การพัฒนารูปแบบการเพิ่มอัตราการเข้าถึงบริการชุดสิทธิประโยชน์การสร้างเสริมสุขภาพและการป้องกันโรคที่ส่งเสริมการเกิดอย่างมีคุณภาพผ่าน Telehealth เขตสุขภาพที่ 10

ผู้แต่ง

  • กัญญนัท ริปันโน -
  • นภัชชล รอดเที่ยง

คำสำคัญ:

การเข้าถึงบริการ, Telehealth, การเกิดอย่างมีคุณภาพ

บทคัดย่อ

            การวิจัยนี้ เป็นวิจัยผสมผสาน มีวัตถุประสงค์ (1) ศึกษาการรับรู้และการเข้าถึงบริการชุดสิทธิประโยชน์ของประชาชนในเขตสุขภาพที่ 10 (2) พัฒนารูปแบบการเข้าถึงบริการ และ (3) ศึกษาทัศนคติและความพึงพอใจต่อรูปแบบการเข้าถึงบริการชุดสิทธิประโยชน์สร้างเสริมสุขภาพและป้องกันโรคที่ส่งเสริมการเกิดอย่างมีคุณภาพผ่าน Telehealth ระหว่างเดือนมีนาคม – พฤศจิกายน 2566 ดำเนินการ 3 ระยะ คือ ระยะที่ 1 ศึกษาปัญหา ระยะที่ 2 พัฒนารูปแบบ ระยะที่ 3 ทดลองใช้และประเมินผล เก็บข้อมูลเชิงคุณภาพกลุ่มตัวอย่างในการศึกษาปัญหาและรับรู้สิทธิสุ่มตัวแทนกลุ่มวัยตามจำนวน 33 คน และเก็บข้อมูลเชิงปริมาณเพื่อประเมินผลสุ่มตัวแทนทุกกลุ่มวัยจำนวน 86 คน นำข้อมูลเชิงคุณภาพมาวิเคราะห์เนื้อหาและเชิงปริมาณวิเคราะห์ด้วยสถิติพรรณนา ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ยและค่าเฉลี่ยเบี่ยงเบน   

          ผลการศึกษา กลุ่มตัวอย่างรู้จักสิทธิประโยชน์การสร้างเสริมสุขภาพและป้องกันส่งเสริมสุขภาพร้อยละ 63.6 รู้จักบริการภายใต้ประกันสุขภาพ ร้อยละ 69.7 เคยใช้บริการตามสิทธิ ร้อยละ 84.8 เข้าถึงบริการครบทุกสิทธิในกลุ่มผู้ใหญ่ กลุ่มเด็ก กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และกลุ่มวัยเรียนวัยรุ่น ร้อยละ 70.0, 50.0, 28.6, 25.0 ตามลำดับ ส่วนใหญ่รู้จักชุดสิทธิประโยชน์จากเจ้าหน้าที่โรงพยาบาลและอาสาสมัครสาธารณสุข มีการพัฒนารูปแบบ 3 ขั้นตอน คือ 1) ประชุมทีมแกนหลัก 2) ลงพื้นที่จริง ออกแบบ Telehealth ได้เป็น แอพพิเคชั่นไลน์หมอออนไลน์ ประกอบด้วย บริการชุดสิทธิประโยชน์ตามกลุ่มวัย การนัดตรวจและการตรวจโรคออนไลน์ 3) ทดลองใช้และประเมินผล หลังใช้ Telehealth พบว่า รู้จักสิทธิประโยชน์สร้างเสริมสุขภาพและป้องกันโรคเพิ่มขึ้น ร้อยละ 80.2 รู้จักสิทธิและบริการ ร้อยละ 90.3 ระดับรับรู้ปานกลางร้อยละ 57.0 ทัศนคติต่อการใช้อยู่ระดับดี ร้อยละ 53.5 และด้านความพึงพอใจอยู่ระดับมาก ร้อยละ 55.8 ผลจากการศึกษานี้ระบบ Telehealth สามารถเพิ่มอัตราการเข้าถึงบริการชุดสิทธิประโยชน์การสร้างเสริมสุขภาพและป้องกันโรคที่ส่งเสริมการเกิดอย่างมีคุณภาพทำให้ประชาชนรู้จักและทราบบริการด้านส่งเสริมสุขภาพได้

References

สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ. คู่มือบริหารกองทุนหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เล่มที่ 1 การบริหารงบบริการทางการแพทย์เหมาจ่ายรายหัว. กรุงเทพฯ: บริษัทศรีเมืองการพิมพ์ จำกัด; 2555.

กลุ่มภารกิจกำกับติดตามประเมินผลสปสช. รายงานผลงานที่สนับสนุนการบริหารจัดการกองทุนหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (H0401) [อินเทอร์เน็ต]. (ม.ป.ท.). [เข้าถึงเมื่อ 5 ก.ค. 2566]. เข้าถึงได้จาก https://hdcservice.moph.go.th/hdc/main/index.php

กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ. การสร้างหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าในประเทศ [อินเทอร์เน็ต]. 2566. [เข้าถึงเมื่อ 5 ก.ค. 2566]. เข้าถึงได้จาก https://hss.moph.go.th.

Anjali Raj Westwood. Telehealth and Maternity. British Journal of Midwifery [Internet]. 2021 [cited 2023 Jun 5]; 29(6). Available from: https://www.britishjournalofmidwifery.com

Penchansky, R., & W.J. Thomas. The Concepts of Access: Definition and Relationship to Consumer Satisfaction, Medical Care; 1981;21(2):127–140.

Davis, F. D. Perceived usefulness, perceived ease of use, and user acceptance of information technology. MIS quarterly; 1989:319-340.

ธนพร ทองจูด. การศึกษาปัจจัยของการตรวจรักษาด้วยโทรเวชกรรมที่มีผลต่อทัศนคติและความตั้งใจเลือกใช้บริการโทรเวชกรรมของผู้รับบริการของโรงพยาบาลรามาธิบดี. [สารนิพนธ์] กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยมหิดล; 2564.

ชีวรัตน์ ชัยสำโรง. การยอมรับเทคโนโลยีการเรียนภาษาผ่านแอปพลิเคชันออนไลน์ ของผู้บริโภคในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล. [วิทยานิพนธ์] กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์; 2561.

Turner, M., Kitchenham, B., Brereton, P., Charters, S., & Budgen, D. Does the technology acceptance model predict actual use? A systematic literaturereview. Information and software technology; 2010;52(5):463-479.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

30-06-2024