ผลของโปรแกรมการส่งเสริมความรอบรู้ในการดูแลตนเองของหญิงตั้งครรภ์ ที่มีภาวะโลหิตจางจากการขาดธาตุเหล็กที่มาฝากครรภ์ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพ ศูนย์อนามัยที่ 3

ผู้แต่ง

  • สาริศา สืบจากดี -
  • รุจิพัชญ์ เพ็ชร์สินเดชากุล

คำสำคัญ:

ความรอบรู้ด้านสุขภาพ, หญิงตั้งครรภ์, ภาวะโลหิตจางจากการขาดธาตุเหล็ก

บทคัดย่อ

            การวิจัยกึ่งทดลองแบบกลุ่มเดียววัดผลก่อนและหลัง มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินผลของโปรแกรมการส่งเสริมความรอบรู้ด้านสุขภาพการดูแลตนเองของหญิงตั้งครรภ์ที่มีภาวะโลหิตจางจากการขาดธาตุเหล็กที่มาฝากครรภ์ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพ ศูนย์อนามัยที่3 กลุ่มตัวอย่างเป็นหญิงตั้งครรภ์ที่มีภาวะโลหิตจางจากการขาดธาตุเหล็ก จำนวน 42 คน ระยะเข้าร่วมโปรแกรม 12 สัปดาห์ จำนวน 4 ครั้ง ประกอบด้วย ครั้งที่ 1 สร้างสัมพันธภาพและสร้างเสริมความรอบรู้ด้านสุขภาพ ครั้งที่ 2 ประเมินปัญหาอุปสรรคและวางแผนแก้ปัญหา ครั้งที่ 3 ติดตามภาวะโภชนาการและความร่วมมือการกินยาเสริมธาตุ และครั้งที่ 4 ประเมินพฤติกรรมการปฏิบัติตัว เก็บข้อมูลด้วยแบบสอบถามประเมินความตรงเชิงเนื้อหาด้วยค่าดัชนีความสอดคล้อง (IOC) และความเชื่อมั่น (reliability) จากค่าสัมประสิทธิ์แอลฟาของคอนบราค (Cronbach’ s alpha coefficient) ดังนี้ 1) แบบสอบถามความรอบรู้ด้านสุขภาพ เท่ากับ 0.82 2) แบบสอบถามความรู้ เท่ากับ 0.78 และ 3) แบบสอบถามพฤติกรรม เท่ากับ 0.92 วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงอนุมาน ได้แก่ Paired Sample t-test 

            ผลการศึกษา การเปรียบเทียบความรอบรู้ด้านสุขภาพ ความรู้ พฤติกรรม และร้อยละความเข้มข้นเลือด (Hematocrit: Hct) หลังการเข้าร่วมโปรแกรมฯ ของหญิงตั้งครรภ์ พบว่า ความรอบรู้ด้านสุขภาพมีคะแนนเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ 3.67 คะแนน (95%CI 1.34-5.10; p-value 0.002) พฤติกรรมมีคะแนนเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ 2.95 คะแนน (95%CI 1.77-4.13; p-value <0.001) และร้อยละความเข้มข้นเลือด (Hematocrit: Hct) มีค่าเฉลี่ยเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ 3.57 (95%CI 2.76-4.38; p-value <0.001)

            สรุปผลการศึกษา หญิงตั้งครรภ์ที่มีภาวะโลหิตจางจากการขาดธาตุเหล็ก ควรได้รับการส่งเสริมความรอบรู้ด้านสุขภาพ ความรู้เกี่ยวกับการปฏิบัติตัวเพื่อป้องกันภาวะโลหิตจาง ส่งผลให้พฤติกรรมการดูแลตนเองดีขึ้นและลดภาวะโลหิตจางจากการขาดธาตุเหล็ก

References

Pratima Verma, Anuradha Roy. Iron Deficiency Anemia (IDA) in Pregnancy : Prevalence and Management. An International Journal of Research in AYUSH and Allied Systems. 2024;17(3):2393-9591.

Ali M, Mugheri K, Shaikh A, Bhatti AT, Magsi S, Shaikh S. FETO/Maternal Complications in Iron Deficiency Anemia during Pregnancy and Labor. Journal of Health and Rehabilitation Research. 2024;4(1):1204-8.

Tongsong T, Wanapirak C. Obstetrics. Placental Thickness at Mid-pregnancy as a Predictor of Hb Bart's Disease. Department of Obstetrics and Gynaecology: Faculty of Medicine. Chiang Mai University; 2021.

Juul SE, Derman RJ, Auerbach M. Perinatal iron deficiency: implications for mothers and infants. National Library of Medicine. 2019;115(3):269-74.

Lowdermilk D, Perry S, Cashion K, Alden K. Maternity & women's health care. USA: Elsevier; 2012.

Breymann C. Iron deficiency anemia in pregnancy. National Library of Medicine. 2015; 52(4):339-47.

