รูปแบบการดำเนินงานมหัศจรรย์ 1,000 วันแรกของชีวิต กรณีศึกษาอำเภอป่าติ้ว จังหวัดยโสธร

ผู้แต่ง

  • เกษแก้ว เกตุพันธ์ -HPC10
  • ศุภลักษณ์ ธนธรรมสถิต
  • นภัชชล รอดเที่ยง
  • ไปยดา วิรัศมี
  • สิรินทร์ฉัตร์ มีแวว
  • สุกานดา ฟองเมือง

คำสำคัญ:

รูปแบบการดำเนินงาน, มหัศจรรย์ 1,000 วันแรกของชีวิต, อนามัยแม่และเด็ก

บทคัดย่อ

           การวิจัยเชิงผสมผสานนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษารูปแบบและกระบวนการขับเคลื่อนงานโครงการมหัศจรรย์ 1,000 วันแรกของชีวิต การรับรู้และพฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพของผู้ปกครองเด็ก 2-5 ปี  อำเภอป่าติ้ว จังหวัดยโสธร เก็บรวบรวมข้อมูลเชิงคุณภาพจากคณะกรรมการพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับอำเภอ และผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องในการปฏิบัติงาน เก็บข้อมูลเชิงปริมาณโดยใช้แบบสอบถามการรับรู้และพฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพของผู้ปกครองเด็ก 2-5 ปี ที่กำลังศึกษาในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก(ศพด.) ในพื้นที่อำเภอป่าติ้ว วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ จำนวน ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์เนื้อหา

           ผลการศึกษา พบว่า การดำเนินงานมหัศจรรย์ 1,000 วันแรกของชีวิตได้รับรางวัลดีเด่น ระดับเขตสุขภาพที่ 10 โดยใช้เทคนิค 4ช ประกอบด้วย 1) ช.ชวน สาธารณสุขสะท้อนปัญหาผ่านการประชุมคณะกรรมการพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับอำเภอ(พชอ.) เพื่อนำไปสู่การกำหนดเป้าหมายการดำเนินงานร่วมกัน 2) ช.เชื่อม ภารกิจ ด้วยการประสานส่วนตัวเพื่อให้เกิดความสมัครใจ ดำเนินงานร่วมกัน 3) ช.แชร์ แชร์ทรัพยากร คน ของ  4) ช.ชื่นชม เยี่ยมเสริมพลังภาคีเครือข่ายไตรมาสละ 1 ครั้ง เพื่อติดตามและประเมินผลการดำเนินงาน กระบวนการขับเคลื่อนงานเน้นการสร้างภาคีเครือข่าย มีการดำเนินงานในรูปแบบของคณะกรรมการพัฒนาคุณภาพชีวิตอำเภอ (พชอ.) จัดทำบันทึกข้อตกลงร่วมกัน กำหนดเจ้าภาพหลักในการดำเนินงานตามแผนยุทธศาสตร์อย่างชัดเจน การรับรู้และพฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพของผู้ปกครองเด็ก 2-5 ปี พบว่า ผู้ปกครองมีการรับรู้ในระดับปานกลาง คะแนนเฉลี่ย 10.81 คะแนน (S.D.=1.95) และมีพฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพในระดับดี คะแนนเฉลี่ย 8.07 คะแนน (S.D.=1.8)

References

สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี (พ.ศ.2561-2580) ฉบับข้าราชการ [อินเตอร์เน็ต]. 2561 [เข้าถึงเมื่อ 20 ก.ย. 2565]. เข้าถึงได้จาก: http://nscr.nesdc.go.th/ns/

วรสิทธิ์ ศิริพรพาณิชย์. สมองของเด็กปฐมวัย และความจำเป็นในการพัฒนาทักษะสมอง EF 2021 [อินเตอร์เน็ต]. (ม.ป.ท.). [เข้าถึงเมื่อ 15 ต.ค. 2564]. เข้าถึงได้จาก: https://www.rlg-ef.com/

กองแผนงาน กรมอนามัย. แผนยุทธศาสตร์การพัฒนาระบบส่งเสริมสุขภาพและอนามัยสิ่งแวดล้อม ตามแผนพัฒนาสุขภาพแห่งชาติ ในช่วงแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 12 พ.ศ.2560-2564 [อินเตอร์เน็ต]. 2559. [เข้าถึงเมื่อ 9 ก.ย. 2565]; 20-23. เข้าถึงได้จาก: https://planning.anamai.moph.go.th/

กลุ่มอนามัยแม่และเด็ก ศูนย์อนามัยที่ 10 อุบลราชธานี. รายงานสรุปผลการดำเนินงานอนามัยแม่และเด็ก 5 ปีย้อนหลัง. ศูนย์อนามัยที่ 10 อุบราชธานี; 2565.

พิชิต ฤทธิ์จรูญ. การประเมินโครงการ: แนวคิดและการประยุกต์ใช้. กรุงเทพฯ : บริษัท เฮ้าส์ ออฟ เคอร์มิส จำกัด; 2562.

ธเรศ ศรีสถิต. เทคนิคการสร้างการมีส่วนร่วมของภาคประชาชน [อินเตอร์เน็ต]. (ม.ป.ท.). [เข้าถึงเมื่อ 12 ต.ค. 2565]. เข้าถึงได้จาก: https://phichit.labour.go.th/attachments/article.PDF

ชูศักดิ์ ยืนนาน, ศรีสุดา งามขำ, อรุณศรี มงคลชาติ. การศึกษาการดำเนินงานกองทุนหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ กรณีศึกษาการดำเนินงานพื้นที่ต้นแบบการดูแลสุขภาพของเด็กปฐมวัย ในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก โดยองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ภาคเหนือ. วารสารวิจัยและนวัตกรรมทางสุขภาพ [อินเตอร์เน็ต]. 2565. [เข้าถึงเมื่อ 30 พ.ย. 2565]; ปีที่5(ฉบับที่1):168-183. เข้าถึงได้จาก: https://he02.tci-thaijo.org/index.php/jhri/article/view/168-183/176275

สมภาร ศีโล. การนำนโยบายสู่การปฏิบัติ.วารสารวิชาการศิลปศาสตร์และวิทยาศาสตร์[อินเตอร์เน็ต]. 2564. [เข้าถึงเมื่อ 13 ม.ค. 2566]; ปีที่10(ฉบับที่2):1-9. เข้าถึงได้จาก: https://so06.tci-thaijo.org/index.php/JAS_CPRU/issue/view/17165

สมบัติ นามบุรี. ทฤษฎีการมีส่วนร่วมในงานรัฐประศาสนศาสตร์. วารสารวิจยวิชาการ [อินเตอร์เน็ต]. 2562. [เข้าถึงเมื่อ 20 ต.ค. 2566]; ปีที่2(ฉบับที่ 1):183-197. เข้าถึงได้จาก :http://so06.tci-thaijo.org/index.php/jra/article/view/179213/128700

มลุลี แสนใจ, วิภาวดี พิพัฒน์กุล, นภัชชล รอดเที่ยง, อุมาพร สังขฤกษ์. การพัฒนารูปแบบการดำเนินงานเพื่อลดการเสียชีวิตของมารดาในเขตภาคอีสานตอนล่าง; 2561.

กิตติชัย บุษราคัม. การพัฒนารูปแบบกิจกรรมส่งเสริมการอ่านในเด็กปฐมวัย (0-5ปี) โดยใช้ FAN for baby; 2564.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

11-07-2024