รูปแบบการมีส่วนร่วมของชุมชนป้องกันภาวะโลหิตจางจากการขาดธาตุเหล็กในเด็กปฐมวัยตำบลเหล่าเสือโก้ก อำเภอเหล่าเสือโก้ก จังหวัดอุบลราชธานี

ผู้แต่ง

  • ไปยดา วิรัศมี -
  • เจนวิทย์ ศรพรหม
  • นงคาร แสงโชติ

คำสำคัญ:

ภาวะโลหิตจางจากการขาดธาตุเหล็ก, การมีส่วนร่วม, ชุมชน, เด็กปฐมวัย

บทคัดย่อ

                 การวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษากระบวนการพัฒนาแนวทางป้องกันภาวะโลหิตจางจากการขาดธาตุเหล็กแบบชุมชนมีส่วนร่วมและเปรียบเทียบการลดภาวะโลหิตจางจากการขาดธาตุเหล็กในเด็กปฐมวัย กลุ่มตัวอย่างคือ 1) ผู้ให้ข้อมูลสำคัญ คือ เจ้าเหน้าที่สาธารณสุข ครู เจ้าหน้าที่เทศบาล แกนนำชุมชน อาสาสมัครสาธารณสุข ผู้ปกครองจำนวน 17 คน โดยสุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง 2) เด็กปฐมวัยจำนวน 173 คน โดยการสุ่มอย่างง่าย รวบรวมข้อมูลเชิงคุณภาพโดยแบบสัมภาษณ์กึ่งโครงสร้าง วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการวิเคราะห์เนื้อหา ข้อมูลเชิงปริมาณรวบรวมโดยแบบบันทึกผลลัพธ์ความเข้มข้นเลือด และแบบสอบถามความพึงพอใจของผู้ปกครอง วิเคราะห์ด้วยสถิติ แบบวัดซ้ำGeneralized Estimating Equation: GEE และค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ความถี่ ร้อยละ ศึกษาระหว่างมิถุนายน 2566 ถึง มีนาคม 2567ใช้กระบวนการของเคมมิสและแมกทากาต (PAOR) จำนวน 2 วงรอบ แต่ละวงรอบประกอบด้วย 4 ขั้นตอน คือ การวางแผน การปฏิบัติ การสังเกต และการสะท้อนผล

               ผลการศึกษา การพัฒนารูปแบบฯ โดยให้ชุมชนมีส่วนร่วมในการค้นหาสาเหตุ พัฒนาเป็นแนวทางป้องกัน และแนวทางการแก้ไขปัญหาต่อเนื่อง หลังดำเนินงานพบปัจจัยความสำเร็จ 3 ประการ คือ 1) การทำงานแบบร่วมมือร่วมใจ เข้าใจบทบาทหน้าที่และจัดสรรทรัพยากรได้อย่างเหมาะสม 2) การมุ่งผลสัมฤทธิ์ ตั้งเป้าร่วมกัน 3) การสื่อสารประชาสัมพันธ์ทำให้เกิดการตื่นตัวของชุมชน ผลการประเมินภาวะโลหิตจางจากการขาดธาตุเหล็ก ก่อนดำเนินงานเด็กมีค่าเฉลี่ยความเข้มข้นเลือดร้อยละ 31.87 หลังการดำเนินวงรอบที่ 1 ความเข้มข้นเลือดมีค่าเฉลี่ยเพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ 36.49  และวงรอบที่ 2 ความเข้มข้นเลือดมีค่าเฉลี่ยเพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ 37.78 ค่าเฉลี่ยความเข้มข้นเลือดครั้งที่ 2 เปรียบเทียบกับครั้งที่ 1 (baseline) 5.30 (95%CI=1.73-8.87,P-value=0.004) และค่าเฉลี่ยความเข้มข้นเลือด ครั้งที่ 3 เปรียบเทียบกับครั้งที่ 1 4.83 (95%CI=1.17 - 8.49,P-value=0.010) โดยในภาพรวมทุกครั้ง พบค่าคะแนนเฉลี่ยของความเข้มข้นเลือดเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ 4.16 (95% CI 1.23-7.09, P-value 0.005) ความพึงพอใจของผู้ปกครองอยู่ในระดับมากร้อยละ 98.35

References

สำนักโภชนาการ กรมอนามัย. คู่มือแนวทางควบคุมและการป้องกันภาวะโลหิตจางจากการขาดธาตุเหล็ก มปท [cited 2566 1 ธันวาคม]. Available from: https://nutrition2.anamai.moph.go.th/th/anemia/download/?did=200493&id=60174&reload=.

WHO. DAILY IRON SUPPLEMENTATION in infants and children. Printed by the WHO Document Production Services, Geneva, Switzerland. 2016.

WHO. Anemea 2011 [cited 2023 1 December]. Available from: https://www.who.int/health-topics/anaemia#tab=tab_1.

Rojroongwasinkul N, Kijboonchoo K, Wimonpeerapattana W, Purttiponthanee S, Yamborisut U, Boonpraderm A, et al. SEANUTS: the nutritional status and dietary intakes of 0.5–12-year-old Thai children. British Journal of Nutrition. 2013;110(S3):S36-S44.

อุบลราชธานี. ศ. รายงานตัวชี้วัด 0 – 5 ปีแม่และเด็ก. 2564

กรมสุขภาพจิต. ผลการประเมินระดับสติปัญญา และความฉลาดทางอารมณ์ เด็กระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ประจำปี 2564. เอกสารประกอบการประชุมออนไลน์ชี้แจง ผลการประเมินระดับสติปัญญา และความฉลาดทางอารมณ์ เด็กระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ประจำปี 2564. 2565.

