การศึกษาเปรียบเทียบประสิทธิผลระบบบำบัดสิ่งปฏิกูลแบบลานทรายกรองของ เทศบาลตำบลบ้านกอก อำเภอเขื่องใน จังหวัดอุบลราชธานีกับ องค์การบริหารส่วนตำบลพังเคน อำเภอนาตาล จังหวัดอุบลราชธานี
คำสำคัญ:
ระบบบำบัดสิ่งปฏิกูล, ระบบบำบัดแบบลานทรายกรอง, การกำจัดสิ่งปฏิกูลบทคัดย่อ
การวิจัยนี้เป็นวิจัยเชิงสำรวจภาคตัดขวาง เพื่อเปรียบเทียบการจัดการสิ่งปฏิกูลด้วยระบบบำบัดแบบลานทรายกรองในพื้นที่ 2 แห่ง ระหว่างให้เทศบาลดำเนินการกับมอบเอกชนดำเนินการ ศึกษาช่วงวันที่ 1 ธันวาคม 2566 ถึง 30 เมษายน 2567 แบ่งเป็น 2 ส่วน คือ 1) สุ่มตัวอย่างตรวจจำนวนไข่หนอนพยาธิ และแบคทีเรียอีโคไลจากระบบบำบัดสิ่งปฏิกูลในน้ำทิ้งสุ่มให้ได้ 3 ลิตร เก็บส่งตรวจไข่พยาธิ 1 ลิตร ส่งตรวจแบคทีเรียอีโคไล 100 มิลลิตรในกากตะกอนสุ่ม 10 จุดๆละ 100 กรัม มาคลุกรวมเป็น 1 กอง เก็บส่งตรวจไข่พยาธิ 400 กรัม ส่งตรวจแบคทีเรียอีโคไล 100 กรัม 2) ประเมินการรับรู้และความพึงพอใจต่อการจัดการสิ่งปฏิกูลโดยเลือกเจาะจงกลุ่มตัวอย่างจากครัวเรือนที่อยู่บริเวณรอบบ่อบำบัดสิ่งปฏิกูลกลุ่มตัวอย่างพื้นที่ละ 123 คน 2 แห่ง รวม 246 คน เก็บข้อมูลจากแบบสัมภาษณ์และแบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลเชิงพรรณนา ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเฉลี่ยเบี่ยงเบน เปรียบเทียบการรับรู้และความพึงพอใจระหว่างเทศบาลกับเอกชนดำเนินการด้วยสถิติ t-test independent
ผลการศึกษา พบว่า พื้นที่เทศบาลตำบลบ้านกอกและองค์การบริหารส่วนตำบลพังเคน มีสิ่งส่งตรวจในน้ำทิ้งไม่พบไข่หนอนพยาธิ และปริมาณแบคทีเรียอีโคไลน้อยกว่าเกณฑ์กำหนด (< 0.1, 780 MPN ต่อ 100 มิลลิตร) ในกากตะกอนไม่พบไข่หนอนพยาธิทั้งสองพื้นที่ และการส่งตรวจปริมาณแบคทีเรียอีโคไล พบว่า บ่อบำบัดของเทศบาลตำบลบ้านกอกมีค่า < 0.1 MPN ต่อกรัม (น้ำหนักแห้ง) ผ่านตามเกณฑ์กำหนด แต่บ่อบำบัดในพื้นที่องค์การบริหารส่วนตำบลพังเคนที่เป็นดำเนินการของเอกชน พบปริมาณแบคทีเรียอีโคไล เท่ากับ 3,300 MPN ต่อกรัม (น้ำหนักแห้ง) เกินค่ากำหนด (< 1,000 MPNต่อกรัม (น้ำหนักแห้ง) เมื่อเปรียบเทียบการรับรู้และความพึงพอใจระหว่างเทศบาลดำเนินการกับให้เอกชนดำเนินการ พบว่า แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P< 0.001) ประชาชนมีการรับรู้และความพึงพอใจในพื้นที่เอกชนดำเนินการมากกว่าการดำเนินการของเทศบาล
References
World Health Organization. IARC Working Group on the Evaluation of Carcinogenic Risks to Humans. Biological agents VOLUME 100A Review of Human Carcinogens. Geneva: WHO Press; 2011.
กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข. รายงานผลการศึกษาสถานการณ์โรคหนอนพยาธิและโปรโตซัวของประเทศไทยปี 2564 [อินเตอร์เน็ต]. 2564 [เข้าถึงเมื่อ 29 ก.ย. 2566]. เข้าถึงได้จาก: http://www.moph.go.th/smf/index .topic=1636.0.
กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข. คู่มือการจัดการสิ่งปฏิกูลอย่างถูกหลักสุขาภิบาล เพื่อป้องกันปัญหาโรคพยาธิใบไม้ตับและมะเร็งท่อน้ำดี. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย; 2559
กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข. คู่มือพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. 2535. พิมพ์ครั้งที่ 7. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย จำกัด; 2557.
อุดม เชื้อน้อย. คู่มือการจัดการสิ่งปฏิกูล (แบบครบวงจร). ใน: สำนักอนามัยสิ่งแวดล้อม กรมอนามัย. พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์สำนักพระพุทธศาสนาแห่งชาติ; 2558
สมบัติ อุยตระกูล. คู่มือการจัดการสิ่งปฏิกูล (แบบครบวงจร). ใน: สำนักอนามัยสิ่งแวดล้อม
กรมอนามัย. พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์สำนักพระพุทธศาสนาแห่งชาติ; 2558
สำนักอนามัยสิ่งแวดล้อม กรมอนามัย. คู่มือการจัดการสิ่งปฏิกูล (แบบครบวงจร). พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์สำนักพระพุทธศาสนาแห่งชาติ; 2558
กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข. กฎกระทรวงสุขลักษณะการจัดการสิ่งปฏิกูล พ.ศ. 2561 [อินเตอร์เน็ต]. 2561 [เข้าถึงเมื่อ 12 พ.ค. 2566]. เข้าถึงได้จาก: http://laws.anamai.moph.go.th.
ธวัช ปทุมพงษ์. ระบบการจัดการสิ่งปฏฺิกูล. การประชุมเชิงปฏิบัติการแลกเปลี่ยนเรียนรู้การพัฒนาคุณภาพระบบบริการอนามัยสิ่งแวดล้อมองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นและกลไกการดำเนินงานตามพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. 2535; 8 มี.ค. 2562.
ไฉไล ช่างดำ และคณะ. การศึกษาระบบบำบัดสิ่งปฏิกูลแบบบ่อทรายกรอง กรณีศึกษาเทศบาลตำบล กุดบาก อำเภอกุดบาก จังหวัดสกลนคร; 2552
Dominique Appling et al. Preliminary study on the effect of wastewater storage in septic tank on E. coli concentration in summer. Open Access. On-site wastewater treatment systems (OWTS). 2013; 5:1141-51 33.
สุรางค์ นุชประยูร. โครงการการวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างระบบการจัดการสิ่งปฏิกูลกับการติดเชื้อพยาธิใบไม้ตับและหนอนพยาธิในลำไส้ชนิดอื่น ๆ. รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์. [ม.ป.ท.]: สํานักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม; 2563.