การอ่านฉลากโภชนาการ : ความสำคัญที่ควรเริ่มต้นในเด็ก
คำสำคัญ:
ฉลากโภชนาการ, เด็กวัยเรียนตอนปลาย, ขนมกรุบกรอบบทคัดย่อ
เด็กวัยเรียนตอนปลายมีการบริโภคอาหารว่างประเภท ขนมกรุบกรอบ ขบเคี้ยวซึ่งไม่มีสารอาหารที่จำเป็นในปริมาณที่เพิ่มขึ้นและมีความรู้ด้านสุขภาพในเด็กวัยเรียนตอนปลายอยู่ในระดับพอใช้ ซึ่งอาจมีผลกระทบต่อการดูแลสุขภาพได้อย่างมีประสิทธิภาพ ด้วยเหตุนี้ ฉลากโภชนาการเป็นข้อมูลหนึ่งที่อาจช่วยให้เด็กวัยเรียนตอนปลายสามารถเลือกรับประทานผลิตภัณฑ์อาหารและเครื่องดื่มได้เหมาะสมและหลี่กเลี่ยงอาหารที่ส่งผลเสียต่อสุขภาพได้ ดังนั้นการให้ความรู้ในการอ่านฉลากโภชนาการและการพิจารณาสัญลักษณ์โภชนาการ “ทางเลือกสุขภาพ” บนฉลากอาหาร นั้นมีความสำคัญอย่างยิ่งในการปลูกฝังให้กับเด็กในวัยเรียนตอนปลาย โดยบิดามารดา ผู้ปกครอง ซึ่งเป็นผู้มีบทบาทสำคัญต่อการกำหนดพฤติกรรมการบริโภค รวมทั้งบุคลากรด้านสุขภาพและโรงเรียนควรมีบทบาทสำคัญในการส่งเสริมความรู้ความเข้าใจเรื่องโภชนาการให้กับเด็กวัยเรียนโดยการจัดกิจกรรมเพื่อส่งเสริม สอดแทรกหรือบูรณาการในการจัดการเรียนการสอนโดยใช้สื่อการสอนเรื่องการอ่านฉลากโภชนาการเพื่อให้เด็กได้มีความรู้ในการเลือกบริโภคอาหารได้อย่างถูกต้อง โดยไม่ให้เกิดผลกระทบต่อสุขภาพร่างกาย อารมณ์ และสังคม ดังนั้นเด็กจะเจริญเติบโตเป็นอนาคตที่ดีของประเทศชาติต่อไป
References
กองสุขศึกษา กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ กระทรวงสาธารณสุข. (2559). การสร้างเสริมและประเมินความรอบรู้ด้านสุขภาพและพฤติกรรมสุขภาพ : กลุ่มเด็กวัยเรียน กลุ่มวัยทำงาน. กรุงเทพมหานคร: นิวธรรมดาการพิมพ์.
ฉัตร์ชัย นกดี. (2560). มาอ่านฉลากโภชนาการกันเถอะ. สืบค้นจาก https://www.thaihealth.or.th./Content/43209
เนสท์เล่ ประเทศไทย. (2564). สอนอ่านฉลากโภชนาการผ่านการเล่น”เกม”. สืบค้นจาก https://www.nestle.co.th/th/nhw/kids/teacher/read/games
บริษัท ห้องปฏิบัติการกลาง (ประเทศไทย) จำกัด. (2564). ฉลากโภชนาการ ประโยชน์ที่ไม่ควรมองข้าม. สืบค้นจาก https://www.centrallabthai.com/ index.php/th/articles/322-134501022564
พิมพาภรณ์ กลั่นกลิ่น. (2555). การสร้างเสริมสุขภาพเด็กทุกช่วงวัย. ขอนแก่น: แผนงานพัฒนาเครือข่ายพยาบาลศาสตร์เพื่อการสร้างเสริมสุขภาพ (พย.สสส.) ระยะที่ 2. สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข. (2554). รายงานการสำรวจการบริโภคอาหารของประชาชนไทยการสำรวจสุขภาพประชาชนไทยโดยการตรวจร่างกาย ครั้งที่ 4 พ.ศ.2551-2552. นนทบุรี: เดอะกราฟิโก ซิสเต็มส์.
สํานักนโยบายและยุทธศาสตร์ กระทรวงสาธารณสุข. (2563). รายงานภาวะโภชนาการงานอนามัยโรงเรียน. สืบค้นจาก https://hdcservice.moph.go.th/hdc/reports/page.php?cat_id=67f8b1657bc8c796274fb9b6ad5a701d
สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ กรมอนามัยกระทรวงสาธารณสุข มหาวิทยาลัยมหิดล และสำนักงานเลขานุการคณะกรรมการอาหารแห่งชาติ. (ม.ป.ป.) Stay at home กินดี มีประโยชน์ ลดหวาน มันเค็ม. สืบค้นจาก https://shorturl.asia/ICaFt.
สำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค. (2557). คุมโฆษณาขนม ป้องกันเด็กอ้วน. สืบค้นจาก htts://www.thaihealth.or.th./node/9755
สำนักโภชนาการ กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข. (2562). แผนปฏิบัติการด้านโภชนาการระดับชาติ 5 ปี พ.ศ. 2562-2566 ภายใต้ยุทธศาสตร์ที่ 3 อาหารศึกษา กรอบยุทธศาสตร์การจัดการด้านอาหารของ ประเทศไทย ฉบับที่ 2 (พ.ศ. 2561-2580). สืบค้นจาก http://www.oic.go.th/FILEWEB/ CABINFOCENTER17/DRAWER002/GENERAL/DATA0002/00002271.PDF
สำนักงานโภชนาการ กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข. (2563). ปริมาณสารอาหารอ้างอิงที่ควรได้รับประจำวันสำหรับคนไทย พ.ศ.2563. กรุงเทพมหานคร: ห้างหุ้นส่วนจำกัด เอ.วี โปรเกรสซีฟ.
สำนักอาหาร สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา กระทรวงสาธารณสุข. (2559). คู่มือรณณรงค์ให้ความรู้เรื่องสัญญลักษณ์โภชนาการ ทางเลือกสุขภาพสำหรับบุคคลทั่วไป. สืบค้นจาก https://db.oryor.com/databank/data/printing/printing/610305.
ออเนสด็อคส์. (2563). วิธีการอ่านฉลากโภชนาการ. สืบค้นจาก https://today.line.me/th/v2/article/2Rk0eB
อัจฉราวดี ศรียะศักดิ์, ฤทัยวรรณ แก้วมาลัย, เนตรนภา เครือสง่า, นิศาชล ตันติภิรมย์, ปริญญาพร ชาวบ้านเกาะ และเบญจรัตน์ เอี่ยมสะอาด. (2563). ความรอบรู้ด้านสุขภาพเรื่องฉลากโภชนาการในเด็กวัยเรียน: กรณีศึกษาจังหวัดเพชรบุรี. วารสารวิชาการสาธารณสุขชุมชน, 6(2), 70-73.
Khongrit Somchai. (2563). การอ่านฉลากอาหาร. สืบค้นจาก https://hellokhunmor.com
World Health Organization. (2021). Obesity and Overweight. Retrieved from https://www.who.int/news-room/fact-sheets/detail/obesity-and-overweight