พฤติกรรมสุขภาพที่พึงประสงค์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนที่เข้าร่วมพัฒนาเป็นโรงเรียน รอบรู้ด้านสุขภาพ (Health Literate School :HLS) จังหวัดอุบลราชธานี
คำสำคัญ:
พฤติกรรมสุขภาพที่พึงประสงค์, นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2, โรงเรียนรอบรู้ด้านสุขภาพบทคัดย่อ
การศึกษาวิจัยครั้งนี้ เป็นการวิจัยเชิงพรรณนา (Descriptive) เพื่อศึกษาพฤติกรรมสุขภาพที่ พึง
ประสงค์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ที่เข้าร่วมพัฒนาเป็นโรงเรียนรอบรู้ด้านสุขภาพ ปีการศึกษา
2563 จำนวน 316 คน เครื่องมือที่ใช้การวิจัย ได้แก่ แบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ สถิติเชิงพรรณนา
ได้แก่ จำนวน ค่าร้อยละ หาค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และใช้สถิติไคสแควร์
ผลการศึกษาพบว่าเพศหญิงร้อยละ 59.2 อายุเฉลี่ย 13.7 ปี (S.D.=0.48) มีส่วนสูงตามเกณฑ์กรม
อนามัยปี 2564 เพศชายร้อยละ 88.4 และเพศหญิงร้อยละ 60.4 ด้านพฤติกรรมการบริโภคอาหาร พบกิน
อาหารเช้าทุกวัน ร้อยละ 25.9 เหตุผลที่ไม่กินมากที่สุด 3 อันดับแรกคือ ไม่หิว ตื่นสาย และไม่อยากกิน กิน
อาหารครบ 3 มื้อทุกวันร้อยละ 19.9 กินเนื้อสัตว์ทุกวันร้อยละ 72.2 กินเพียงพอร้อยละ 40.5 กินผักร้อยละ
61.7 เพียงพอร้อยละ 33.4 กินผลไม้สดร้อยละ 61.4 กินเพี ยงพอร้อยละ 41.7 กินไข่ร้อยละ 67.4 และกิน
นมร้อยละ 62.3 ยังเป็นนมปรุงแต่งรส/นมเปรี้ยวร้อยละ 38.6 นมถั่วเหลืองร้อยละ 18.3 และนมรสจืดร้อย
ละ 17.7 กินอาหารที่มีธาตุเหล็กเพียง 1-2 วันต่อสัปดาห์ และเติมเครื่องปรุงรสร้อยละ 82.7 ซึ่งเกินครึ่งเติม
น้ำตาล น้ำปลา พริกน้ำปลา และน้ำส้มสายชู ด้านพฤติกรรมกิจกรรมทางกาย เข้านอนเวลา 20.00-22.00
น. ร้อยละ 72.2 นอนน้อยกว่า 9 ชั่วโมงร้อยละ 57.9 ทำกิจกรรมทางกายร้อยละ 81.6 กิจกรรม 3 อันดับ
แรกคือ วิ่งเล่น/วิ่งไล่จับร้อยละ51.6 เดินเร็วร้อยละ 29.4 และฟุตบอล/ฟุตซอล ร้อยละ 28.8 ทำกิ จกรรม
น้อยกว่า 3 วัน/สัปดาห์ ร้อยละ 38.1 เวลาน้อยกว่า 30 นาทีร้อยละ 40.7 ไม่ทำกิจกรรมจิงโจ้ยืดตัวหรือ
จิงโจ้ FUN for FIT ร้อยละ 89.4 ด้านพฤติกรรมการดูแลและส่งเสริมสุขภาพช่องปาก แปรงทุกวันตอนเช้า
ร้อยละ 94.9 และก่อนนอนทุกวันร้อยละ 69.0 แปรงหลังอาหารเช้าเป็นบา งวันร้อยละ 48.1 หลังอาหาร
กลางวันไม่เคยเลยร้อยละ 46.5 หลังการแปรงฟัน 60-120 นาทีกินอาหารหรือเครื่องดื่มร้อยละ 30.4 ใช้ยา
