การตั้งครรภ์ไม่พร้อม ในสตรีอายุมาก (ตั้งแต่ 35 ปีขึ้นไป)
คำสำคัญ:
การตั้งครรภ์ไม่พร้อม, สตรีอายุมากบทคัดย่อ
การตั้งครรภ์ไม่พร้อมในสตรีอายุมาก (ตั้งแต่ 35 ปีขึ้นไป) ต้องพบกับปัญหาหลายประการที่ส่งผลต่อการดำเนินชีวิตของหญิงตั้งครรภ์ โดยเฉพาะประเด็นแรกความไม่พร้อมทั้งฝ่ายหญิงและฝ่ายชายในการตั้งครรภ์และเลี้ยงดู สาเหตุได้แก่ 1) พฤติกรรมของคู่สมรสมีการแยกทางหรือการนอกใจของคู่สมรส หรือ คู่สมรสไม่มีความรับผิดชอบ 2) การขาดการวางแผนการตั้งครรภ์ที่ถูกต้อง ไม่คุมกำเนิด หรือขาดความรู้ในการคุมกำเนิด หรือไม่ตระหนักต่อปัญหา หรืออาจมีการคุมกำเนิด แต่มีความผิดพลาดในการคุมกำเนิด 3) สถานการณ์ชีวิตไม่เอื้อต่อการเลี้ยงบุตรเพิ่ม เช่น ต้องทำงานหรือต้องศึกษาต่อไม่สามารถตั้งครรภ์ได้ 4) การตั้งครรภ์นอกสมรสที่ไม่สามารถเปิดเผยได้ 5) มีปัญหาทางเศรษฐกิจ ไม่มีงานทำ หรือรายได้ไม่เพียงพอที่จะเลี้ยงบุตรเพิ่ม และประเด็นที่สอง ปัญหาที่ส่งผลต่อสุขภาพของหญิงตั้งครรภ์ เมืออายุมาก ได้แก่ 1) เกิดความเสี่ยงและมีภาวะแทรกซ้อนขณะตั้งครรภ์จนถึงเสี่ยงชีวิต 2) ความสุขสบายขณะตั้งครรภ์ 3) ความเสี่ยงขณะคลอดที่ส่งผลต่อการเสียชีวิตของลูกและแม่
บทบาทของบุคลากรทางการแพทย์และสาธารณสุข นอกจาก จะให้ความรู้ความเข้าใจประเด็นปัญหาด้านการตั้งครรภ์จากความไม่พร้อมทั้งฝ่ายหญิงและฝ่ายชาย ปัญหาที่ส่งผลต่อสุขภาพขณะตั้งครรภ์ไม่พร้อมในสตรีอายุมากแล้ว ต้องให้ข้อเสนอแนวทางการป้องกันการตั้งครรภ์ไม่พร้อมในสตรีอายุมาก ดังนี้ 1) แนวทางการป้องกันก่อนตั้งครรภ์ โดย การให้ความรู้และการวางแผนการตั้งครรภ์ ส่งเสริมการใช้วิธีคุมกำเนิดที่เหมาะสมและมีประสิทธิภาพ รวมถึงการให้คำปรึกษาเกี่ยวกับการคุมกำเนิดที่ถูกต้อง 2) แนวทางการดูแลและการตรวจคัดกรองระหว่างตั้งครรภ์ โดย สตรีตั้งครรภ์ที่มีอายุมากควรได้รับการตรวจคัดกรองความผิดปกติทางพันธุกรรมของทารกในครรภ์ 3) แนวทางการดูแลสุขภาพจิตและการสนับสนุนทางสังคม โดย สตรีตั้งครรภ์ควรได้รับการสนับสนุนทางจิตใจในการจัดการกับความเครียดและความกังวลที่เกิดขึ้นจากการตรวจคัดกรองและการตั้งครรภ์ การได้รับคำปรึกษาและการสนับสนุนจากสังคม ซึ่งทั้ง 3 แนวทาง ต้องเป็นการให้ข้อมูลแบบคู่สมรส โดยการมีส่วนร่วมของสองฝ่าย เพื่อให้เกิดการวางแผนร่วมพิจารณาทางเลือก ถึง การวางแผนการไม่มีลูกเพื่อป้องกันความเสี่ยง หรือการวางแผนการมีลูกที่เป็นการตั้งครรภ์ที่ตั้งใจ
References
เอกสารอ้างอิง
Nation Statistical Office. Key statistics of Thai- land 2012. [Internet] 2012 [cited 2024 Jun 2].
