ประสิทธิผลของโปรแกรมการประยุกต์ใช้แบบแผนความเชื่อด้านสุขภาพและความรอบรู้ด้านสุขภาพต่อพฤติกรรมเสี่ยงโรคไตเรื้อรังในผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดที่ 2 อำเภอขุนหาญ จังหวัดศรีสะเกษ
คำสำคัญ:
โรคไต , พฤติกรรมเสี่ยง, แบบแผนความเชื่อด้านสุขภาพบทคัดย่อ
การศึกษาครั้งนี้เป็นการวิจัยแบบกึ่งทดลอง วัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบการรับรู้ตามแบบแผนความเชื่อด้านสุขภาพ ความรอบรู้ด้านสุขภาพ พฤติกรรมเสี่ยงโรคไตเรื้อรัง น้ำตาลในเลือด อัตราการกรองของไต ก่อนและหลังใช้โปรแกรมของกลุ่มทดลอง และหลังใช้โปรแกรมระหว่างกลุ่มทดลองและกลุ่มเปรียบเทียบ กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดที่ 2 จำนวน 64 คน แบ่งเป็นกลุ่มทดลอง 32 คน กลุ่มเปรียบเทียบ 32 คน เลือกกลุ่มตัวอย่างด้วยวิธีการสุ่มแบบเจาะจง เก็บข้อมูลพฤษภาคม – มิถุนายน 2567 เครื่องมือที่ใช้ คือ โปรแกรมปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเสี่ยงโรคไตเรื้อรังที่ประยุกต์ใช้แบบแผนความเชื่อด้านสุขภาพและความรอบรู้ด้านสุขภาพ ระยะเวลา 8 สัปดาห์ เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูล คือ แบบสอบถาม มีทั้งหมด 4 ส่วน ได้แก่ ข้อมูลทั่วไป การรับรู้ตามแบบแผนความเชื่อด้านสุขภาพ ความรอบรู้ด้านสุขภาพ และพฤติกรรมเสี่ยงต่อโรคไตเรื้อรัง วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา เปรียบเทียบค่าเฉลี่ยด้วยสถิติ Paired t-test และ Independent t-test
ผลการวิจัยพบว่า หลังใช้โปรแกรมฯ กลุ่มทดลองมีค่าเฉลี่ยแบบแผนความเชื่อด้านสุขภาพ ค่าเฉลี่ยความรอบรู้ด้านสุขภาพต่อการป้องกันโรคไตเรื้อรัง และอัตราการกรองของไตมากกว่าก่อนใช้โปรแกรมฯ และมากกว่ากลุ่มเปรียบเทียบอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 หลังใช้โปรแกรมฯ กลุ่มทดลองมีพฤติกรรมเสี่ยงต่อโรคไตเรื้อรังและระดับน้ำตาลในเลือดน้อยกว่าก่อนใช้โปรแกรมฯ และน้อยกว่ากลุ่มเปรียบเทียบอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ผลการวิจัยแสดงให้เห็นว่า โปรแกรมปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเสี่ยงต่อโรคไตเรื้อรังที่สร้างขึ้นจากแบบแผนความเชื่อด้านสุขภาพและแนวคิดความรอบรู้ด้านสุขภาพ โดยใช้การรับรู้โอกาสเสี่ยง ความรุนแรง ประโยชน์ อุปสรรค และความสามารถของตน รวมถึงฝึกทักษะการใช้ความรอบรู้ด้านสุขภาพสามารถปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเสี่ยงต่อโรคไตเรื้อรัง เพิ่มอัตราการกรองของไต และลดระดับน้ำตาลในเลือดของผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 จึงควรนำไปใช้ต่อยอดหรือถอดบทเรียนเพื่อนำไปใช้ในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมโรคเรื้อรังอื่นๆในพื้นที่ต่อไป
References
World Health Organization. Global Health Estimates: WHO methods and data sources for global causes of death, 2000-2019 [Internet]. 2019 [cited 2024 Jan 20]; Available from: https://www.who.int/data/global-health-estimates
Kovesdy CP. Epidemiology of chronic kidney disease: an update 2022 [Internet]. 2022 [cited 2024 Jan 20]; Available from: https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC9073222/
Mayo Clinic. Kidney disease: Symptoms and causes [Internet]. 2022 [cited 2024 Jan 20]; Available from: https://www.mayoclinic.org/diseasesconditions/kidney-disease/symptoms-causes/syc-20354521
กมลทิพย์ วิจิตรสุนทรกุล. ระบาดวิทยาและการทบทวนมาตรการป้องกันโรคไตเรื้อรัง. กรุงเทพฯ: กรมควบคุมโรค กองโรคไม่ติดต่อ กระทรวงสาธารณสุข; ม.ป.ป.
สำนักโรคไม่ติดต่อ กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข. คู่มือปฏิบัติการเพื่อดำเนินงานลดโรคไตเรื้อรัง (CKD) ในผู้ป่วยเบาหวานและความดันโลหิตสูง. กรุงเทพฯ: กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข; 2558.
ระบบฐานข้อมูลสุขภาพ กระทรวงสาธารณสุข [อินเทอร์เน็ต]. [เข้าถึงเมื่อ 23 ม.ค. 2567]. เข้าถึงได้จาก: https://hdcservice.moph.go.th/hdc/index.php
Ong-Artborirak P, Seangpraw K, Boonyathee S, Auttama N, Winaiprasert P. Health literacy, self-efficacy, self-care behaviors, and glycemic control among older adults with type 2 diabetes mellitus: a cross-sectional study in Thai communities. BMC Geriatr [Internet]. 2023 [cited 2024 Jan 20]; Available from: https://bmcgeriatr.biomedcentral.com/articles/10.1186/s12877-023-04010-0.
