ผลการปฏิบัติงานของผู้ดูแลผู้สูงอายุ (Care giver) ตามแผนการดูแลรายบุคคลที่ผ่านการอบรม หลักสูตร 70 ชั่วโมงในเขตสุขภาพที่ 10 กรมอนามัย
คำสำคัญ:
ผู้ดูแลผู้สูงอายุ (Care giver), แผนการดูแลรายบุคคล, การอบรมหลักสูตร 70 ชั่วโมงบทคัดย่อ
การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อประเมินความรู้ ทักษะ ความพึงพอใจ และผลการดูแลตาม
แผนการดูแลผู้สูงอายุรายบุคคลของผู้ดูแลผู้สูงอายุ ( Care giver) การค้นหาปัญหา อุปสรรค และ
ข้อเสนอแนะการดําเนินงานของผู้ดูแลในการดูแลผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง ระหว่างเดือนมกราคม พ.ศ.2564
ถึง มีนาคม พ.ศ.2564 กลุ่มตัวอย่าง แบ่งเป็น 3 กลุ่ม คือ 1) ผู้ดูแลผู้สูงอายุ (Care giver) จำนวน 296 คน
2) ผู้จัดการการดูแลผู้สูงอายุ จำนวน 296 คน 3)ผู้สูงอายุที่ได้รับการดูแล จำนวน 296 คน เครื่องมือที่ใช้
ได้แก่ แบบบันทึกข้อมูลส่วนบุคคลของผู้ดูแล แบบประเมินความรู้ ทักษะในการดูแล และทัศนคติของผู้ดูแล
ต่อการดูแลผู้สูงอายุ แบบประเมินความพึงพอใจในการดูแลของผู้ดูแล ซึ่งผ่านการตรวจสอบความเที่ยงตรง
เชิงเนื้อหาโดยผู้ทรงคุณวุฒิจำนวน 3 ท่าน วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติพรรณนา
ผลการศึกษา ผู้ดูแลผู้สูงอายุมีความรู้โดยรวมอยู่ในระดับสูง ร้อยละ 79.4 ทักษะในการดูแล
รายด้านเกี่ยวกับการวัดสัญญาณชีพ พลิกตะแคงตัว การให้ออกซิเจน การดูแลผู้ใส่สายสวนปัสสาวะ การ
ปฏิบัติอยู่ในระดับมาก ร้อยละ 80 ขึ้นไป ทัศนคติต่อผู้สูงอายุ พบว่าส่วนใหญ่มีทัศนคติ ระดับดีและปาน
กลาง ร้อยละ 49.0 และ 30.7 ตามลำดับ ความพึงพอใจของผู้สูงอายุต่อการดูแล พบว่า ภาพรวมความพึง
พอใจมิติทางกาย จิตใจ จิตวิญญาณ ปัญญา สังคมและระบบบริการ อยู่ระดับมาก ( 𝒙 ̅=2.71-2.75) ส่วน
ความสามารถในการปฏิบัติตามแผนการดูแล พบว่าอยู่ระดับมาก ร้อยละ 56.1 รองลงมา ระดับปานกลาง
ร้อยละ 42.4 ผลที่ผู้สูงอายุได้รับการดูแลตามแผนการดูแลรายบุคคล Care plan พบว่าส่วนใหญ่ผู้สูงอายุมี
ความสามารถในการปฏิบัติกิจวัตรประจำวัน (ADL) เปลี่ยนแปลงดีขึ้นร้อยละ 49.5 และมีความสามารถใน
การปฏิบัติกิจวัตรประจำวัน ไม่เปลี่ยนแปลงแต่ไม่มีภาวะแทรกซ้อนจากการดูแล ร้อยละ 49.5
ผลการศึกษาแสดงให้เห็นว่าผู้ดูแลมีความรู้ ทักษะ ความสามารถในการปฏิบัติงานได้เป็นอย่ างดี
การพัฒนาให้ดียิ่ งขึ้น ควรได้รับการสนับสนุน พัฒนาศักยภาพอย่ างต่ อเนื่อง และดูแลคุณภาพชีวิตของ
ผู้ดูแลเพื่อประโยชน์ ในการดูแลผู้สูงอายุต่อไป