ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับความพึงพอใจในการปฏิบัติงานของพยาบาลในหน่วยบริการปฐมภูมิ เขตบริการสุขภาพที่ 4
คำสำคัญ:
พยาบาลวิชาชีพ, หน่วยบริการปฐมภูมิ, ความพึงพอใจในการปฏิบัติงานบทคัดย่อ
วัตถุประสงค์การวิจัย: เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยด้านโครงสร้าง ได้แก่ คุณลักษณะของหน่วยบริการ (ขนาดของหน่วยบริการ และการถ่ายโอนอำนาจ) และคุณลักษณะของพยาบาล (อายุ การศึกษาเฉพาะทางการพยาบาลเวชปฏิบัติทั่วไปและผู้ปฏิบัติการพยาบาลขั้นสูง รายได้ ประสบการณ์การทำงานในหน่วยบริการปฐมภูมิ) และปัจจัยด้านกระบวนการ (ภาระงาน) กับความพึงพอใจในการปฏิบัติงานของพยาบาลในหน่วยบริการปฐมภูมิ
รูปแบบการวิจัย: การวิจัยเชิงพรรณาแบบหาความสัมพันธ์
วิธีดำเนินการวิจัย: กลุ่มตัวอย่างคือ พยาบาลที่ปฏิบัติงานในหน่วยบริการปฐมภูมิในพื้นที่เขตบริการสุขภาพที่ 4 จำนวน 158 คน สุ่มตัวอย่างแบบ Multi-stage stratified sampling เก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามข้อมูลทั่วไป โครงสร้างของหน่วยบริการ ลักษณะการปฏิบัติงาน และความพึงพอใจของพยาบาล วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณา สหสัมพันธ์แบบสเปียร์แมน และพอยท์ไบซีเรียล
ผลการวิจัย: กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่ มีความพึงพอใจทั้ง 5 ด้านระดับมาก มีเพียงความพึงพอใจต่อสิ่งสนับสนุนการทำงานและสวัสดิการในระดับปานกลาง คุณลักษณะของหน่วยบริการและคุณลักษณะพยาบาล ไม่มีความสัมพันธ์กับความพึงพอใจในการปฏิบัติงาน แต่ภาระงานมีความสัมพันธ์ทางบวกระดับต่ำกับความพึงพอใจในการปฏิบัติงานอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (rs=.160, p<.05)
สรุปและข้อเสนอแนะ: ผู้บริหารควรจัดสรรสวัสดิการ สิ่งสนับสนุนการทำงาน และจัดสิ่งแวดล้อมในการทำงานที่ปลอดภัย เพื่อให้พยาบาลเกิดความมั่นใจในการทำงานและรู้สึกมั่นคงในชีวิตมากยิ่งขึ้น
References
กระทรวงสาธารณสุข. (2560). แผนยุทธศาสตร์ระบบบริการปฐมภูมิ 4.0 (พ.ศ. 2560 - 2579). นนทบุรี: กระทรวงสาธารณสุข.
กระทรวงสาธารณสุข. (2562). พระราชบัญญัติ ระบบสุขภาพปฐมภูมิ พ.ศ. 2562. นนทบุรี: กระทรวงสาธารณสุข.
กระทรวงสาธารณสุข. (2562). ระบบข้อมูลทรัพยากรสุขภาพหน่วยบริการปฐมภูมิ. กระทรวงสาธารณสุข. สืบค้นจาก http://gishealth.moph.go.th/pcu/admin/report.php
กองการพยาบาล สำนักงานปลัดกระทรวง กระทรวงสาธารณสุข. (2561). แนวทางการจัดบริการพยาบาลในคลินิกหมอครอบครัว. นนทบุรี: สำนักพิมพ์ สื่อตะวัน จำกัด.
กองออกแบบ กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ กระทรวงสาธารณสุข. (2558). เกณฑ์มาตรฐานและแนวทางการออกแบบสถานบริการสุขภาพระดับปฐมภูมิ ปีงบประมาณ 2558. นนทบุรี: กระทรวงสาธารณสุข.
พัทสิมา ภัทรธีรานนท์, นิภาวรรณ ศรีโยหะ, พัชรกรพจน์ ศรีประสาร และรุ่งทิวา เสาวนีย์. (2564). บทบาทของพยาบาลชุมชนในการสร้างเสริมสุขภาพและป้องกันการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ใน 8 ชุมชน พื้นที่รับผิดชอบของโรงพยาบาลรามาธิบดี. วารสารสุขศึกษา, 44(1), 1-11.
