ผลของโปรแกรมการเสริมสร้างสุขภาพจิต ในนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย
คำสำคัญ:
โปรแกรมการเสริมสร้างสุขภาพจิต, นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย, ภาวะซึมเศร้าในวัยรุ่นบทคัดย่อ
การวิจัยกึ่งทดลองนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาโปรแกรมการเสริมสร้างสุขภาพจิตในนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย กลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายที่กําลังศึกษาในระดับชั้น มัธยมศึกษาชั้นปีที่ 5 ปีการศึกษา 2566 ภาคการศึกษา 2 อำเภอเมืองจังหวัดศรีสะเกษ จำนวน 80 คน แบ่งเป็นกลุ่มทดลอง จำนวน 40 คน และกลุ่มควบคุมจำนวน 40 คน เครื่องมือที่ใช้ในการทดลอง คือ โปรแกรมการเสริมสร้างสุขภาพจิต ในนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย เป็นระยะเวลา 12 สัปดาห์ ระหว่างเดือนตุลาคม ถึง ธันวาคม 2566 เก็บรวบรวมข้อมูลก่อนและหลังการทดลองจากแบบสอบถามข้อมูลทั่วไปส่วนบุคคล แบบคัดกรองภาวะซึมเศร้าในวัยรุ่น และแบบประเมินความรอบรู้เกี่ยวกับสุขภาพจิต วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติพรรณนา ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติอนุมานใช้ Paired t-Test และ Independent t-test ผลการวิจัยพบว่า ก่อนการทดลองกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุมไม่มีความแตกต่างกัน ส่วนหลังการทดลอง กลุ่มทดลองมีค่าภาวะซึมเศร้าในวัยรุ่น ต่ำกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ p-value <0.05 และความรอบรู้เกี่ยวกับสุขภาพจิต สูงกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ p-value <0.05 ดังนั้นจึงควรนำโปรแกรมการเสริมสร้างสุขภาพจิต ในนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายนี้ไปประยุกต์ใช้ในการจัดกิจกรรมกับกลุ่มนักเรียนหรือวัยรุ่นกลุ่มอื่นในพื้นที่อื่นๆ
References
Institute of Population and Social Research, Mahidol University. Thai general health 2020. Bangkok: Amarin Printing & Publishing; 2020.
World Health Organization. Fact sheet: depression [Internet]. 2020 [cited 2023 Jan 20]. Available from: https://www.who.int/news-room/fact-sheets/detail/depression
พัชรี บ่อนคำ. วิจัยชี้จิตเวชยังพบช่องว่างของการเข้าถึงบริการ [อินเทอร์เน็ต]. 2560 [เข้าถึงเมื่อ 10 มิ.ย. 2566]. เข้าถึงได้จาก hhttps://www.thaihealth.or.th/Content/38395
พันธุนภา กิตติรัตนไพบูลย์, นพพร ตันติรังสี, วรวรรณ จุฑา, อธิบ ตันอารีย์, ปทานนท์ ขวัญสนิท, สาวิตรี อัษณาวงค์กรชัย และ คณะทำงานสำรวจระบาดวิทยาสุขภาพจิตของคนไทยระดับชาติ. ความชุกของโรคจิตเวชและปัญหาสุขภาพจิต : การสำรวจระบาดวิทยาสุขภาพจิตของคนไทยระดับชาติ ปี พ.ศ. 2556. กรุงเทพฯ: บียอนด์พับลิสชิ่ง; 2559.
กรมสุขภาพจิต. 5 อันดับปัญหาเด็กไทย. ข่าวจากหนังสือพิมพ์ที่เกี่ยวข้องกับ [อินเทอร์เน็ต]. 2564 [เข้าถึงเมื่อ 10 ม.ค. 2566]. เข้าถึงได้จาก https://dmh.go.th/news-dmh/view. asp?id =29898
กรมสุขภาพจิต. ห่วงวัยรุ่นเยาวชนไทยมีภาวะซึมเศร้า แนะคนรอบข้างรับฟังอย่างเข้าใจ. ข่าวกรมสุขภาพจิต. นนทบุรี: กรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข; 2560
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 28. ข้อมูลจำนวนนักเรียน [อินเทอร์เน็ต]. 2564 [เข้าถึงเมื่อ 14 ม.ค. 2566]. เข้าถึงได้จาก https://skw.ac.th/school-list
Polit, D.F., & Beck, C.T. Nursing Research: Generating and Assessing Evidence for Nursing Practice. 8th Edition, Wolters Kluwer Health/Lippincott Williams & Wilkins, Philadelphia. 796; 2008.
สุทธิดา พลพิพัฒน์พงศ์ ส, นุจรี ไชยมงคล และ ดวงใจ วัฒนสินธุ์. ความคิดฆ่าตัวตายในวัยรุ่นและปัจจัยที่เกี่ยวข้อง. วารสารคณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา 2561; 26(1) : 40–49.
Jorm, A.F. Mental health literacy: Empowering the community to take action for better mental health. American Psychologist; 2012; 67(3): 231–243.
Would Health Oranization. Orientation programme on adolescent health-care providers: Handdout for module an introduction [Internet]. 2018 [cited 2023 Jan 18]. Available from: http://www.who.int/iris/bitstream/handle/10665/42868/92415 91269_Handout_eng.pdf
Sarah, E., Newcomb, A., Erin, T., & Andrea, L. A person-centered analysis of risk factors that compromise wellbeing in emerging adulthood. Journal of youth and adolescence; 2017; 40(4): 867-883.
วรลักษณ์ อินทร์เดช, ชมชื่น สมประเสริฐ, และ รังสิมันต์ สุนทรไชยา. ผลของโปรแกรมการเสริมสร้างความรอบรู้ด้านสุขภาพจิตแบบออนไลน์ต่อภาวะซึมเศร้าในนักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลาย. วารสารพุทธจิตวิทยา 2566; 6(3): 480-490.