ศึกษารูปแบบการบริหารจัดการมูลฝอยติดเชื้อของจังหวัดยโสธร

ผู้แต่ง

  • จุรีภรณ์ คูณแก้ว -
  • ไกรวัลย์ มัฐผา

คำสำคัญ:

มูลฝอยติดเชื้อ, การจัดการมูลฝอยติดเชื้อ, โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล

บทคัดย่อ

             การวิจัยนี้เป็นวิจัยเชิงพรรณนา เพื่อศึกษาระบบการบริหารจัดการมูลฝอยติดเชื้อและผลของการบริหารจัดการมูลฝอยติดเชื้อตามเกณฑ์มาตรฐานของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลในจังหวัดยโสธร กลุ่มตัวอย่าง คือ กลุ่มผู้บริหารสาธารณสุขอำเภอ 5 คนและกลุ่มผู้รับผิดชอบการจัดการมูลฝอยติดเชื้อ จำนวน 86 คน เลือกตัวอย่างแบบเจาะจงเป็นอำเภอที่ในโรงพยาบาลชุมชนมีการจัดการมูลฝอยติดเชื้อผ่านตามมาตรฐานและขนส่งมูลฝอยติดเชื้อโดยรถเฉพาะสำหรับเก็บขนมูลฝอยติดเชื้อ เก็บข้อมูลด้วยแบบสัมภาษณ์และแบบสอบถาม การตรวจคุณภาพเครื่องมือได้ค่า CVI 0.70 และค่าความเชื่อมั่น 0.80 วิเคราะห์ข้อมูลโดยสถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และวิเคราะห์เนื้อหา

             ผลการวิจัย พบว่า 1) รูปแบบการบริหารจัดการมูลฝอยติดเชื้อมี 4 ขั้นตอน คือ ขั้นที่ 1 เก็บรวมรวมมูลฝอยติดเชื้อแหล่งกำเนิด (รพ.สต.) ทุกวัน ขั้นที่ 2 นำมูลฝอยติดเชื้อไปพักในอาคารเฉพาะ 6-7 วัน ขั้นที่ 3 ขนส่งมูลฝอยติดเชื้อโดยรถของโรงพยาบาล และขั้นที่ 4 นำมูลฝอยติดเชื้อไปพักรวมที่โรงพยาบาลชุมชนในพื้นที่ 2) การบริหารจัดการยังไม่เป็นตามมาตรฐานที่กำหนดได้แก่ ด้านการอบรมหลักสูตรการป้องกันและระงับการแพร่เชื้อหรืออันตรายที่อาจเกิดจากมูลฝอยติดเชื้อ ผ่านอบรมเพียงร้อยละ 81.39 การรวบรวมและเคลื่อนย้ายมูลฝอยติดเชื้อพบผู้ปฏิบัติงานสวมใส่อุปกรณ์ป้องกันอันตรายส่วนบุคคล ร้อยละ 86.04 ผู้ปฏิบัติงานขนส่งมูลฝอยติดเชื้อสวมใส่อุปกรณ์ป้องกันอันตรายส่วนบุคคลขณะปฏิบัติงานครบตามที่กำหนด ร้อยละ 76.74 และนำส่งมูลฝอยติดเชื้อจากบ้านผู้ป่วยในชุมชนโดยญาติ ร้อยละ 66.27 ด้านการบริหารจัดการรถขนส่งมูลฝอยติดเชื้อไม่ผ่านมาตรฐาน จะส่งผลกระทบต่อสุขภาพของผู้ปฏิบัติงาน ข้อเสนอแนะของผู้บริหารและผู้ปฏิบัติงาน คือ ต้องการพัฒนาการจัดการมูลฝอยติดเชื้อ การบูรณาการความร่วมมือเชิงพื้นและการสนับสนุนด้านวิชาการ การอบรมความรู้และทักษะ ควรมีการจัดตั้งคณะกรรมการร่วมกำหนดนโยบายและวางแผนควบคุมกำกับการจัดการมูลฝอยติดเชื้อโดยเฉพาะรถขนส่งมูลฝอยติดเชื้อให้ได้มาตรฐาน

References

กรมควบคุมมลพิษ. คู่มือการบริหารจัดการมูลฝอยติดเชื้อแบบศูนย์รวมสำหรับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น. พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพฯ: บริษัท ส.พิจิตรการพิมพ์ จำกัด. 2553:5.

กรมอนามัย. รายงานสถานการณ์อนามัยสิ่งแวดล้อม พ.ศ.2563. 2563;19-20,26.

สำนักอนามัยสิ่งแวดล้อม. แนวทางการพัฒนาสถานบริการสาธารณสุขให้ได้มาตรฐานการจัดการขยะติดเชื้อ (ฉบับปรับปรุง). 2559;1-4,26,24-29.

กรมควบคุมมลพิษ. แผนแม่บทการบริหารจัดการขยะมูลฝอยของประเทศ (พ.ศ. 2559–2564). พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพฯ: พิมพ์ที่ บริษัท แอคทีฟพริ้นท์ จำกัด. 2559;16.

กรมอนามัย. เอกสารการด้านการจัดการมูลฝอยติดเชื้อสำหรับเจ้าหน้าที่กรมอนามัย. 2561; 31-32.

ศูนย์อนามัยที่ 10 อุบลราชธานี. รายงานการดำเนินงานการจัดการมูลฝอยติดเชื้อ ปี พ.ศ. 2563-2564.

มารยาท โยทองยศ และ ผศ.ปราณี สวัสดิสรรพ์. การกำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างเพื่อการวิจัย. สถาบันส่งเสริมการวิจัยและพัฒนานวัตกรรม.

Best, John W. Research in Education. 3rd ed. Englewood Cliffs, New Jersey: Prentice Hall, Inc. 1977.

จรินทร์ทิพย์ ชมชายผล. การพัฒนาการจัดการมูลฝอยติดเชื้อสำหรับโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลและส่วนราชการท้องถิ่น. มหาวิทยาลัยบูรพา 2561;41:185:194-196.

เขมจิรา สายวงศ์เปี้ย. การศึกษารูปแบบการจัดการมูลฝอยติดเชื้อในจังหวัดลำปาง. มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ 2559;31

สุชนม์ ภู่ประเสริฐ. การศึกษาสถานการณ์การจัดการมูลฝอยติดเชื้อของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพ ตำบล อำเภอผักไห่ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา. มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.2560;38.

นางวาทินี แจ่มใส. การประเมินผลกระทบต่อสุขภาพจากการจัดการมูลฝอยติดเชื้อของโรงพยาบาลบ้านไผ่ อ.บานไผ่ จ.ขอนแก่น. 2552;3.

รติรส ตะโกพร. พฤติกรรมการจัดการมูลฝอยติดเชื้อในบ้านเรือน กรณีศึกษาอำเภอจอมบึง จังหวัดราชบุรี. มหาวิทยาลัยศิลปากร. 2558;77.

กรมควบคุมโรค. แนวปฎิบัติเพื่อป้องกันและควบคุมการติดเชื้อในโรงพยาบาล. พิมพ์ครั้งที่ 1 สำนักพิมพ์อักษรกราฟฟิคแอนด์ดีไซน. พ.ศ.2563;9.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

11-10-2024