รัชตวรรณ ศรีตระกูล และ ขนิษฐา นันทบุตร. (2564). การปฏิบัติงานของพยาบาลเวชปฏิบัติในบริบทการดูแลสุขภาพปฐมภูมิของประเทศไทย. วารสารวิจัยและพัฒนาระบบสุขภาพ, 14(2), 265-279.
สภาการพยาบาล. (2548). ประกาศสภาการพยาบาล เรื่อง มาตรฐานการบริการพยาบาลและผดุงครรภ์ในระดับปฐมภูมิ. นนทบุรี: สภาการพยาบาล.
สมจิต แดนสีแก้ว, นฤมล สิงห์ดง, ดลวิวัฒน์ แสนโสม และปิยนุช บุญกอง. (2560). บริบทการทำงานของพยาบาลไทยในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ. วารสารการพยาบาลและการดูแลสุขภาพ, 35(2), 216-226.
สมยศ แสงมะโน, สุพรชัย ศิริโวหาร และ กัลทิมา พิชัย. (2557). ปัญหาการถ่ายโอนโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพประจำตำบล จากกระทรวงสาธารณสุขไปสังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในจังหวัดเชียงใหม่. วารสารบัณฑิตวิจัย, 5(2), 25-35.
สำนักตรวจราชการกระทรวงสาธารณสุข สำนักตรวจและประเมินผล. (2555). สรุปผลการตรวจราชการและนิเทศงานระดับกระทรวง กระทรวงสาธารณสุข ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2555. นนทบุรี: สำนักตรวจราชการกระทรวงสาธารณสุข สำนักตรวจและประเมินผล.
สุวรรณา จันทร์ประเสริฐ, อุไร จเรประพาฬ, เสาวมาศ คุณล้าน เถื่อนนาดี, นพวรรณ เปียซื่อ, แสงอรุณ อิสระมาลัย, พัชรินทร์ พูลทวี, และอุษาพร รอดแดง. (2563). บทบาทความรับผิดชอบของพยาบาลในการขับเคลื่อนระบบบริการสุขภาพระดับปฐมภูมิ. นนทบุรี: สภาการพยาบาล.
โสภณ เมฆธน. (2559). คู่มือแนวทางการดำเนินงานคลินิกหมอครอบครัวสำหรับหน่วยบริการ. กระทรวงสาธรณสุข. สืบค้นจาก http://www.ylo.moph.go.th/webssj/file2019/star/process_PCC.pdf
อติญาณ์ ศรเกษตริน โศรตรีย์ แพน้อย และชุลีพร เอกรัตน์. (2555). การปฏิบัติงานของพยาบาลวิชาชีพในหน่วยบริการปฐมภูมิ ในพื้นที่สาธารณสุขเขต 15. วารสารกองการพยาบาล, 39(3), 38-50.
อมร นนทสุต. (2556). กำเนิดสถานีอนามัย และพัฒนาการสู่รพ.สต.. สืบค้นจาก https://www.hfocus.org/content/2013/08/4328
Aron, S. (2015). Relationship between nurses' job satisfaction and quality of healthcare They deliver. Mankato, Minnesota: Minnesota State University.
Chien W.T. & Yick S.Y. (2016). An investigation of nurses’ job satisfaction in a private hospital and its correlates. The Open Nursing Journal, 10, 99-112.
Donabedian, A. (1988). The quality of care: how can It be assessed?. The Journal of the American Medical Association, 260(12), 1743-1748.
Donabedian, A. (2003). An introduction to quality assurance in health care. New York: Oxford University Press.
Faul, F., Erdfelder, E., Lang, A.G., & Buchner, A. (2007). G*Power 3: A flexible statistical power analysis program for the social, behavioral, and biomedical sciences. Behavior Research Methods, 39, 175-191.
Faul, F., Erdfelder, E., Lang, A.G., & Buchner, A. (2009). Statistical power analyses using G*Power 3.1: Tests for correlation and regression analyses. Behavior Research Methods, 41(4), 1149-1160.
Haile D., Gualu T., Zeleke H. & Dessalegn B. (2017). Job satisfaction and associated factors among nurses in East Gojjam Zone Public Hospitals Northwest Ethiopia, 2016. Journal of Nursing and Care, 6(3), 1-6.
Oktizulvia, C., Dachriyanus, D. & Vionalisa, V. (2017). Job satisfaction factors and nurses’ Intention to quit in Type C Hospitals. Journal of Nursing and Care, 6(3), 1-8.