รับรู้ด้านสุขภาพและพฤติกรรมการป้องกันโรคความดันโลหิตสูงของผู้รับบริการตรวจสุขภาพ ศูนย์อนามัยที่ 10 อุบลราชธานี
คำสำคัญ:
การรับรู้ด้านสุขภาพ, ความดันโลหิตสูงบทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้เป็นวิจัยแบบเชิงพรรณนา มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาระดับการรับรู้ด้านสุขภาพ และระดับพฤติกรรมการป้องกันโรคความดันโลหิตสูง และเพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างการรับรู้ด้านสุขภาพกับพฤติกรรมการป้องกันโรคความดันโลหิตสูงของผู้รับบริการตรวจสุขภาพ ศูนย์อนามัยที่ 10 อุบลราชธานี กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้มารับบริการตรวจสุขภาพ โดยการสุ่มอย่างง่าย จำนวน 90 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถาม ซึ่งประกอบด้วยข้อมูล 3 ส่วนได้แก่ ข้อมูลทั่วไป แบบวัดการรับรู้ด้านสุขภาพ และแบบวัดพฤติกรรมการป้องกันโรคความดันโลหิตสูงของผู้รับบริการตรวจสุขภาพ ซึ่งผ่านการตรวจสอบความตรงเชิงเนื้อหาจากผู้เชี่ยวชาญและทรงคุณวุฒิ 3 ท่านได้ค่า IOC ระหว่าง 0.76 ทดสอบความเชื่อมั่นโดยวิธีอัลฟาของครอนบาคได้ค่าความเชื่อมั่นของรับรู้ด้านสุขภาพ เท่ากับ 0.73 และพฤติกรรมการป้องกันโรคความดันโลหิตสูง 0.72 ตามลำดับ เก็บรวบรวมข้อมูลโดยการเก็บแบบสอบถามกับผู้มารับบริการตรวจสุขภาพ ระหว่างเดือนธันวาคม 2563 - มีนาคม 2564 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติพรรณนาได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติอนุมานได้แก่ สหสัมพันธ์เพียร์สัน (Pearson)
ผลการศึกษา กลุ่มตัวอย่างมีการรับรู้ด้านสุขภาพอยู่ในระดับสูง ร้อยละ 47.8 และ ระดับปานกลาง ร้อยละ 36.7 รับรู้ด้านสุขภาพอยู่ในระดับต่ำ มีเพียงร้อยละ 15.6 เท่านั้น เมื่อพิจารณาพฤติกรรมการป้องกันโรคความดันโลหิตสูง พบว่า มีพฤติกรรมการปฏิบัติตัวอยู่ในระดับปานกลาง ร้อยละ 54.4 และมีพฤติกรรมการปฏิบัติตัวอยู่ในระดับไม่ดี ร้อยละ 42.2 เมื่อศึกษาความสัมพันธ์การรับรู้ด้านสุขภาพและพฤติกรรมการป้องกันโรคความดันโลหิตสูงของผู้รับบริการตรวจสุขภาพศูนย์อนามัยที่ 10 อุบลราชธานี พบว่า การรับรู้ด้านสุขภาพไม่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการป้องกันโรคความดันโลหิตสูงของผู้รับบริการตรวจสุขภาพ ศูนย์อนามัยที่ 10 อุบลราชธานี อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (r = 0.144, p-value = 0.175) ผลการศึกษานี้แสดงให้เห็นว่า การรับรู้ด้านสุขภาพที่ดีไม่มีผลต่อการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมป้องกันโรคความดันโลหิตสูงของผู้รับบริการตรวจสุขภาพ