สำนักงานหลักประกันสุขสุขภาพแห่งชาติ(สปสช). คู่มือผู้ใช้สิทธิ์หลักประกันสุขภาพแห่งชาติสำหรับประชาชน ปี 2566. หจก.แสงพันธ์ การพิมพ์ : กรุงเทพฯ2566.

สำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ. พ.ร.บ.สุขภาพแห่งชาติ ปีพ.ศ. 2550 2550 [cited 2566 1 ธันวาคม]. Available from: https://www.nationalhealth.or.th/sites/default/files/upload_files/hpp_act_ebook58_08_07_453.pdf.

สำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ. การขับเคลื่อนธรรมนูญว่าด้วยระบบสุขภาพแห่งชาติ:รากฐานการจัดวางอิฐก้อนแรกของระบบสุขภาพพึงประสงค์. นนทบุรี มาตา,2557.

โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลเหล่าเสือโก้ก. ธรรมนูญสุขภาพตำบลเหล่าเสือโก้ก. โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลเหล่าเสือโก้ก อำเภอเสือโก้ก จังหวัดอุบลราชธานี; 2565.

Kemmis S, Mc Taggart R. The Action Research Planner. Victoria: Deakin University. 120. JURNAL MANAJEMEN PENDIDIKAN. 1988.

Vellozo EP, Passos MAZ, Arcanjo F, Vitalle MdS, Fisberg M, Enes C, et al. The Effectiveness of a School-Based Intervention for the Treatment of Iron Deficiency Anaemia. International Journal of Research-GRANTHAALAYAH. 2021;9(5):113-26.

WHO. Iron Deficiency Anaemia Assessment, Prevention, and Control A guide for programme managers2001.

WHO. WHO Global Anaemia estimates 2021 [cited 2024 13 April]. Available from: https://www.who.int/data/gho/data/themes/topics/anaemia_in_women_and_children.

Jopang Y, Petchmark S, Jetsrisuparb A, Sanchaisuriya K, Sanchaisuriya P, Schelp FP. Community participation for thalassemia prevention initiated by village health volunteers in northeastern Thailand. Asia Pacific Journal of Public Health. 2015;27(2):NP2144-NP56.

นภัสวรรณ ชนะพาล. รูปแบบการดำเนินงานการจัดการภาวะซีดในเด็กนักเรียน ระดับประถมศึกษา อำเภอแก้งคร้อ จังหวัดชัยภูมิ. วารสารศูนย์อนามัยที่ 9: วารสารส่งเสริมสุขภาพและอนามัย สิ่งแวดล้อม. 2022;16(2):565-80.

ปิยะ ปุริโส, ลัดดำ ดีอันกอง, กัญญภัทร คำโสม, ธิโสภิญ ทองไทย, ทัศนีย์ รอดชมภู. ความชุกและปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับภาวะโลหิตจางจากการขาดธาตุเหล็ก ในเด็กปฐมวัย (อายุ 6–72 เดือน) เขตสุขภาพ ที่ 7. Thailand Journal of Health Promotion and Environmental Health-วารสาร การ ส่งเสริม สุขภาพ และ อนามัย สิ่งแวดล้อม. 2021;44(2):39-53.

บุษบา อรรถาวีร์, บำเพ็ญ พงศ์เพชรดิถ. การควบคุมและป้องกันภาวะโลหิตจางจากการขาดธาตุเหล็กในเด็ก อายุ 6-12 เดือน. Nursing Journal of The Ministry of Public Health. 2020;30(1):82-93.

อัญชลี ภูมิจันทึก, ชัชฎา ประจุดทะเก, ประดับ ศรีหมื่นไวย. สถานการณ์และปัจจัยที่มีผลต่อภาวะซีดในเด็กปฐมวัย เขตสุขภาพ ที่ 9. วารสารศูนย์อนามัยที่ 9: วารสารส่งเสริมสุขภาพและอนามัยสิ่งแวดล้อม. 2562;13(31):178-90.

Karim Bahgat, Haidy Nasr, Samar Kamel, El-Sayed. Effect of iron deficiency on behavior and cognition in children. International Journal of Health Sciences (IJHS). 2022:998-1011.

Shet AS, Zwarenstein M, Rao A, Jebaraj P, Arumugam K, Atkins S, et al. Effect of a community health worker–delivered parental education and counseling intervention on Anemia cure rates in rural Indian children: A pragmatic cluster randomized clinical trial. JAMA pediatrics. 2019;173(9):826-34.

ธัญพิชชญา พิมพ์ดี. การพัฒนาการมีส่วนร่วมของชุมชนในการส่งเสริมพัฒนาการเด็กเล็ก กรณีศึกษา : ตำบลนิคมคำสร้อย อำเภอนิคมคำสร้อย จังหวัดมุกดาหาร.วารสารวิจัยและพัฒนาระบบสุขภาพ. 2564 ; 14:320-32

Shet AS. Community-Based Interventions: Implications for Childhood Anemia Prevention and Control in India: Karolinska Institutet (Sweden); 2018.

Apu MAI, Halder D, Shuvo MS, Sarker MR. Iron Deficiency in Children Can Impair Growth and Contribute to Anemia. American Journal of Health Research. 2023;11(2):58-67.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

29-08-2024