การพัฒนารูปแบบชุมชนที่เป็นมิตรกับผู้สูงอายุ เขตสุขภาพที่ 4
คำสำคัญ:
ชุมชนที่เป็นมิตรกับผู้สูงอายุ, การมีส่วนร่วม , ชุมชนเป็นฐาน , คุณภาพชีวิตบทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1. ศึกษาสถานการณ์ในพื้นที่ 2. พัฒนารูปแบบชุมชนที่เป็นมิตรกับผู้สูงอายุตาม 8 องค์ประกอบ เมืองที่เป็นมิตรขององค์การอนามัยโลก และ 3. ประเมินคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุ เป็นการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วมโดยใช้ชุมชนเป็นฐาน กลุ่มตัวอย่าง คือ 1) แกนนำชุมชนเป็นผู้ที่มีส่วนได้เสีย จำนวน 20 คน เก็บข้อมูลด้วยแบบสัมภาษณ์แบบกึ่งโครงสร้างและวิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์เนื้อหา 2) ผู้สูงอายุ จำนวน 64 คน เก็บข้อมูลด้วยแบบสอบถามคุณภาพชีวิต WHOQOL-BREF-THAI มีค่าความเชื่อมั่น เท่ากับ 0.80 ค่าความเที่ยงตรง เท่ากับ 0.84 วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติ Paired t-test
ผลการศึกษา ดังนี้
- สถานการณ์ในพื้นที่มีการเตรียมความพร้อมในการรองรับเข้าสู่สังคมสูงอายุ มีแผนดำเนินงานส่งเสริมสุขภาพในกลุ่มเปราะบาง แต่ยังไม่มีการนำ 8 องค์ประกอบเมืองที่เป็นมิตรขององค์การอนามัยโลก (WHO) มาใช้
- เกิดรูปแบบการทำงานแบบมีส่วนร่วม 6 ขั้นตอนคือ 1) ศึกษาสถานการณ์ชุมชนตาม
8 องค์ประกอบฯ และคืนข้อมูลเพื่อร่วมออกแบบกิจกรรม 2) พัฒนารูปแบบการดำเนินการแบบมีส่วนร่วมของชุมชนโดยการนำของท้องถิ่นด้วยการร่วมออกแบบกิจกรรม ร่วมดำเนินงาน และร่วมประเมินผล
กับทุกภาคส่วนในชุมชน 3) รวบรวมข้อมูลและระบุผู้มีส่วนร่วมสำคัญ 4) ดำเนินงานตามแผน 5) การวิเคราะห์ รายงานผล 6) ประเมินผล - ผลการประเมินคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุเปรียบเทียบก่อนและหลังการดำเนินงาน โดยภาพรวมคะแนนเฉลี่ยเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ 4.4 คะแนน (95%CI=1.87-5.43, p-value <0.001)
แยกรายด้านพบทุกด้านมีค่าเฉลี่ยเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ ดังนี้ 1) ด้านสุขภาพกาย 2.2 คะแนน (95%CI=1.51-4.59, p-value <0.001) 2) ด้านจิตใจ 3.3 คะแนน (95%CI=1.47-5.32, p-value <0.001) 3) ด้านสัมพันธภาพทางสังคม 1.2 คะแนน (95%CI=1.13-2.23, p-value 0.024) และ 4) ด้านสิ่งแวดล้อม 2.3 คะแนน (95%CI=1.77-4.78, p-value <0.001)
สรุปผลการศึกษา การพัฒนารูปแบบชุมชนที่เป็นมิตรกับผู้สูงอายุอย่างมีส่วนร่วมโดยใช้ชุมชนเป็นฐาน สามารถพัฒนากระบวนการและทำให้คุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุในพื้นที่ดีขึ้น จึงเป็นแนวทางการดำเนินงานที่สามารถนำไปขยายผลการดำเนินงานต่อไป
References
World Health Organization. Ageing and health [Internet]. 2022. [cited 2023 Mar 1]. Available from: https://www.who.int/news-room/fact-sheets/detail/ageing-and-health
สำนักบริหารการทะเบียน กรมการปกครอง. ประชากรรายอายุ. กรมการปกครองกระทรวงมหาดไทย [อินเทอร์เน็ต]. 2567. [เข้าถึงเมื่อ15 มิ.ย. 2567]. เข้าถึงได้จาก: https://stat.bora.dopa.go.th/stat/statnew/statMONTH/statmonth/#/displayData
สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. การประเมินผลกระทบและความยั่งยืนของการบริโภคของผู้สูงอายุภายใต้ระบบบำนาญของประเทศไทย. กองพัฒนาข้อมูลและตัวชี้วัดสังคม; 2566.
Treeratanaporn T, Keton S, Roengketgorn K, Phoonthongkham B, editors. Application of fall detection for the elderly: a case study of Thailand. 2021 Research, Invention, and Innovation Congress: Innovation Electricals and Electronics (RI2C); 2021. IEEE.
มูลนิธิและสถาบันวิจัยและพัฒนาผู้สูงอายุไทย. รายงานสถานการณ์ผู้สูงอายุ ปี 2565. 2565.
ระบบคลังข้อมูลด้านการแพทย์และสุขภาพ กระทรวงสาธารณสุข (HDC). จำนวนผู้สูงอายุในเขตพื้นที่รับผิดชอบ จำแนกตามความสามารถในการทำกิจวัตรประจำวัน [อินเทอร์เน็ต]. 2567. [เข้าถึงเมื่อ 1 มี.ค. 2567]. เข้าถึงได้จาก: https://hdcservice.moph.go.th/hdc/reports/report.php?source=pformated/format1.php&cat_id=6966b0664b89805a484d7ac96c6edc48&id=953a2fc648be8ce76a8115fbb955bb51
ระบบการดูแลระยะยาวด้านสาธารณสุข. ผู้สูงอายุพึ่งพิง [อินเทอร์เน็ต]. 2567. [เข้าถึงเมื่อ 1 มี.ค. 2567]. เข้าถึงได้จาก: ttps://ltc.anamai.moph.go.th/.
