การประเมินมาตรฐานเครื่องพ่นหมอกควันแบบสะพายไหล่ ของหน่วยงานเครือข่ายศูนย์ควบคุมโรคติดต่อนำโดยแมลงที่ 8.2 จังหวัดเลย
คำสำคัญ:
การประเมินมาตรฐาน, เครื่องพ่นหมอกควันแบบสะพายไหล่, หน่วยงานเครือข่ายบทคัดย่อ
การศึกษาครั้งนี้ เป็นการศึกษาเชิงพรรณนาแบบตัดขวาง (Cross-sectional descriptive study) มีวัตถุประสงค์เพื่อทราบปริมาณเครื่องพ่นหมอกควันแบบสะพายไหล่ที่ผ่านเกณฑ์มาตรฐาน ของหน่วยงานเครือข่ายศูนย์ควบคุมโรคติดต่อนำโดยแมลงที่ 8.2 จังหวัดเลย ใช้วิธีการคัดเลือกพื้นที่หน่วยงานเครือข่ายแบบหลายขั้นตอน ได้หน่วยงานเครือข่ายจาก 5 อำเภอ ๆ ละ 1 ตำบล มีเครื่องพ่นหมอกควันจำนวน 42 เครื่อง เกณฑ์การประเมินมาตรฐานมี 4 ด้าน ดังนี้ 1) อัตราการไหลของสารเคมี 2) อุณหภูมิปลายท่อ 3) การวัดขนาดเฉลี่ยของละอองสารเคมี และ 4) ความสม่ำเสมอในการผลิตละอองสารเคมี รวบรวมข้อมูลโดยการสัมภาษณ์ และทดสอบคุณลักษณะของเครื่องพ่นหมอกควัน ระหว่างเดือนพฤศจิกายน 2565 ถึงพฤษภาคม 2566 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา ผลการศึกษาพบว่า หน่วยงานเครือข่าย จำนวน 14 แห่ง นำเครื่องพ่นหมอกควันเข้ารับการประเมินมาตรฐาน จำนวน 42 เครื่อง ส่วนมากเป็นยี่ห้อ Best fogger ร้อยละ 57.15 อายุการใช้งานอยู่ระหว่าง 7-9 ปี ร้อยละ 40.48 ความถี่ในการใช้งานเครื่องพ่นหมอกควันอยู่ระหว่าง 21-30 วันต่อปี ร้อยละ 45.24 เครื่องพ่นหมอกควันที่ผ่านการทดสอบก่อนการประเมินมาตรฐาน จำนวน 41 เครื่อง การประเมินมาตรฐานอัตราการไหลของสารเคมี อุณหภูมิปลายท่อ ขนาดเฉลี่ยของละอองสารเคมี และความสม่ำเสมอในการผลิตละอองสารเคมีอยู่ในเกณฑ์มาตรฐาน ร้อยละ 100, 100, 53.66 และ 100 ตามลำดับ มาตรฐานภาพรวม 4 ด้าน มีเครื่องพ่นหมอกควันผ่านเกณฑ์มาตรฐาน ร้อยละ 53.66 จะเห็นได้ว่าเครื่องพ่นหมอกควันที่ใช้ในพื้นที่ยังมีเครื่องที่ไม่ผ่านเกณฑ์ ร้อยละ 46.34 อาจส่งผลถึงประสิทธิภาพการควบคุมโรค ดังนั้น ควรตรวจสอบและประเมินมาตรฐานอย่างละเอียดก่อนใช้เครื่องพ่นหมอกควันเพื่อการควบคุมโรค โดยเฉพาะเน้นการตรวจสอบขนาดเฉลี่ยของละอองสารเคมี
References
กองโรคติดต่อนำโดยแมลง. รายงานสถานการณ์โรคไข้เลือดออกเปรียบเทียบ 5 ปีย้อนหลัง [อินเทอร์เน็ต]. 2566 [เข้าถึงเมื่อ 15 มีนาคม 2566]. เข้าถึงได้จาก: https://lookerstudio.google.com/u/0/reporting/ dfa7d4e2-b7f5-48ed-b40a-54f1cd4cbdfb/page/cFWgC?s=uJijraAskGk
สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 8 จังหวัดอุดรธานี. ZR506 Dashboard “รู้ทัน ป้องกันได้” เขตสุขภาพที่ 8 [อินเทอร์เน็ต]. [เข้าถึงเมื่อ 15 มีนาคม 2566]. เข้าถึงได้จาก: https://ddc.moph.go.th/odpc8/ r8dashboard/zr506.html
สำนักโรคติดต่อนำโดยแมลง. คู่มือวิชาการโรคติดเชื้อเดงกีและโรคไข้เลือดออกเดงกีด้านการแพทย์และสาธารณสุข. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์อักษรกราฟฟิคแอนด์ดีไซน์; 2558.51.
World Health Organization [WHO]. Space spray application of insecticides for vector and public health pest control: a practitioner’s guide. Geneva: World Health Organization; 2003.
กองโรคติดต่อนำโดยแมลง. คู่มือสารเคมีและเครื่องพ่นสารเคมีเพื่อควบคุมยุงพาหะนำโรค. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์อักษรกราฟฟิคแอนด์ดีไซน์; 2565.72.
บุญเทียน อาสารินทร์, บุญส่ง กุลโฮง, พรทวีวัฒน์ ศูนย์จันทร์ และธงชัย เหลาสา. การประเมินมาตรฐานเครื่องพ่นหมอกควันของหน่วยงานเครือข่ายพื้นที่สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 6 จังหวัดขอนแก่น. วารสารควบคุมโรค. 2558;41(1):50-6.
วิภาพร ต้นภูเขียว, ศศิธร แพนสมบัติ, กองแก้ว ยะอูป, พรทวีวัฒน์ ศูนย์จันทร์ และบุญส่ง กุลโฮง. การประเมินมาตรฐานเครื่องพ่นหมอกควันในพื้นที่เสี่ยงโรคไข้เลือดออก เขตสุขภาพที่ 7 ปีงบประมาณ 2563-256 [อินเทอร์เน็ต]. 2565 [เข้าถึงเมื่อ 31 ตุลาคม 2565]. เข้าถึงได้จาก: https://ddc.moph.go.th/ uploads/publish/1309920220905163934.pdf
เดชาธร วงศ์หิรัญ และจงรัก ประทุมทอง. ประสิทธิภาพของเครื่องพ่นสารเคมี และการบำรุงรักษาที่ใช้ในการควบคุมโรคไข้เลือดออกขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น [อินเทอร์เน็ต]. 2559 [เข้าถึงเมื่อ 5 ตุลาคม 2565]. เข้าถึงได้จาก: https://ddccenter.net/vichakarn/downloadq.php?f=ddc_201711091549104720_ 150_1001cb.pdf&fc=abstract%20103.pdf
กองแก้ว ยะอูป, วาสนา สอนเพ็ง, บุญเทียน อาสารินทร์, พรทวีวัฒน์ ศูนย์จันทร์, สุกัญญา ขอพรกลาง.
การประเมินประสิทธิภาพการพ่นสารเคมีควบคุมยุงลายขององค์กรปกครองท้องถิ่น. วารสารสำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 7 ขอนแก่น. 2561;25(2):1-13.