การส่งเสริมสุขภาพเด็กวัยเรียนโรงเรียนบ้านทุ่งไชย (พัฒนานุสรณ์) ตำบลทุ่งไชย อำเภออุทุมพรพิสัย จังหวัดศรีสะเกษ

ผู้แต่ง

  • ปราณี ศรีบุญเรือง
  • วัณยรัตน์ คุณาพันธ์
  • จุฑามาศ แก้วจันดี

คำสำคัญ:

การส่งเสริมสุขภาพ, เด็กวัยเรียน

บทคัดย่อ

บทคัดย่อ

           การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงพรรณนา (Descriptive Research) แบบภาคตัดขวาง(Cross -sectional) มีวัตถุประสงค์เพื่อ ศึกษาการส่งเสริมสุขภาพของเด็กวัยเรียนโรงเรียนบ้านทุ่งไชย (พัฒนานุสรณ์) ตำบลทุ่งไชย อำเภออุทุมพรพิสัย จังหวัดศรีสะเกษ และศึกษาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ที่มีต่อพฤติกรรมการส่งเสริมสุขภาพของเด็กนักเรียนบ้านทุ่งไชย (พัฒนานุสรณ์)  ตำบลทุ่งไชยอำเภออุทุมพรพิสัย จังหวัดศรีสะเกษ โดยประยุกต์กรอบแนวคิดแบบแผนความเชื่อด้านสุขภาพในการศึกษาปัจจัยทางด้านพฤติกรรมสุขภาพ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ ได้แก่ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4-6 โรงเรียนบ้านทุ่งไชย (พัฒนานุสรณ์) ตำบลทุ่งไชย อำเภออุทุมพรพิสัย จังหวัดศรีสะเกษ ซึ่งได้จากการสุ่มกลุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน (Multi-stage random sampling) เครื่องมือที่ใชในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถามเกี่ยวกับปัจจัยนำ  ปัจจัยเอื้อ ปัจจัยเสริม เกี่ยวกับการส่งเสริมสุขภาพของเด็กวัยเรียนของเด็กวัยเรียน และแบบประเมินพฤติกรรมการส่งเสริมสุขภาพของเด็กวัยเรียน จำนวน 40 ข้อ เป็นแบบ rating scale การตรวจสอบคุณภาพเครื่องมือความตรงตามเนื้อหาโดยผู้เชี่ยวชาญ 3 ท่าน คำนวณค่า IOC เท่ากับ 0.92 และหาการหาความเชื่อมั่น (Reliability) ได้ค่าความเชื่อมั่น เท่ากับ  0.77

           ปัจจัยส่วนบุคคลของเด็กวัยเรียนโรงเรียนบ้านทุ่งไชย (พัฒนานุสรณ์)  ตำบลทุ่งไชยอำเภออุทุมพรพิสัย จังหวัดศรีสะเกษ พบว่า เพศชายมากกว่าเพศหญิง จำแนกตามอายุ พบว่าส่วนใหญ่มีอายุ 10 ปี ปัจจัยนำ ความรู้เกี่ยวกับการดูแลสุขภาพและการรับรู้ประโยชน์ของการดูแลสุขภาพอยู่ในระดับดีมาก ปัจจัยเอื้อ สิ่งแวดล้อมที่เอื้อต่อการส่งเสริมสุขภาพอยู่ในระดับดีมาก ปัจจัยเสริม การได้รับข้อมูลข่าวสารจากสื่อต่าง ๆ และการได้รับคำแนะนำสนับสนุนจากบุคคลอื่น อยู่ในระดับปานกลาง เมื่อประเมินพฤติกรรมการส่งเสริมสุขภาพพบว่าอยู่ในระดับดีมาก ผลการวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยนำ ปัจจัยเอื้อ และปัจจัยเสริม กับการส่งเสริมสุขภาพเด็กวัยเรียน พบว่า ปัจจัยนำ ปัจจัยเอื้อ มีความสัมพันธ์กับการดูแลสุขภาพและพฤติกรรมการส่งเสริมสุขภาพด้านร่างกายของเด็กวัยเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ p<0.05

 

 

 

 

Downloads

เผยแพร่แล้ว

19-12-2022