ประสิทธิผลโปรแกรมการส่งเสริมพฤติกรรมที่ปลอดภัยจากการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืชและการใช้สมุนไพรรางจืดในการลดอันตรายจากสารกำจัดศัตรูพืชในเกษตรกร ตำบลแก้งไก่ อำเภอสังคม จังหวัดหนองคาย

ผู้แต่ง

  • สายนที นนท์ขุนทด -

คำสำคัญ:

สมุนไพรรางจืด, สารกำจัดศัตรูพืช, โปรแกรมการส่งเสริมพฤติกรรมที่ปลอดภัยจากการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืช

บทคัดย่อ

การวิจัยกึ่งทดลองนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินประสิทธิผลของโปรแกรมการส่งเสริมพฤติกรรมที่ปลอดภัยจากการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืชและสมุนไพรรางจืดในการลดอันตรายจากการสัมผัสสารกำจัดศัตรูพืชในเกษตรกร จำนวน 57 คน ในตำบลแก้งไก่ อำเภอสังคม จังหวัดหนองคาย เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูลประกอบด้วย
แบบสัมภาษณ์เกี่ยวกับพฤติกรรมการใช้สารกำจัดศัตรูพืชและการตรวจหาระดับเอนไซม์โคลีนเอสเตอเรสในเลือดโดยกระดาษทดสอบพิเศษ กิจกรรมแทรกแซง ประกอบด้วย โปรแกรมการส่งเสริมพฤติกรรมที่ปลอดภัย จากการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืชและการให้รับประทานสมุนไพรรางจืดแบบแคปซูล 400 มิลลิกรัม รับประทานครั้งละ 2 แคปซูล วันละ 3 เวลา ก่อนอาหาร ติดต่อกันไม่เกิน 5 วัน วิเคราะห์ข้อมูล โดยใช้สถิติ paired t-test และ McNemar Chi-square test ทำการศึกษาระหว่าง เดือน ตุลาคม 2565 ถึง ธันวาคม 2565 ผลการศึกษา พบว่า เกษตรกรเป็นเพศชายร้อยละ 82.46  อายุเฉลี่ย 46.94 ปี จบการศึกษาระดับประถมศึกษา ร้อยละ 59.65 ระยะเวลาการใช้สารกำจัดศัตรูพืชอยู่ระหว่าง 6 - 10 ปี ร้อยละ 42.11 (ต่ำสุด 2 ปีสูงสุด 21 ปี) สารเคมีที่ใช้อยู่ในกลุ่มคาบาเมท ร้อยละ 52.63 หลังดำเนินการ พบว่า ก่อนดำเนินการเกษตรกร มีคะแนนพฤติกรรมเสี่ยงในการใช้สารกำจัดศัตรูพืชเฉลี่ย 23.73 หลังดำเนินการมีคะแนนพฤติกรรมเสี่ยง 17.28 ซึ่งลดลงกว่าก่อนดำเนินการ เท่ากับ 6.45 คะแนน (95%CI: 5.42-7.48) (p-value < 0.001)  มีระดับเอนไซม์โคลีนเอสเตอเรสในเลือดปลอดภัยร้อยละ 59.65 ส่วนหลังดำเนินการปลอดภัยร้อยละ 68.42 เพิ่มขึ้น
จากก่อนดำเนินการร้อยละ 8.77 ผลการเปรียบเทียบความแตกต่างก่อนและหลังดำเนินการพบว่า มีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (95%CI of diff : 1.03-27.03) (p-value < 0.05) อย่างไรก็ตาม
การรับประทานรางจืด ต้องดำเนินการควบคู่กับการส่งเสริมให้เกษตรกรมีพฤติกรรมการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืชที่ถูกต้องและเหมาะสม

References

มูลนิธิการศึกษาไทย. ผลกระทบของสารเคมีที่มีความเป็นพิษสูงต่อห่วงโซ่อาหาร 2558. เอกสาร ประกอบการประชุมวิชาการเพื่อเตือนภัยสารเคมีกำจัดศัตรูพืช; 25-27 มีนาคม 2565; กรุงเทพฯ.

สุริยัน พัวตนะ. รายงานการสำรวจข้อมูลพื้นฐานด้านการเกษตรตำบลแก้งไก่ อำเภอสังคม จังหวัดหนองคาย. หนองคาย: องค์การบริหารส่วนตำบลแก้งไก่; 2565.

สายนที นนท์ขุนทด. รายงานสรุปข้อมูลการดำเนินงานเฝ้าระวังสุขภาพเกษตร ตำบลแก้งไก่ อำเภอสังคม จังหวัดหนองคาย. หนองคาย: โรงพยาบาลสังคม; 2565.

จันทพร มณีเสน. การศึกษาผลของการใช้รางจืดเป็นยาต้านพิษ. วารสารสาธารณสุขและวิทยาศาสตร์สุขภาพ 2563; 3(1): 28-40.

พิมพ์ญาดา พวงชัยบดินทร์. ประสิทธิภาพของรางจืดและย่านางแดงต่อการลดปริมาณเอทิลแอลกอฮอล์ในเลือด[วิทยาศาสตรมหาบัณฑิตสาขาวิชานิติวิทยาศาสตร์]. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยศิลปากร; 2562; 132.

วิโรจน์ เลิศพงศ์พิพัฒน์, ดาริกา ไชยคุณ. การศึกษาเปรียบเทียบประสิทธิผลในการเพิ่มระดับเอนไซม์โคลีนเอสเตอเรสในกระแสเลือด ระหว่างสมุนไพรรางจืดและย่านางแดงในกลุ่มเกษตรกร. วารสารสำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 6 ขอนแก่น 2554; 18(3): 49-58.

นันทวัน ใจกล้าและคณะ. ผลการใช้รางจืดร่วมกับการให้ความรู้เกี่ยวกับการป้องกันการได้รับสารเคมีเข้าสู่ร่างกาย ในผู้ที่มีผลการตรวจสารเคมีในเลือดระดับอันตราย.วารสารวิทยาลัยพยาบาลพระปกเกล้า จันทบุรี 2565; 22(2): 50-60.

ปรีชา เปรมปรี, วีณา ภักดีสิริวิชัย, พรพิมล กองทิพย์, เยาวลักษณ์ พุฒซ้อน, ผกาสินี คล้ายมาลา, ประภาศรี เติมวิชชากร. องค์ความรู้เกี่ยวกับการตรวจคัดกรองความเสี่ยงจากการสัมผัสสารเคมี กำจัดศัตรูพืชโดยกระดาษทดสอบโคลีนเอสเตอเรส(Cholinesterase reactive paper) สำหรับเจ้าหน้าที่สาธารณสุขในหน่วยบริการสุขภาพปฐมภูมิ. กรุงเทพฯ: สำนักโรคจากการประกอบอาชีพและสิ่งแวดล้อม กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข; 2560.

อัญชลี จูฑะพุทธ. รางจืด : สมุนไพรล้างพิษ. วารสารการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก 2563; 8(2-3): 211-20.

ลักษณีย์ บุญขาว. การประเมินความเสี่ยงสุขภาพจากการสัมผัสสารเคมีกำจัดศัตรูพืชของเกษตรกรปลูกผักพื้นบ้าน ตำบลบ้านหงุ่นหวาย อำเภอวารินชำราบ จังหวัดอุบลราชธานี. วารสารมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ (สาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี) 2565; 14(28): 169-180.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

31-05-2023