การบริหารจัดการและพัฒนาประสิทธิภาพระบบบำบัดน้ำเสียของโรงพยาบาลชุมชน จำนวน 6 แห่งในพื้นที่รับผิดชอบของสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดมุกดาหาร

ผู้แต่ง

  • บุญญาพร เผ่าพันธ์
  • ไกรวิชญ์ เรืองฤาหาร
  • ธีระศักดิ์ เชื้อคำจันทร์

คำสำคัญ:

การบริหารจัดการ, โรงพยาบาลชุมชน, ระบบบำบัดน้ำเสีย, คุณภาพน้ำทิ้ง

บทคัดย่อ

          การศึกษาวิจัยในครั้งนี้เป็นศึกษาเชิงสำรวจและนำผลไปสู่การปฏิบัติ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา
ข้อมูลพื้นฐาน การบริหารจัดการและพัฒนาประสิทธิภาพระบบบำบัดน้ำเสียของโรงพยาบาลชุมชนในเขต
รับผิดชอบของสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดมุกดาหาร จำนวน 6 โรงพยาบาล มีกิจกรรมสำรวจโครงสร้าง
ของระบบบำบัดน้ำเสีย การใช้แบบสอบถามที่ เกี่ยวข้องกับการบริหารจัดการระบบบำบัดน้ำเสียของ
บุคลากรที่ เกี่ยวข้อง และการดูแลระบบบำบัดน้ำเสียของเจ้าหน้าที่ ประจำโรงพยาบาล และพัฒนา
ประสิทธิภาพระบบบำบัดน้ำเสียในโรงพยาบาลที่มีน้ำเสียไม่ผ่านมาตรฐานและปล่อยออกสู่ชุมชน จำนวน
1 แห่ง ผลการศึกษา พบว่า ระบบบำบัดน้ำเสีย ส่วนใหญ่มีการใช้งานมามากกว่า 15 ปี ระบบการระบาย
และรวบรวมน้ำเสียของทุกโรงพยาบาลสามารถใช้การได้ดี ปัญหาที่พบส่วนใหญ่จะเกี่ยวกับการควบคุม
ระบบบำบัดน้ำเสีย โดยพบว่ามีค่าสารที่ละลายได้ทั้งหมด ( Total Dissolved Solids) ของน้ำทิ้ง
โรงพยาบาลที่ไม่ผ่านคือ โรงพยาบาลคำชะอี (1200 mg/l) และโรงพยาบาลดอนตาล (890 mg/l)
ซึ่งสาเหตุการเพิ่มขึ้นมาจากหน่วยฟอกไตที่ปล่อยน้ำทิ้งเข้าระบบบำบัดน้ำเสียรวม ค่าใช้จ่ายด้านสารเคมี
สำหรับใช้ในกระบวนการฆ่าเชื้อโรคเฉลี่ยอยู่ในช่วง 300-4600 บาท/เดือน ด้านบุคลากรในการดูแลระบบ
บำบัดน้ำเสียส่วนใหญ่เป็นนักวิ ชาการที่ควบคุมระบบบำบัดน้ำเสีย แต่ยังไม่ได้เข้ารับการอบรมการควบคุม
ระบบบำบัดน้ำเสียอย่างต่อเนื่อง และมีการพัฒนาประสิทธิภาพระบบบำบัดน้ำเสียให้เป็นต้นแบบที่หน่วยไต
เทียมจำนวน 1 ระบบที่โรงพยาบาลคำชะอี

Downloads

เผยแพร่แล้ว

29-12-2022