การรับรู้และความคิดเห็นของประชาชนต่อการดำเนินงานตามพระราชบัญญัติการป้องกันและแก้ไขปัญหาการตั้งครรภ์ในวัยรุ่น พ.ศ. 2559

ผู้แต่ง

  • เทียมดาว ทองโกฏิ
  • นิยม จันทร์นวล
  • ฐิติรัตน์ ภาวะสุทธิพงษ์
  • รุ่งนภา มุลตรีภักดิ์
  • อรุณรัตน์ กาลพันธา

คำสำคัญ:

การรับรู้, ความคิดเห็น, พ.ร.บ.การป้องกันและแก้ไขปัญหาการตั้งครรภ์ในวัยรุ่น

บทคัดย่อ

          การวิจัยเชิงพรรณนาแบบภาคตัดขวางครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการรับรู้พระราชบัญญัติการป้องกันและแก้ไขปัญหาการตั้งครรภ์ในวัยรุ่น พ.ศ. 2559 2) ความคิดเห็นของประชาชนต่อการตั้งครรภ์ในวัยรุ่นและ 3) ความคิดเห็นต่อการดำเนินงานของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการป้องกันและแก้ไขปัญหาการตั้งครรภ์ในวัยรุ่น กลุ่มตัวอย่าง คือ ประชาชาชนในเขตสุขภาพที่ 10 ที่มีอายุตั้งแต่ 20-59 ปี จำนวน 150 คน สุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน ใช้แบบสอบถามในการรวบรวมข้อมูล วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนาโดยแจกแจงความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติเชิงอนุมาน ได้แก่  การทดสอบไคสแควร์ 

          ผลการวิจัย พบว่า กลุ่มตัวอย่างร้อยละ 41.33 รับรู้ว่าประเทศไทยมีการบังคับใช้ พ.ร.บ.การป้องกันและแก้ไขปัญหาการตั้งครรภ์ในวัยรุ่น พ.ศ. 2559 โดยรับรู้จากการเข้าร่วมประชุมสัมมนาต่างๆ มากที่สุด ร้อยละ 27.42  มีความคิดเห็นต่อการตั้งครรภ์ในวัยรุ่นภาพรวมอยู่ในระดับมาก (𝑥̅=3.25, S.D.=0.64) โดยความคิดเห็นเรื่องการออกกฎหมายจะสามารถช่วยป้องกันและแก้ไขการตั้งครรภ์ในวัยรุ่นได้  มีค่าเฉลี่ยมากที่สุด (𝑥̅=4.05, S.D.=0.93) ส่วนความคิดเห็นต่อการดำเนินงานตาม พ.ร.บ.การป้องกันและแก้ไขปัญหาการตั้งครรภ์ในวัยรุ่น พ.ศ.2559 ภาพรวม อยู่ในระดับมาก (𝑥̅=3.65, S.D.=0.81) ประเด็นที่มีความคิดเห็นว่ามีความชัดเจนในการดำเนินงานมากที่สุดคือ สถานบริการสุขภาพจัดให้มีบริการด้านอนามัยการเจริญพันธุ์แก่วัยรุ่น (𝑥̅=4.25, S.D.=0.83) และพบว่า ระดับการศึกษา  สถานภาพสมรส รายได้เฉลี่ย อาชีพ มีความสัมพันธ์กับการรับรู้พระราชบัญญัติการป้องกันและแก้ไขปัญหาการตั้งครรภ์ในวัยรุ่น พ.ศ. 2559 อย่างนัยสำคัญทางสถิติ P= .000

Downloads

เผยแพร่แล้ว

27-06-2022