World Health Organization. The WHO Age-friendly Cities Framework [Internet]. 2017. [cited 2023 Mar 2]. Available from: https://extranet.who.int/agefriendlyworld/age-friendly-cities-framework/
World Health Organization. WHOQOL: Measuring Quality of Life [Internet]. 2012.[cited 2023 Mar 5]. Available from: https://www.who.int/tools/whoqol
World Health Organization. Global age-friendly cities: a guide. World Health Organization [Internet]. 2007. [cited 2023 Feb 22]. Available from: https://iris.who.int/handle/10665/43755
Hills M, Mullett J, Carroll S. Community-based participatory action research: transforming multidisciplinary practice in primary health care. Revista Panamericana de Salud Publica. 2007;21:125-35.
Burns JC, Cooke DY, Schweidler C. A short guide to community-based participatory action research: A Community Research Lab Guide. Healthy City [Internet]. 2011. [cited 2023 Feb 22]. Available from: https://advancementprojectca org
Mahatnirunkul S. The construction of Suan Prung stress test for Thai population. Bulletin of Suan Prung. 1997;13:1.
พิสมัย ศรีเนตร, กิ่งกาญจน์ สำนวนเย็น, ศิริพร จันทนสกุลวงศ์, อรุณี สัณฐิติวณิชย์, กรุงไท นพรัตน์. ทุนชุมชนกับการส่งเสริมคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุ: กระบวนการปรับประยุกต์ใช้ทุนชุมชนขององค์การบริหารส่วนตำบลหัวดอน อำเภอเขื่องใน จังหวัดอุบลราชธานี. วารสารสังคมศาสตร์ปัญญาพัฒน์. 2024;6(1):421-34.
บังอร เบ็ญจาธิกุล, จรินทร์ สวนแก้ว, ชินวัจน์ กัลยาณมิตร, ชูชีพ เบียดนอก, เอราวัณ ทับพลี, อัมพร ปัญญา. การมีส่วนร่วมในการพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุขององค์การบริหารส่วนตำบลบางขนุน
อำเภอบางกรวย จังหวัดนนทบุรี. วารสารมณีเชษฐารามวัดจอมมณี. 2023;6(2):113-28.
วสันต์ ปวนปันวงศ์. แนวคิดอารยสถาปัตย์: นโยบายและแนวทางพัฒนาคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุอย่างมีส่วนร่วมของชุมชน กรณีศึกษาเทศบาลเมืองอรัญญิก จังหวัดพิษณุโลก. วารสารวิทยาลัยสงฆ์นครลำปาง. 2022;11(3):162-80.
Fitzgerald KG, Caro FG. An overview of age-friendly cities and communities around the world. Journal of aging & social policy. 2014;26(1-2):1-18.
Rémillard-Boilard S, Buffel T, Phillipson C. Developing age-friendly cities and communities: Eleven case studies from around the world. International journal of environmental research and public health. 2021;18(1):133.
เบญจมาศ เมืองเกษม. รูปแบบเมืองที่เป็นมิตรต่อผู้สูงอายุในเขตตำบลบ้านดู่อำเภอเมือง จังหวัดเชียงราย. วารสาร มจร มนุษยศาสตร์ปริทรรศน์. 2565;7(1):239-54.
นลินดา สุวรรณประสพ, นิจ ตันติศิรินทร์. การประเมินความเหมาะสมและแนวทางการพัฒนาพื้นที่เมืองให้เป็นมิตรต่อผู้สูงอายุทางด้านกายภาพ: กรณีศึกษาเทศบาลนครรังสิต. วารสารวิจัยและสาระสถาปัตยกรรม/การผังเมือง. 2563;17(1):157-72.
ดุลคนิต ดุรงฤทธิ์. บทบาทขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในพื้นที่อำเภอเมืองระยองในการพัฒนาเมืองที่เป็นมิตรต่อผู้สูงอายุ.จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย; 2564.
อัญชนา แก่ท่าขาม. แนวทางการพัฒนาเมืองที่เป็นมิตรต่อผู้สูงอายุของเทศบาลตำบลบ้านเชียง
อำเภอหนองหาน จังหวัดอุดรธานี. พัฒนวนัมรุง มหาวิทยาลัย ราชภัฏบุรีรัมย์. 2024;1(1):94-122.
ศิรประภา หล้าสิงห์, สุมัทนา กลางคาร, ศิรินาถ ตงศิริ. การพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุโดยการมีส่วนร่วมของชุมชน. วารสารวิชาการสาธารณสุขชุมชน. 2020;6(02):29-40.
จุฑารัตน์ บุตรดีขันธ์. การศึกษาการพัฒนารูปแบบการส่งเสริมคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุในอำเภอรัตนบุรี จังหวัดสุรินทร์. วารสารศูนย์อนามัยที่ 9: วารสารส่งเสริมสุขภาพและอนามัย สิ่งแวดล้อม. 2023;17(3):1092-107.
Aung MN, Koyanagi Y, Ueno S, Tiraphat S, Yuasa M. Age-friendly environment and community-based social innovation in Japan: A mixed-method study. The Gerontologist. 2022;62(1):89-99.