ประสิทธิภาพชุดทดลองภาคสนามในการตรวจหาเชื้อพิคัลโคริฟอร์ม (อ13) ที่ผลิตในห้องปฏิบัติการศูนย์อนามัยที่ 10 อุบลราชธานี

ผู้แต่ง

  • ภูมิพัฒน์ สันโดด

คำสำคัญ:

ชุดทดลองภาคสนาม, ชุดทดสอบ อ13

บทคัดย่อ

            ศึกษานี้ เป็นวิจัยเชิงทดลอง (Experimental Research) เพื่อผลิตชุดทดลองภาคสนามหาเชื้อพิคัลโคริฟอร์ม (อ13) ที่ใช้ในพื้นที่ และวิเคราะห์การประเมินคุณภาพผลิตภัณฑ์ Quality Control: QC ของชุดทดสอบในด้านความไว ความจำเพาะ ค่าพยากรณ์ผลบวก และค่าพยากรณ์ สำหรับความเชื่อถือได้โดยหาความคาดเคลื่อน P< 0.05 มีวิธีการพิจารณาจากผลลบความจำเพราะของวิธีการที่สามารถได้เฉพาะสิ่งที่ต้องการ (Specificity) ความไวที่ปริมาณสารต่ำสุดที่วิธีการทดลองจะใช้วัดได้ (Sensitivity) ความแม่นยำหรือความแน่นอนของวิธีการเพื่อลดความคาดเคลื่อนของผลการทดสอบ (Precision) และความถูกต้อง (Accuracy) โดยนำชุดทดลอง อ13 ที่ผลิตในห้องปฏิบัติการศูนย์อนามัยที่ 10 อุบลราชธานี มาประเมินประสิทธิภาพโดยทำการทดสอบกับน้ำที่มีการปนเปื้อนอุจจาระที่มีเชื้อฟีคัลโคริฟอร์ม จำนวน 120 ชุด และกับน้ำกลั่นบริสุทธิ์ จำนวน 120 ชุด ทั้งหมดจำนวน 240 ชุด

            ผลวิจัย พบว่า ผลทดสอบเพื่อทำนายผลบวกกับน้ำที่มีการปนเปื้อนอุจจาระที่มีเชื้อฟีคัลโคริฟอร์ม 120 ชุด ผลบวก ร้อยละ 98.3 ผลลบ ร้อยละ 1.7 และผลทดสอบเพื่อทำนายผลลบกับน้ำกลั่นบริสุทธิ์ จำนวน 120 ชุด ให้ผลลบ ร้อยละ 100.0 เมื่อคำนวณค่าความไว Sensitivity ที่ปริมาณสารต่ำสุดที่วิธีการทดลองจะใช้วัดได้ ร้อยละ 100.00 ค่าความจำเพาะ Specificity ร้อยละ 98.36 ความแม่นยำแน่นอน Precision ของวิธีการเพื่อลดความคาดเคลื่อนของผลการทดสอบได้ค่าทำนายผลบวกร้อยละ 98.33 ค่าทำนายผลลบ ร้อยละ 100.00 และความถูกต้อง Accuracy ร้อยละ 99.16 และประสิทธิภาพของชุดทดสอบ อ13 มีความเชื่อมั่นมากกว่าร้อยละ 95 ผิดพลาดน้อยกว่าร้อยละ 5 สามารถนำไปใช้เป็นชุดทดสอบภาคสนามหาเชื้อพิคัลโคริฟอร์มในพื้นที่ได้

Downloads

เผยแพร่แล้ว

28-06-2021