การศึกษาสภาพการบริหารจัดการความเสี่ยงของศูนย์อนามัยที่10 อุบลราชธานี

ผู้แต่ง

  • พรรณปพร ภาละกาล

คำสำคัญ:

การบริหารจัดการความเสี่ยงของศูนย์อนามัยที่10 อุบลราชธานี

บทคัดย่อ

            การวิจัยครั้งนี้ ใช้รูปแบบการวิจัยเชิงพรรณนา (Descriptive research) โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสภาพการบริหารจัดการความเสี่ยงของศูนย์อนามัยที่ 10 อุบลราชธานี โดยทำการประเมินระดับความรู้ การปฏิบัติกิจกรรม การมีส่วนร่วม และความพึงพอใจของบุคลากรในกระบวนการบริหารความเสี่ยงของบุคลากรในกระบวนการจัดการความเสี่ยงศูนย์อนามัยที่ 10 อุบลราชธานี เลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเฉพาะเจาะจงจำนวน 42 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย แบ่งออกเป็น 4 ส่วน ได้แก่ ส่วนที่ 1 ข้อมูลส่วนบุคคล ส่วนที่ 2 แบบประเมินความรู้ ส่วนที่ 3 แบบประเมินการปฏิบัติ ส่วนที่ 4 แบบประเมินการมีส่วนร่วมและ ส่วนที่ 5 แบบประเมินความพึงพอใจ ตรวจสอบคุณภาพเครื่องมือ ได้แก่ เครื่องมือได้ผ่านการตรวจความตรงทางด้านเนื้อหา (Content analysis) โดยผู้เชี่ยวชาญ 3 ท่าน และผู้วิจัยได้นำเครื่องมือมาทำการทดลองใช้กับกลุ่มตัวอย่างที่มีลักษณะใกล้เคียงกับกลุ่มตัวอย่างในการวิจัย เพื่อตรวจสอบความเที่ยง โดยวิเคราะห์หาค่าสัมประสิทธิ์แอลฟา (Cronbach's alpha coefficient) เท่ากับ 0.81 เก็บรวบรวมข้อมูลโดยการใช้แบบสอบถาม ในช่วงวันที่ 15-20 มกราคม 2664 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูปประมวลผลทางด้านสถิติ โดยการหาค่าเฉลี่ย ร้อยละและค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานมีผลการวิจัยดังต่อไปนี้ กลุ่มตัวอย่าง ส่วนใหญ่มีความรู้ ในระดับสูง มีระดับการปฏิบัติกิจกรรมตามกระบวนการบริหารความเสี่ยงออยู่ในระดับปานกลาง มีการมีส่วนร่วมตามกระบวนการบริหารความเสี่ยงออยู่ในระดับปานกลางและมีความพึงพอใจในกระบวนการบริหารความเสี่ยงออยู่ในระดับมาก

            ข้อเสนอแนะจากการวิจัย ได้แก่ หน่วยงานควรทำการอบรมรมหรือเพิ่มกิจกรรมในลักษณะที่เป็นการเพิ่มพูนความรู้ให้กับบุคลากรอย่างสม่ำเสมอ ดำเนินการในเรื่องการสร้างแรงจูงใจในการปฏิบัติงานโดยการจัดศึกษาดูงานหน่วยงานอื่น และควรปรับปรุงเรื่องของวิธีการแก้ไขปัญหาเมื่อเกิดเหตุการณ์ไม่พึงประสงค์โดยอาจจะใช้กระบวนการมีส่วนร่วมของบุคลากรในองค์กรเป็นสำคัญ

Downloads

เผยแพร่แล้ว

28-09-2021