รูปแบบในการขับเคลื่อนการก่อสร้างบ่อบำบัดสิ่งปฏิกูลแบบทรายกรอง ด้วยโปรแกรมพี่เลี้ยง ขององค์การบริหารส่วนท้องถิ่นในจังหวัดอำนาจเจริญ

ผู้แต่ง

  • ยงยุทธ สุพล
  • วิลาวัณย์ ศรีพรหม
  • พรหมพิริยะ สิงห์ไชย

คำสำคัญ:

รูปแบบการขับเคลื่อน, บ่อบำบัดสิ่งปฏิกูลแบบบ่อทรายกรอง, โปรแกรมพี่เลี้ยง

บทคัดย่อ

          การวิจัยในครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงปฏิบัติการ (Action Research) มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษารูปแบบ
การขับเคลื่อนการก่อสร้างบ่อบำบัดการสิ่งปฏิกูลแบบทรายกรองด้วยโปรแกรมพี่เลี้ยงขององค์การบริหาร
ส่วนท้องถิ่นในจังหวัดอำนาจเจริญ ประชากรที่ศึกษา คือ องค์กรปกครองส่วนท้ องถิ่น (อปท.) ในจังหวัด
อำนาจเจริญ จำนวน 63 แห่ง โดยการสุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง จำนวน 3 กลุ่ม คือ 1) อปท. ที่สมัครใจตอบ
แบบสอบถาม ผ่าน Google from จำนวน 40 แห่ง 2) อปท.ที่ได้ดำเนินการก่อสร้างบ่อบำบัดสิ่งปฏิกูลแบบ
ทรายกรองแล้ว จำนวน 3 แห่ ง 3) อปท. ที่ ยังไม่ดำเนินการก่ อสร้างบ่ อบำบัดสิ่งปฏิกูลแบบทรายกรอง
จำนวน 5 แห่ง เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษา มีดังนี้ 1)โปรแกรมพี่เลี้ยง 2) แบบสอบถามความรู้ ทัศนคติและ
การจัดการก่อสร้างสิ่งปฏิกูลแบบทรายกรอง 3) After Action Review และ 4) SWOT Analysis การ
วิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณใช้สถิติ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน วิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพ
โดยการจัดกลุ่มข้อมูลจากการสนทนากลุ่ม รวมกลุ่มคำและประโยคที่มีความหมายเหมือนกันลงในตาราง
รูปแบบในการขับเคลื่อนที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ ประกอบด้วย 2 ขั้นตอน ประกอบด้วย 1)การเตรียมเนื้อหา
วิธีการขับเคลื่อนและการสร้างทีมพี่เลี้ยง และ2)การขับเคลื่อนด้วยโปรแกรมพี่เลี้ยงโดยมีบทบาทร่วมลง
พื้นที่ค้นหาปัญหา การCoaching สนับสนุนการดำเนินงานและการติดตามประเมินผล
          ผลการศึกษา พบว่า ภายหลังการใช้โปรแกรมการขับเคลื่อนการก่อสร้างระบบบำบัดสิ่งปฏิกูลด้วย
โปรแกรมพี่เลี้ยง ผู้บริหาร อปท. ผู้นำชุมชน มีความสนใจและพร้อมที่จะดำเนินการในการก่อสร้างบ่อบำบัด
สิ่งปฏิกูลแบบทรายกรอง และหลังจากนั้น 4 เดือน ทีมวิจัยได้ออกติดตามผลการดำเนินงาน พบว่า อปท.
เป้าหมาย ทั้ง 5 แห่ง ได้จัดทำโครงการก่อสร้างบ่อบำบัดสิ่งปฏิกูลบรรจุลงในแผนพัฒนาท้องถิ่นปี 2565 แต่
ยังไม่ได้ จัดทำร่างงบประมาณรายจ่ายประจำปีเพื่อเสนอให้สภาท้องถิ่นพิจารณาตราเป็นข้อบัญญัติท้องถิ่น
ซึ่งทีมพี่เลี้ยงได้กระตุ้นช่วยเหลือให้ อปท.ดำเนินการแต่ละขั้นตอนให้ต่อเนื่อง โดยเสนอแนะโอกาสพัฒนา
ร่วมออกประชาคมชาวบ้าน ลงสำรวจพื้นที่สำหรับก่อสร้าง จึงจะดำเนินการก่อสร้างได้ พบปัญหาอุปสรรค
ดังนี้ ประชาคมชาวบ้านได้บางส่วนเนื่องจากสถานการณ์การระบาดของโรค COVID-19 อปท. อยู่ในช่วง
เปลี่ยนผู้บริหารใหม่ และขั้นตอนการขออนุญาตการใช้ที่ดินในการก่อสร้างทำให้ล่าช้า ปัญหาดังกล่าวเป็น
ภาวะคุกคามที่เกิดจากปัจจัยภายนอก จึงไม่สามารถที่จะขับเคลื่อนได้ต่อเนื่องภายในปี 2565 ทีมพี่เลี้ยง
เตรียมข้อมูลเสนอต่ อคณะกรรมการสาธารณสุขจังหวัดและคณะกรรมการสิ่งปฏิกูลมูลฝอยจังหวัดเพื่อ
ช่วยเหลือขับเคลื่อนเชิงนโยบายระดับจังหวัดต่อไป

Downloads

เผยแพร่แล้ว

29-12-2022