Pinchaleaw D. Nurses and management of iron deficiency anemia in pregnant women. Journal of The Police Nurses. 2017;9(2):195-202.

Mangkalard P, Ruekngarm L, Ponta S. Effects of nutrition counselling on iron deficiency anemia in pregnancy. Biome Journals. 2022.

DOH DASHBOARD ระบบสารสนเทศสนับสนุนงานส่งเสริมสุขภาพและอนามัยสิ่งแวดล้อม. ภาวะโลหิตจางในหญิงตั้งครรภ์ ระดับเขตสุขภาพ: กระทรวงสาธารณสุข [อินเทอร์เน็ต]. 2566 [เข้าถึงเมื่อ 15 มี.ค. 2567]. เข้าถึงได้จากhttps://dashboard.anamai.moph.go.th/dashboard/anemia/index?year=2023

ลลิตวดี เตชะกัมพลสารกิจ, กรรณิการ์ กันธะรักษา, นันทพร แสนศิริพันธ์. การทบทวนอย่างเป็นระบบวิธีการส่งเสริมการป้องกันภาวะโลหิตจางในสตรีตั้งครรภ์. วารสารพยาบาลสาร. 2561;45(1):61-74.

Lutsey PL, Dawe D, Villate E, Valencia S, Lopez O. Iron supplementation compliance among pregnant women in Bicol, Philippines. Public health nutrition. 2008;11(1):76-82.

Ordenes MAC, Bongga DC. Factors influencing compliance with iron supplementation among pregnant women. Social Science Diliman. 2006;3.

จิตตระการ ศุกร์ดี, ศิวิไลซ์ วนรัตน์วิจิตร. ปัจจัยที่ส่งผลต่อภาวะโลหิตจางจากการขาดธาตุเหล็กของสตรีตั้งครรภ์ ที่รับบริการฝากครรภ์ในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล. วารสารวิจัยทางวิทยาศาสตร์สุขภาพ. 2559;10(1).

Nutbeam D. The evolving concept of health literacy. Social science & medicine. 2008;67(12):2072-8.

Insiripong W, Insiripong S. Iron deficiency anemia in the tertiary care hospital. Maharat Nakhon Ratchasima Hospital Journal. 2016;38(2):85-90.

มุก อิงคประเสริฐ, สมสกูล นีละสมิต. ผลของโปรแกรมการให้ความรู้เรื่องภาวะโลหิตจางร่วมกับการมีส่วนร่วมของครอบครัวแบบออนไลน์ต่อการรับรู้เกี่ยวกับภาวะโลหิตจาง พฤติกรรมการรับประทานอาหารและยาเสริมธาตุเหล็กของสตรีตั้งครรภ์วัยรุ่นในโรงพยาบาลชุมชน. วารสารการพยาบาลสุขภาพและการศึกษา. 2567;7(2):42-54.

มกรารัตน์ หวังเจริญ, จีรพรรณ ซ่อนกลิ่น, จุราพร สุรมานิต, อาภัสรา มาประจักษ์. ผลของโปรแกรมเพิ่มความรอบรู้ด้านสุขภาพเพื่อลดปัญหาโลหิตจางในหญิงตั้งครรภ์. วารสารวิจัยและพัฒนาระบบสุขภาพ. 2565;16(3):253-67.

วาสนา พุฒช่อ. ผลการพัฒนาความรอบรู้ด้านสุขภาพของหญิงตั้งครรภ์ที่มีภาวะโลหิตจางที่มาฝากครรภ์ในโรงพยาบาลบึงกาฬ [อินเทอร์เน็ต]. 2566 [เข้าถึงเมื่อ 9 ก.ย. 2567]. เข้าถึงได้จาก: https://bkpho.moph.go.th/ssjweb/bkresearch/index.php?fn=detail&sid=248.

Bloom BS. Handbook on formative and summative evaluation of student learning. New York: McGraw-Hill; 1971.

Best JW. Research in Education. 3rd ed. Englewood Cliffs, NJ: Prentice Hall, Inc.; 1977.

Soares IM, Araújo ANCR, Pereira N. Strategies for Reducing and Preventing Anemia in Pregnant Women: Systematic Literature Review. Journal of International Multidisciplinary Research. 2024;2(6):740-52.

Ramachandran P. Prevention and management of anaemia in pregnancy: Multi-pronged integrated interventions may pay rich dividends. Indian J Med Res. 2021;154(1):12-5.

Khasanah NA, Adiesti F, Safitri CA. Pencegahan anemia pada ibu hamil melalui “pedikur” (pendekatan edukasi dan puding kurma) di Desa Wonosari–Ngoro. Jurnal Pengabdian Masyarakat Kesehatan (Abdimakes). 2024;4(2):87-93.

Afrida BR, Aryani NP, Jannati SH, Jannah R. Edukasi dampak anemia pada ibu hamil. Jurnal LENTERA. 2024;4(2):152-7.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

11-10-2024