สีฟันมีฟลูออไรด์ร้อยละ 91.8 ดื่มน้ำอัดลม ดื่มน้ำผลไม้หรือนมปรุงแต่งรส กินลูกอม หมากฝรั่ง ขนมถุงกรุบ
กรอบ 1-3 วัน/สัปดาห์ ร้อยละ 51.6 ร้อยละ 52.8 ร้อยละ 68.0 และร้อยละ 40.5 ตามลำดับ ไม่เคยไปใช้
บริการตรวจสุขภาพช่องปากหรือทำฟัน ร้อยละ 66.8 ด้านพฤติกรรมป้องกันโรคโควิด -19 พบว่า การล้าง
มือด้วยน้ำและสบู่ทุกครั้งก่อนกินอาหารและหลังขับถ่ายทำทุกวัน ร้อยละ 59.5 สวมหน้ากากอนามัยหรือ
หน้ากากผ้าทุกครั้งที่ออกจากบ้านทุกวัน ร้อยละ 39.2 การเว้นระยะห่าง 1-2 เมตร ทำทุกวัน ร้อยละ 25.6
หลีกเลี่ยงการสัมผัสกับผู้อื่นและพื้นผิววัสดุจุดสัมผัสร่วมทำทุกวัน ร้อยละ 19.6 ใช้ของใช้ส่วนตัว ทำทุกวัน
ร้อยละ 40.8 เมื่ อมีอาการไข้ ไอ จาม จะแยกตัวออกจากคนอื่ น ร้อยละ 61.4 ด้านพฤติกรรมส่ งเสริม
สุขอนามัยทางเพศ ส่วนใหญ่อาบน้ำวันละ 2 ครั้ง ร้อยละ 79.7 ทำความสะอาดอวัยวะเพศด้วยการฟอกสบู่
ทุกครั้งที่อาบน้ำ ร้อยละ 95.6 ไม่เคยนัดพบเพศตรงข้ามอยู่ด้วยกันสองต่อสองร้อยละ 90.8 เคยดูสื่อลามก
ร้อยละ 35.4 ส่วนมากดู 1-2วัน/สัปดาห์ร้อยละ 26.3 ทางอินเตอร์เน็ต/ออนไลน์มากที่สุดร้อยละ 19.0 และ
เคยมีเพศสัมพันธ์ ร้อยละ 1.3 ป้องกันด้วยถุงยางอนามัยและยาคุมกำเนิดร้อยละ 100 ความสัมพันธ์
ระหว่างเขตพื้นที่การศึกษาและพฤติกรรมจำแนกรายด้านพบว่า ด้านส่วนสูง ด้านพฤติกรรมการบริโภคที่
เหมาะสม ได้แก่ กินอาหารเช้าทุกวัน กินเนื้อสัตว์ทุกวัน กินผลไม้สดทุกวัน กินนมทุกวัน กินอาหารธาตุ
เหล็กกิน 3 วัน/สัปดาห์ขึ้นไป การเติมเครื่องปรุงรส มีความสัมพันธ์กันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติแต่การกิน
ไข่ ทุกวัน กินอาหารครบ 3 มื้อทุกวัน กินผักทุกวัน กินอาหารผัด ทอด กะทิ 4 วัน/สัปดาห์ขึ้นไป ไม่ มี
ความสัมพันธ์ กันกับเขตพื้นที่การศึกษา
การสร้างความรอบรู้และสร้างความตระหนักเพื่อส่งเสริมพฤติกรรมที่เหมาะสมทั้งด้านการบริโภค
อาหาร กิจกรรมทางกาย การส่งเสริมสุขภาพการดูแลช่องปาก การป้องกันโรคโควิด - 19 และพฤติกรรม
ส่งเสริมสุขอนามัยทางเพศ ควรสอนมีการพัฒนาและเพิ่มหน่วยการเรียนเกี่ยวกับเรื่องอาหาร การออกกำลัง
กาย การดูแลสุขภาพ การป้องกันโควิด - 19 ทั้งการป้องกันการมีเพศสัมพันธ์ ที่ ไม่ เอาตัวเองเข้าไปมี
พฤติกรรมที่เสี่ยงต่อการนำไปสู่การมีเพศสัมพันธ์ เช่น การดูสื่อลามก การอยู่กันสองต่อสอง ทั้งสื่อปัจจุบันมี
การเข้าถึงได้ง่ายควรให้เด็กรู้จักและรู้เท่าทันสื่อ