Available from http://service.nso.go.th/nso/nsopublish/ pubs/pubsfiles/Key55_T.pdf
(in Thai)
Martin JA, Hamilton BE, Osterman MJK. (2016). Births in the United States; 2015.
กระทรวงแรงงาน. กรอบยุทธศาสตรการพัฒนาทรัพยากรมนุษยของประเทศ ระยะ 20 ป (พ.ศ.2560
–2579) [อินเทอร์เน็ต]. 2559 [เข้าถึงเมื่อ 1 มิ.ย. 2567 ]. เข้าถึงได้จาก
http://social.nesdb.go.th/ SocialStat//StatReport_Final.aspx?reportid=
&template=yeartype=M&subcat id=151R2C&
จิรวัฒน พลภักดี. ผลลัพธ์การตั้งครรภ์สตรี ตั้งครรภ์อายุมากกว่าหรือเท่ากับ 35 ป ที่มาคลอด ใน
โรงพยาบาลกันทรลักษณ์ จังหวัดศรีสะเกษ. วารสารวิจัยและพัฒนาสุขภาพศรีษะเกษ; 2567; 3(1): 115-12
กระทรวงแรงงาน. กรอบยุทธศาสตรการพัฒนาทรัพยากรมนุษยของประเทศ ระยะ 20 ป (พ.ศ.2560
–2579) [อินเทอร์เน็ต]. 2559 [เข้าถึงเมื่อ 1 มิ.ย. 2567 ]. เข้าถึงได้จาก
https://www.nstda.or.th/home/knowledge_post/ministryoflabour/
ปวีณา พังสุวรรณ, เกษมศรี ศรีสุพรรณดิฐ. การตั้งครรภ์ในสตรีอายุมาก (Pregnancy in advanced
maternal age) [อินเทอร์เน็ต]. 2560 [เข้าถึงเมื่อ 1 ก.พ. 2567]. เข้าถึงได้จาก
https://w1.med.cmu.ac.th/obgyn/writer/.
กฤตยา อาชวนิจกุล, กุล ภาวจนสาร. ท้องไม่พร้อม การเกิดและสิทธิอนามัยเจริญพันธุ์ [อินเทอร์เน็ต].
[เข้าถึงเมื่อ 1 ก.พ. 2567]. เข้าถึงได้จาก
https://choicesforum.org/wp-content/uploads/2019/05/unintended-pregnancy-births-
and-reproductive-rights.pdf
สายใจ สุวรรณศรี. การศึกษารูปแบบการจัดระบบบริการหญิงตั้งครรภ์ไม่พร้อมและการยอมรับ
การยุติการตั้งครรภ์เครือข่ายจังหวัดหนองคาย. JOURNAL OF ENVIRONMENTAL AND COMMUNITY HEALTH; 2566; 9(1):287-297
สุรัสวดี เกษามา, วรรณภา นาราเวช, สุภา วิตตาภรณ์. ฉากแห่งชีวิตในหญิงที่ตั้งครรภ์
ไม่พร้อมและตั้งครรภ์ต่อ LIFE SCENES OF WOMEN WITH UNPLANNED PREGNANCY AND
CONTINUING TO TERM. วารสารศรีนครินทรวิโรฒวิจัยและพัฒนา. สาขามนุษยศาสตร์และ
สังคมศาสตร์; 2565;14(27):177-192.
