ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการบริโภคปลาดิบของประชาชนในตำบลแก้งไก่ อำเภอสังคม จังหวัดหนองคาย

ผู้แต่ง

  • กันตภณ ธรรมสา สำนักงานสาธารณสุขอำเภอสังคม

คำสำคัญ:

ปลาดิบ, พฤติกรรมการบริโภคปลาดิบ, โรคพยาธิใบไม้ตับ

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงพรรณนาแบบภาคตัดขวาง มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาพฤติกรรมการบริโภคปลาดิบและปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการบริโภคปลาดิบของประชาชน กลุ่มตัวอย่างเป็นประชาชนที่มีอายุตั้งแต่ 15 ปีขึ้นไป ในตำบลแก้งไก่ อำเภอสังคม จังหวัดหนองคาย จำนวน 287 คน เก็บรวบรวมข้อมูลด้วยการสัมภาษณ์ด้วยแบบทดสอบและแบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ จำนวน ร้อยละ ค่าเฉลี่ยและค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน วิเคราะห์หาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยต่าง ๆ กับพฤติกรรมการบริโภคปลาดิบของประชาชนด้วยสถิติ Chi-Square Test และ Fisher’s Exact Test ผลการวิจัยพบว่า 1) พฤติกรรมการบริโภคปลาดิบของประชาชนในตำบลแก้งไก่ อำเภอสังคม จังหวัดหนองคาย อยู่ในระดับสูง 2) ปัจจัยทางชีวสังคม ได้แก่ เพศ ระดับการศึกษาสูงสุด อาชีพ การมีโรคประจำตัว การพักอาศัยอยู่กับบุตร การดื่มสุรา การสูบบุหรี่ มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการบริโภคอาหารปลาดิบของประชาชนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P-value < 0.05)  3) ปัจจัยนำ ซึ่งประกอบไปด้วย ความรู้เกี่ยวกับโรคพยาธิใบไม้ตับและมะเร็งท่อน้ำดี และทัศนคติต่อการบริโภคปลาดิบมีความสัมพันธ์กับพฤติกรรม การบริโภคปลาดิบของประชาชนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P-value < 0.01) 4) ปัจจัยเอื้อ มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการบริโภคปลาดิบของประชาชนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P-value < 0.001) 5) ปัจจัยเสริมมีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการบริโภคปลาดิบของประชาชนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P-value < 0.001) ข้อเสนอแนะ เจ้าหน้าที่สาธารณสุขควรเสริมสร้างความรู้เกี่ยวกับการติดเชื้อพยาธิใบไม้ตับ โดยเฉพาะความรู้ประเด็นโรคพยาธิใบไม้ตับ ไม่ได้เกิดจากการรับประทานอาหารจากปลาดิบเท่านั้น และสร้างทัศนคติที่ถูกต้องเกี่ยวกับการรักษาโรคพยาธิใบไม้ตับและมะเร็งท่อน้ำดีอย่างต่อเนื่อง รวมถึงประชาสัมพันธ์สื่อสารผ่านทุกช่องทาง เพื่อให้ประชาชนมีความรู้ ทัศนคติที่ถูกต้อง นำไปสู่การปฏิบัติที่เหมาะสมเพื่อกระตุ้นให้ประชาชนตระหนัก และเห็นความสำคัญในการดูแลตนเองเบื้องต้น  ซึ่งเป็นแนวทางสำคัญเป็นการป้องกันโรคพยาธิใบไม้ตับ และมะเร็งท่อน้ำดี โดยเน้นกระบวนการมีส่วนร่วมของคนในครอบครัวและชุมชน เพื่อให้สอดคล้องกับบริบททางสังคมและวัฒนธรรมของพื้นที่

References

โรงพยาบาลจุฬาภรณ์ สภากาชาด. มะเร็งท่อน้ำดี [อินเทอร์เน็ต]. 2562 [เข้าถึงเมื่อ 1 มิถุนายน 2566]. เข้าถึงได้จาก: https://chulalongkornhospital.go.th/kcmh/

ธนิตา สุทธิชัยมงคล. มะเร็งท่อน้ำดี [อินเทอร์เน็ต]. 2564 [เข้าถึงเมื่อ 23 พฤษภาคม 2566]. เข้าถึงได้จาก: https://thasl.org/พยาธิใบไม้ตับกับมะเร็งท่อน้ำดี

สถาบันมะเร็งแห่งชาติ กระทรวงสาธารณสุข. หยุดปัญหาพยาธิใบไม้ตับฯ ประกาศ Quick Win 100 วัน คัดกลุ่มเสี่ยง 1 แสนราย [อินเทอร์เน็ต]. 2566 [เข้าถึงเมื่อ 2 พฤศจิกายน 2566]. เข้าถึงได้จาก: https://www.hfocus.org/content/2023/10/28796

กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข. แผนยุทธศาสตร์ทศวรรษกำจัดปัญหาพยาธิใบไม้ตับและมะเร็งท่อน้ำดี ปี 2559-2568. การประชุมเชิงปฏิบัติการเพื่อกำหนดทิศทางและประเด็นการวิจัยที่สอดคล้องกับยุทธศาสตร์กำจัดพยาธิใบไม้ตับและมะเร็งท่อน้ำดี; 24-26 กรกฎาคม 2561; ขอนแก่น.

เพ็ญประภา แต้มงาม และคณะ. ความรู้ ทัศนคติ และพฤติกรรมการบริโภคอาหารที่เสี่ยงต่อการเกิดโรคมะเร็งท่อน้ำดีของประชาชนในตำบลแห่งหนึ่ง อำเภอวารินชำราบ จังหวัดอุบลราชธานี. วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี. 2562;21(3):74-85.

ขจรศักดิ์ พันธ์ชัย และคณะ. ปัจจัยที่ส่งผลต่อการบริโภคปลาดิบของประชาชน ตำบลเหล่ากวาง อำเภอโนนคูณ จังหวัดศรีสะเกษ. วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี. 2565;11(1):6-15.

ศักดิ์ชัย ศรีกลาง และพิษณุ อุตตมะเวทิน. ความสัมพันธ์ระหว่างพฤติกรรมการบริโภคปลาดิบของผู้กำหนด อาหารและการบริโภคปลาดิบของสมาชิกในครัวเรือน ตำบลสะแก จังหวัดบุรีรัมย์. วารสารวิจัยสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น. 2562;12(3):31-39.

อรุณ จิรวัฒน์กุล, บรรณาธิการ. ชีวสถิติ. พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพฯ; คลังนานาวิทยา: 2551.

ฉัตรลดา ดีพร้อม และ เพชรัตน์ ศิริสุวรรณ. พฤติกรรมการป้องกันการเกิดโรคพยาธิใบไม้ตับของประชาชนที่เข้ารับการตรวจคัดกรองพยาธิใบไม้ตับ บ้านสองห้อง ตำบลร่องคำ อำเภอร่องคำ จังหวัดกาฬสินธุ์. วารสารวิจัยสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น. 2561;11(1):28-37.

อภิชิต สถาวรวิวัฒน์ และคณะ. ปัจจัยทำนายพฤติกรรมบริโภคเนื้อสัตว์ดิบของประชาชน อำเภอเชียงกลาง จังหวัดน่าน. วารสารสุขศึกษา. 2562;43(1):25-37.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

29-05-2024