ชูสง่า สีสัน, ธณกร ปัญญาใสโสภณ. ประสิทธิผลของโปรแกรมความรอบรู้ด้านสุขภาพสำหรับผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดที่ 2 โรงพยาบาลปักธงชัย. วารสารการแพทย์โรงพยาบาลศรีสะเกษ สุรินทร์ บุรีรัมย์. 2564;36(3):519-532.
เสถียร โนนน้อย. ผลของโปรแกรมพัฒนาความรอบรู้ด้านสุขภาพกับพฤติกรรมสุขภาพตามหลัก 3อ 2ส ของประชาชนในเขตตำบลพิงพวย อำเภอศรีรัตนะ จังหวัดศรีสะเกษ. วารสารวิจัยและพัฒนาสุขภาพศรีสะเกษ. 2567;3(1):46-60.
Yu PS, Tsai YC, Chiu YW, Hsiao PN, Lin MY, Chen TH, Wang SL, Kung LF, Hwang SM, Hwang SJ, Kuo MC. The relationship between subtypes of health literacy and selfcare behavior in chronic kidney disease. J Pers Med [Internet]. 2021 Jun;11(6):447. Available from: https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC8224639/
บุษรินทร์ สุวรรณมาโจ. ผลของโปรแกรมการดูแลตนเองตามแบบแผนความเชื่อด้านสุขภาพเพื่อชะลอการเสื่อมของไตในผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังระยะที่ 3 โรงพยาบาลโพนสวรรค์ จังหวัดนครพนม. วารสารสุขภาพและสิ่งแวดล้อมศึกษา. 2567;9(1):703-713.
เกษร ศรีธรรมมา. ผลการใช้กิจกรรมกลุ่มและแบบแผนความเชื่อด้านสุขภาพที่มีต่อพฤติกรรมการดูแลตนเองของกลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวานในจังหวัดร้อยเอ็ด. วารสารวิจัยและพัฒนานวัตกรรมทางสุขภาพ. 2563;1(3):177-189.
Rosenstock IM, Strecher VJ, Becker MH. Social learning theory and the health belief model. Health education quarterly 1988;15:175-83.
กรมอนามัย, กระทรวงสาธารณสุข. คู่มือกระบวนการสร้างความรอบรู้ด้านสุขภาพในการป้องกันควบคุมโรคและภัยสุขภาพ [อินเทอร์เน็ต]. 2564 [เข้าถึงเมื่อ 20 ม.ค. 2567]. เข้าถึงได้จาก: https://ddc.moph.go.th/uploads/publish/1188920211018040126.pdf
จำปานาฏ มงคลเคหา. ผลของโปรแกรมพัฒนาพฤติกรรมป้องกันภาวะแทรกซ้อนของผู้ป่วย เบาหวานชนิดที่ 2 อำเภอนากลาง จังหวัดหนองบัวลำภู. [วิทยานิพนธ์] นนทบุรี: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช; 2563. 166หน้า.
Cohen, J. Statistical power for the behavioral sciences (2nd ed). New York: Academic Press; 1988.
วรกร วิชัยโย, เพ็ญศิริ จงสมัคร, สิริพร ชัยทอง, ศิริษา โคตรบุดดา. ผลของโปรแกรมการประยุกต์ใช้แบบแผนความเชื่อด้านสุขภาพเพื่อป้องกันโรคหลอดเลือดสมองในผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงและผู้ป่วยโรคเบาหวาน อำเภอนามน จังหวัดกาฬสินธุ์. วารสารวิจัยและพัฒนาระบบสุขภาพ. 2564;14(2):25-35.
ภคภณ แสนเตชะ, ประจวบ แหลมหลัก. ผลของโปรแกรมพัฒนาความรอบรู้ด้านสุขภาพในผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดที่ 2 ตำบลแม่ปืม อำเภอเมือง จังหวัดพะเยา. วารสารสุขศึกษา. 2563;43(2):150-164.
อารีรัตน์ แพงยอด. ผลของโปรแกรมการส่งเสริมพฤติกรรมสุขภาพตามแบบแผนความเชื่อด้านสุขภาพเพื่อควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดของผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 ที่ควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดไม่ได้โรงพยาบาลนาหว้า จังหวัดนครพนม. วารสารอนามัยสิ่งแวดล้อมและสุขภาพชุมชน. 2567;9(3):297-305.
ณิชซารีย์ ภูมิพาณิชย์ชัย, วีสิน อิศรางกูร ณ อยุธยา, สนใจ ไชยบุญเรือง. ประสิทธิผลของโปรแกรมการให้ความรู้ต่อพฤติกรรมการปฏิบัติตัวเพื่อ ชะลอการเสื่อมของไตในคลินิกโรคไตเรื้อรัง โรงพยาบาลพล อำเภอพล จังหวัดขอนแก่น. วารสารวิทยาลัยบัณฑิตเอเซีย. 2565;12(2): เมษายน-มิถุนายน.
Bushra A, Eman A. Effects of health literacy on type 2 diabetic patients' glycemic control, self-management, and quality of life. Saudi Med J 2022;43(5):465-72. Available from: https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC9280600/