ชลรดาก์ พันธุชิน. การดูแลสตรีตั้งครรภ์ไม่ตั้งใจ : บทบาทของพยาบาลผดุงครรภ์. วารสารการ
พยาบาลและการดูแลสุขภาพ; 2561;36(3):6-15.
ณัฐฐิณี ศรีสันติโรจน์. การดูแลสตรีตั้งครรภ์อายุมาก (Advanced Maternal Age). ใน: เพิ่มศักดิ์
สุเมฆศรี, นาเรศ วงศ์ไพฑูรย์พจนีย์, ผดุงเกียรติวัฒนา, ณัฐฐิณี ศรีสันติโรจน์, บรรณาธิการ.
วิทยาการก้าวหน้าในการบริบาลปริกำเนิด. พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพฯ: บริษัท ยูเนี่ยน ครีเอชั่น;
น. 113-118.
ราชวิทยาลัยสูตินรีแพทย์แห่งประเทศไทย. แนวทางเวชปฏิบัติ [อินเทอร์เน็ต]. 2566 [เข้าถึงเมื่อ 9
ม.ค. 2567]. เข้าถึงได้จาก
https://www.rtcog.or.th/files/1685345623_d8d75aab0a3f9b6bc66a.pdf
เบญจวรรณ คล้ายทับทิม, ฉวีวรรณ อยู่สำราญ, นิตยา สินสุกใส. ผลของโปรแกรมการ
สนับสนุนด้านข้อมูลต่อความวิตกกังวล ในสตรีตั้งครรภอายุมากที่ได้รับการเจาะน้ำคร่ำ. วารสาร
การพยาบาลและการดูแลสุขภาพ. 2559;34(2):81-87.
ปณิตา ปรีชากรกนกกุล, ณัชชา วรรณนิยม, พนิดา รัตนเรือง. ผลของการตั้งครรภ์ในสตรีตั้งครรภ์
อายุมากที่มาคลอด ในโรงพยาบาลมหาราชนครราชสีมา.วารสารโรงพยาบาลสกลนคร. 2561; 21(1) : 1-9.
สุกัญญา ม่วงเลี้ยง, ฉวี เบาทรวง, นันทพร แสนศิริพันธ์. ความรู้สึกไม่แน่นอนและการเผชิญ
ความเครียดในสตรีตั้งครรภ์ช่วงรอผลวินิจฉัยการเจาะน้ำคร่ำ.วารสารวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี
อุตรดิตถ์. 2562;11(1):181-196.
รายงานประจำปี พ.ศ.2564. สำนักส่งเสริมสุขภาพ สถาบันพัฒนาอนามัยเด็กแห่งชาติ
สำนักอนามัยผู้สูงอายุกรมอนามัย [อินเทอร์เน็ต]. 2564 [เข้าถึงเมื่อ 1 ก.พ. 2567]. เข้าถึงได้จาก
https://eh.anamai.moph.go.th/th/
Pillitteri A. Maternal and child health nursing: care of the childbearing and childrearing
fam- ily. 7th ed, Philadelphia: Lippincott Williams and Wilkins; 2014.
กาญจนา ศรีสวัสดิ์. การพยาบาลสำหรับสตรีตั้งครรภ์. กรุงเทพมหานคร: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย;
วรรณรัตน์ จงเจริญยานนท์ และคณะ. การพยาบาลสูติศาสตร์. กรุงเทพมหานคร: บริษัท ธนาเพรส
จำกัด; 2566.
บุญศรี จันทร์รัชชกูล. บทความสุขภาพ. พ.ศ.2562. โรงพยาบาลสมิติเวช [อินเทอร์เน็ต]. 2562
[เข้าถึงเมื่อ 25 มิ.ย. 2567]. เข้าถึงได้จาก
https://www.samitivejhospitals.com/th/article/detail/ท้องอายุมาก