ระบบการให้บริการหญิงตั้งครรภ์ไม่พร้อม ภายใต้กฎหมายและข้อบังคับแพทยสภาในเขตสุขภาพที่ 10
คำสำคัญ:
ระบบบริการ , ตั้งครรภ์ไม่พร้อม , การยุติการตั้งครรภ์ที่ปลอดภัย , การปรึกษาทางเลือกบทคัดย่อ
การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาระบบการจัดบริการหญิงตั้งครรภ์ไม่พร้อมภายใต้กฎหมายและข้อบังคับแพทยสภาในเขตสุขภาพที่ 10 โดยใช้วิธีการเชิงผสมผสานในการเก็บข้อมูลเชิงปริมาณจากคณะกรรมการและเครือข่ายอาสา RSA จำนวน 71 คน และสัมภาษณ์แพทย์และเจ้าหน้าที่สาธารณสุขจำนวน 7 คน ระหว่างเดือนธันวาคม 2566 ถึงกุมภาพันธ์ 2567 วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนาและการวิเคราะห์เนื้อหา
ผลการศึกษา พบว่า โรงพยาบาลที่มีบริการยุติการตั้งครรภ์มีความพร้อมมากกว่าทั้งในด้านสถานที่ การจัดบริการ และช่องทางการให้คำปรึกษา โดยเฉพาะในกรณีที่อายุครรภ์น้อยกว่า 12 สัปดาห์ โรงพยาบาลที่มีการจัดบริการมีความพร้อมในการให้คำปรึกษาร้อยละ 81 เทียบกับร้อยละ 51.5 ของโรงพยาบาลที่ไม่มีบริการ นอกจากนี้ โรงพยาบาลที่มีบริการยุติการตั้งครรภ์ยังมีช่องทางการให้คำปรึกษาที่หลากหลายกว่า เช่น คลินิกให้คำปรึกษาทางเลือก (ร้อยละ 85.7) เมื่อเปรียบเทียบกับโรงพยาบาลที่ไม่มีบริการ (ร้อยละ 57.5) ซึ่งโรงพยาบาลที่มีบริการยุติการตั้งครรภ์มีความเข้าใจและปฏิบัติตามพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายอาญา (ฉบับที่ 28) พ.ศ. 2564 อย่างครบถ้วน รวมถึงการให้บริการทุกขั้นตอน ขณะที่โรงพยาบาลที่ไม่มีบริการอาจขาดการให้บริการบางขั้นตอน สำหรับอุปสรรคที่พบ คือ ทัศนคติของบุคลากรที่ขัดกับการยุติการตั้งครรภ์ ขาดทรัพยากร และการประสานงานที่ไม่ราบรื่นการแก้ไขปัญหาเหล่านี้ต้องการการสนับสนุนในการประสานงาน การเพิ่มจำนวนบุคลากร และการฝึกอบรมบุคลากรให้มีความเชี่ยวชาญมากขึ้น
ข้อเสนอแนะสำหรับการพัฒนาบริการยุติการตั้งครรภ์ ได้แก่ การสร้างเครือข่ายการประสานงานที่มีประสิทธิภาพ การอบรมบุคลากร การเพิ่มงบประมาณและบุคลากร การปรับปรุงกฎระเบียบและการศึกษาเพิ่มเติมเกี่ยวกับความพึงพอใจและการเข้าถึงบริการ
References
WHO. Abortion 2023 [cited 2023 9 March]. Available from: https://www.who.int/news-room/fact-sheets/detail/abortion.
Guttmacher Institute. Thailand country profile, Unintended pregnancy and abortion 2023 [cited 2023 12 March]. Available from: https://www.guttmacher.org/regions/asia/thailand.
สำนักอนามัยการเจริญพันธุ์. รายงานเฝ้าระวังการแท้งประเทศไทย พ.ศ. 2563. 2563. Report No.: รายงานปี 2563, หน้า 3.
พระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายอาญา (ฉบับที่ 28) พ.ศ.2564. ราชกิจจานุเบกษา. 2564. Report No.: เล่มที่ 138 ตอนที่ 10ก, หน้า 1-2.
ประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่อง การตรวจและรับคำปรึกษาทางเลือกในการยุติการตั้งครรภ์ตามมาตรา 305 (5) แห่งประมวลกฎหมายอาญา พ.ศ. 2565. ราชกิจจานุเบกษา. 2565. Report No.:
เล่มที่ 139 ตอนพิเศษ 228ง, หน้า 1-3.
บุญฤทธิ์ สุขรัตน์. รายงานผลการให้บริการยุติการตั้งครรภ์ที่ปลอดภัย ปีงบประมาณ 2559 -25642566.
เรืองกิตติ์ ศิริกาญจนกูล. เครือข่าอาสา RSA (Referral System For Safe Abortion) เพื่อการส่งต่อยุติการตั้งครรภ์ที่ปลอดภัย2566.
บุญชม ศรีสะอาด. การวิจัยเบื้องต้น. กรุงเทพมหานคร: สุวีริยาสาส์น; 2535.
สุธาทิพย์ บูรณสถิตนนท์, จันทร์เพ็็ญ หอมประคอง, พิมพ์พร พันธุมาศ, จินตนา สุวรรณ, สมใจ รัตนพงษ์. การจัดบริการยุติการตั้งครรภ์ที่ปลอดภัยในประเทศไทย. วารสารสาธารณสุขศาสตร์. 2563;50(3):121-31.
กฤตยา อาชวนิจกุล, ประภัสสร โสตถิวิสุทธิ์, ธนพร ธนาวิสุทธิ์. ความพร้อมของระบบบริการสุขภาพและสังคมในการรองรับการยุติการตั้งครรภ์ที่ปลอดภัย. วารสารสังคมศาสตร์. 2561;14(1):67-75.
วราภรณ์ จิระพงษา, พรรณี วงศ์สุนทร, สุนีย์รัตน์ แสงแก้ว. การพัฒนารูปแบบการให้บริการปรึกษาทางเลือกแก่ผู้หญิงท้องไม่พร้อม. วารสารวิจัยการพยาบาล. 2560;34(4):203-11.
Juma K. Health systems’ preparedness to provide post-abortion care: assessment of health facilities in Burkina Faso, Kenya and Nigeria. BMC Health Services Research. 2020;22(1):245.
สุรศักดิ์ คงอนุสรณ์, สกุลทอง สุวรรณ, พรรณิภา วัฒนชัย. การพัฒนาระบบการรับ-ส่งต่อบริการยุติการตั้งครรภ์ในประเทศไทย. วารสารการแพทย์. 2562;35(2):105-15.
Susheela Singh, Lisa Remez, Gilda Sedgh, Lorraine Kwok, Tsuyoshi Onda. Abortion Worldwide 2018: Uneven Progress and Unequal Access. New York: Guttmacher Institute; 2018.
Persson M, Larsson EC, Islam NP, Gemzell-Danielsson K, Klingberg-Allvin M. A qualitative study on health care providers’ experiences of providing comprehensive abortion care in Cox’s Bazar, Bangladesh. Conflict and Health. 2021;15:1-12.
วิจิตร ศรีวรรณ. อุปสรรคในการจัดบริการยุติการตั้งครรภ์ในพื้นที่ชนบทของประเทศไทย. วารสารวิจัยสาธารณสุข. 2561;12(2):145-57.