ โรงพยาบาลตติยภูมิ (วิทยานิพนธ์ปริญญาพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต). จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, กรุงเทพมหานคร.
อังศินันท์ อินทรกำแหง. (2551). การสังเคราะห์งานวิจัยที่เกี่ยวกับความเครียดและการเผชิญความเครียดของคนไทย (รายงานผลการวิจัย). กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
เอกลักษณ์ แสงศิริรักษ์ และสิรินรัตน์ แสงศิริรักษ์. (2563). ความเครียดและอารมณ์เศร้าของบุคลากรทางการแพทย์ ในช่วงการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019. วารสารสมาคมจิตแพทย์แห่งประเทศไทย, 65(4), 400-408.
Best, J.W. (1993). Research in Education. Boston, M.A.: Allyn and Bacon.
Cai, H., Tu, B., Ma, J., Chen, L., Fu, L., Jiang, Zhuang, Q. (2020). Psychological impact and coping strategies of frontline medical staff in Hunan between January and March 2020 during the outbreak of coronavirus disease 2019 (COVID-19) in Hubei, China.Retrieved from https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC7177038/pdf/medscimonit-26-e924171.pdf
Fahad, N., Abdul, S., Abdul, R., Qaiser, I., Sajjad, H., Fahad, S., & Mohammad, B. (2021). Depression, anxiety, and stress among nurses during the COVID-19 wave III: results of a cross-sectional assessment. Journal of Multidisciplinary Healthcare, 2021(14), 3093-3101.
Hanadi, Y. H., Nazik, M. A., Zakari, Ebtesam, J., Faisal, N. N., Jamel, A. S. S., & Hedi, H. B. (2021). Stress and coping strategies among nursing students in clinical practice during COVID-19. Nursing reports, 11(3), 629-639.
Hinkle, D.E. (1998). Applied Statistics for the Behavioral Sciences. Boston: Houghton ifflin.
Kampf, G., Todt, D., Pfaender, S., & Steinmann, E. (2020). Persistence of coronaviruses on inanimate surfaces and their inactivation with biocide agents. Journal of Hospital Infection, 104(3), 246-251.
Lazarus, R.S. & Folkman, S, (1984). Stress, appraisal and coping. New York: Springer Publishing Co.
Nadeem, F., Sadiq, A., Raziq, A., Iqbal, Q., Haider, S., Saleem, F. & Bashaar, M. (2021). Depression, anxiety, and stress among nurses during the COVID-19 wave III: Results of a cross-sectional assessment. Journal of multidisciplinary healthcare. 14, 3093-3101.
Parker, D. F., & DeCotiis, T. A. (1983). Organizational determinants of job stress. organizational behavior &human performance, 32(2), 160-177.
Shaimaa, A. A., Samar, A.S.,& Ehab, K. E.(2021). Exploring the psychological stress, anxiety factors, and coping mechanisms of critical care unit nurses during the COVID-19 outbreak in Saudi Arabia. Frontier in Publish Health, 2021(9), 1-11.
Yamane, T. (1973). Statistics: An Introductory Analysis. (3rd ed). New York: Harper and row publications.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2022 วารสารพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยคริสเตียน
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.