ตัดวงจรโรคพยาธิใบไม้ในตับและมะเร็งท่อน้ำดีด้วยการจัดการสิ่งปฏิกูลที่ถูกหลักสุขาภิบาล

ผู้แต่ง

  • บุญเกิด เชื้อธรรม

บทคัดย่อ

          การติดเชื้อพยาธิใบในตับเป็นปัญหาสาธารณสุขที่สำคัญในภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศ
ไทย การติดเชื้อพยาธิใบไม้ในตับมีความสัมพันธ์กับการเกิดมะเร็งท่อน้ำดี สำหรับประเทศไทยพบว่ามีอัตรา
ของการเกิดมะเร็งท่อน้ำดีสูงในผู้ป่วยที่อาศัยอยู่ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ซึ่งเป็นพื้นที่ที่มีความชุกของ
การติดพยาธิใบไม้ในตับสูงกว่าพื้นที่อื่นของประเทศ สาเหตุหลักจากพฤติกรรมเสี่ยงเรื่องการบริโภค
อาหารที่ทำจากปลาน้ำจืดที่ไม่ถูกต้อง เช่น ปลาดิบ ปลาร้าดิบ แจ่วบองใส่ปลาร้าดิบ เป็นต้น กระทรวง
สาธารณสุขในฐานะหน่วยงานหลักที่ดูแลสุขภาพประชาชน มีการดำเนินการกำจัดปัญหาพยาธิใบไม้ตับ
อย่างต่อเนื่อง โดยผลักดันเข้าสู่การประชุมสมัชชาสุขภาพแห่งชาติ ผ่านความเห็นชอบคณะรัฐมนตรีในปี
2558 พร้อมจัดทำแผนยุทธศาสตร์ “ทศวรรษกำจัดปัญหาพยาธิใบไม้ตับและมะเร็งท่อน้ำดี ” โดยความ
ร่วมมือจากหน่วยงานภาครัฐ เอกชน หน่วยงานด้านการศึกษา องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และภาค
ประชาชน ซึ่งในปัจจุบันดำเนินการขับเคลื่อนตาม แผนยุทธศาสตร์ระยะที่ 2 (2562 - 2568) ตาม
ยุทธศาสตร์ทศวรรษการกำจัดพยาธิใบไม้ตับและมะเร็งท่อน้ำดี เพื่อให้การกำจัดปัญหาพยาธิใบไม้ตับและ
มะเร็งท่อน้ำดีเกิดความยั่งยืน ตั้งเป้าหมายอัตราเสียชีวิตด้วยมะเร็งท่อน้ำดีลดลงครึ่งหนึ่งในปี 2575 อัตรา
การติดพยาธิใบไม้ตับในคนลดลงน้อยกว่าร้อยละ 1 ในปี 2568 และปลาปลอดพยาธิน้อยกว่าร้อยละ 1
โดยมี แนวทางการดำเนินงานที่สำคัญ ประกอบด้วย
          1. จัดกิจกรรมอาหารปลอดภัยปลาปลอดพยาธิ
          2. ตรวจคัดกรองในประชาชนอายุ 15 ปีขึ้นไปให้การรักษาและปรับเปลี่ ยนพฤติกรรมสุขภาพ
พร้อมรักษาพยาธิใบไม้ตับในสุนัข แมวในชุมชน
          3. จัดระบบสุขาภิบาลบริหารจัดการสิ่งปฏิกูลเพื่อตัดวงจรพยาธิผ่านองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
          4. จัดการเรียนการสอนการสร้างความรอบรู้ด้านสุขภาพในเด็กและเยาวชน และ
          5. การคัดกรองมะเร็งท่อน้ำดีในประชาชนอายุ 40 ปีขึ้นไปด้วยเครื่องอัลตราซาวด์ เป็นต้น

Downloads

เผยแพร่แล้ว

29-12-2022