ความสูงในมนุษย์ (Human Height)

ผู้แต่ง

  • เจนวิทย์ ศรพรหม
  • อุมาพร สังขฤกษ์
  • กัญญนัท ริปันโน

บทคัดย่อ

ความสูงของมนุษย์มีอิทธิพลอย่างมากต่อสุขภาพ ความสูงที่เพิ่มขึ้นนั้นมีหลักฐานที่ชัดเจนจากการศึกษาว่าทำให้การตายของทารกลดลง อายุขัยเฉลี่ยเพิ่มขึ้น รายได้เฉลี่ยที่เพิ่มขึ้น1-2 เนื่องจากความสูงของมนุษย์ที่เพิ่มขึ้นบ่งบอกถึงปัจจัยสภาพแวดล้อมที่ดี การเพิ่มความสูงของมนุษย์ยังมีหลักฐานและยืนยันว่าสามารถเพิ่มขึ้นได้ จากปัจจัย 2 ประการ คือ พันธุกรรมและสิ่งแวดล้อม3 ดังนั้น ปัจจัยสิ่งแวดล้อมที่เหมาะสมจึงจำเป็นในการกำหนดมาตรการเพิ่มความสูงของมนุษย์เพราะพันธุกรรมไม่สามารถกำหนดได้

จากการศึกษาประชากรชาวเอเชีย พบว่า ปัจจัยด้านสิ่งแวดล้อมจะส่งผลต่อความสูงมากกว่าประเทศตะวันตกถึงร้อยละ 40 เนื่องจากพบว่า ปัจจัยด้านสิ่งแวดล้อมโดยเฉพาะด้านโภชนาการจากสารอาหารที่จำเป็นในการเพิ่มความสูงของชาวตะวันตกมีความเพียงพอจึงส่งผลให้ความสูงเพิ่มขึ้นน้อยกว่าชาวเอเชีย4
จะเห็นได้ว่าในช่วง 50 ปีที่ผ่านมา คนเกาหลี ญี่ปุ่น และจีนสามารถเพิ่มความสูงเฉลี่ยได้    10-20 เซนติเมตร 1แต่ไม่พบการแสดงข้อมูลหลักฐานหรือมาตรการจากประเทศเหล่านั้น แต่ในประเทศไทยนั้น พบว่าส่วนสูงเฉลี่ยเพิ่มขึ้นเพียง 3 เซนติเมตรเท่านั้น5 ข้อมูลการสำรวจฐานข้อมูลรูปร่างและสรีระประชากรไทย (SizeThailand) ในปี 2551 โดยศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ (NECTEC) และสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) พบว่าความสูงเฉลี่ยของชายไทยอยู่ที่ 169.46 ซม. หญิง 157 ซม. โดยกลุ่มอายุ 16-25 ปี พบว่าชายมีความสูงเฉลี่ย 171.36 ซม. และหญิงสูง 159.32 ซม. ในแผนยุทธศาสตร์ไทย 20 ปีข้างหน้า (พ.ศ. 2561-2580) 6 ตั้งเป้าหมายชายไทยสูง 180 ซม. และหญิงไทย 167 ซม. และจากการศึกษาที่ผ่านมายังไม่พบว่ามีมาตรการที่เหมาะสมในการพัฒนาความสูงของมนุษย์ในประเทศไทยอย่างมีประสิทธิภาพ

Additional Files

เผยแพร่แล้ว

23-11-2023