ประสิทธิผลของโปรแกรมการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพของผู้ป่วยเบาหวาน ชนิดที่ 2 ที่ควบคุมระดับน้ำตาลไม่ได้ ในเขตตำบลเมืองหมี อำเภอเมืองหนองคาย จังหวัดหนองคาย
คำสำคัญ:
ผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดที่ 2, ระดับน้ำตาลสะสมในเลือด, พฤติกรรมสุขภาพบทคัดย่อ
การศึกษาแบบกึ่งทดลองนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินประสิทธิผลของการประยุกต์ใช้โปรแกรมการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพต่อพฤติกรรมสุขภาพและระดับน้ำตาลในเลือดของผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 ที่ควบคุมระดับน้ำตาลไม่ได้ โดยกลุ่มตัวอย่างที่ศึกษา คือ ผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดที่ 2 ที่มารับบริการในคลินิกเบาหวาน โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลเมืองหมี อำเภอเมืองหนองคาย จังหวัดหนองคาย ระหว่างเดือนกันยายน ถึงเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2566 โดยกลุ่มตัวอย่างทั้งหมดได้รับการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมตามโปรแกรมที่ผู้วิจัยออกแบบ โดยเป็นการประยุกต์ระหว่างการแพทย์แผนปัจจุบันและแพทย์ทางเลือก ระยะเวลาในการศึกษาทั้งหมด 12 สัปดาห์ เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม ความรู้โรคเบาหวานและพฤติกรรมด้านการบริโภคอาหาร การออกกำลังกาย และการจัดการอารมณ์ ที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น และเจาะเลือดตรวจโดยพยาบาลวิชาชีพ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนาและเปรียบเทียบค่าน้ำตาลในเลือดระหว่างกลุ่มก่อนและหลังการทดลองโดยใช้สถิติ Paired t-test ผลการศึกษา พบว่า หลังเข้าร่วมโปรแกรมการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม กลุ่มตัวอย่างมีความรู้ พฤติกรรมสุขภาพด้านการบริโภคอาหาร การออกกำลังกาย และการจัดการอารมณ์ เพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p-value < 0.05) เมื่อเปรียบเทียบค่าน้ำตาลในเลือด ก่อนเข้าร่วมโปรแกรมเป็น 161.28 mg/dL และหลังเข้าร่วมโปรแกรมมีค่าเฉลี่ยของค่าน้ำตาลในเลือดลดลงเป็น 135.28 mg/dL เมื่อเปรียบเทียบค่าน้ำตาลในเลือด เฉลี่ยหลังเข้าร่วมโปรแกรมน้อยกว่าก่อนเข้าร่วมโปรแกรม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (Mean Difference = - 26.00, SD = 4.23, 95%CI: - 34.43 ถึง - 17.57, p-value < 0.001) และค่าน้ำตาลสะสมในเลือด ก่อนเข้าร่วมโปรแกรมเป็น 7.93 % เมื่อหลังเข้าร่วมโปรแกรมมีค่าเฉลี่ยของค่าน้ำตาลสะสมในเลือดลดลงเป็น 7.45 % เมื่อเปรียบเทียบค่าน้ำตาลสะสมในเลือดเฉลี่ยหลังเข้าร่วมโปรแกรมน้อยกว่าก่อนเข้าร่วมโปรแกรม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (Mean Difference = - 0.47, SD = 0.07, 95%CI: - 0.62 ถึง - 0.32, p-value < 0.001)
References
International Diabetes Federation. IDF Diabetes Atlas 10th edition. Journal of Experimental Biology. 2021;64(3):1-10.
กระทรวงสาธารณสุข. HDC กระทรวงสาธารณุสข [อินเทอร์เน็ต]. 2565. [เข้าถึงเมื่อ 15 สิงหาคม 2566]. เข้าถึงได้จาก: https://hdcservice.moph.go.th/.
สำนักงานเขตสุขภาพที่ 8. รายงานประจำปี 2565. อุดรธานี: สำนักงานเขตสุขภาพที่ 8; 2565.
ชัชลิต รัตรสาร. สถานการณ์ปัจจุบันและความร่วมมือเพื่อปฏิรูปการดูแลรักษาโรคเบาหวานในประเทศไทย การยกระดับมาตรฐานการดูแลรักษา และขยายการเข้าถึงการรักษาโรคเบาหวานนำไปสู่สังคมสุขภาพที่ยั่งยืน. กรุงเทพฯ: โนโว นอร์ดิสค์ ฟาร์มา (ประเทศไทย); 2561.
สมาคมโรคเบาหวานแห่งประเทศไทยในพระราชูปถัมภ์สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี. แนวทางเวชปฏิบัติ สำหรับโรคเบาหวาน 2560. ปทุมธานี: ร่มเย็นมีเดีย; 2560.
Delamater, A. M. Clinical Use of Hemoglobin A1c to Improve Diabetes Management. Clinical diabetes. 2006;24(1):6-8.
คลีพัตรา ไชยศรี, ศศิมา กุสุมา ณ อยุธยา, วิมลรัตน์ ภู่วราวุฒิพานิช, ธวัชชัย พีรพัฒน์ดิษฐ์. ปัจจัยทำนายพฤติกรรมการใช้ยาของผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2. วารสารพยาบาลศาสตร์. 2556;31(3):48-55.
สุภาพ พุทธปัญโญ, นิจฉรา ทูลธรรม, นันทิพัฒน์ พัฒนโชติ. ประสิทธิผลของโปรแกรมการพัฒนาพฤติกรรมสุขภาพต่อความฉลาดทางสุขภาพและพฤติกรรมการลดน้ำหนักของบุคลากร ที่มีภาวะโภชนาการเกินในโรงพยาบาลร้อยเอ็ด อำเภอเมือง จังหวัดร้อยเอ็ด. วารสารการพยาบาลและการศึกษา. 2560;9(4):42-59.
ศิริพร ขัมภลิขิต, จุฬาลักษณ์ บารมี. คู่มือการสอนการสร้างเสริมสุขภาพในหลักสูตรพยาบาลศาสตรบัณฑิต. ขอนแก่น: คลังนานาวิทยา; 2555.
หนูรัก พิมพ์ศรี, วิลาวัณย์ ชมนิรัตน์. ผลของโปรแกรมสร้างเสริมสมรรถนะแห่งตนต่อพฤติกรรมการบริโภคอาหารของผู้ป่วยเบาหวานที่ไม่สามารถควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด. วารสารการพยาบาลและการดูแลสุขภาพ. 2559;34(3):25-31.
คลีพัตรา ไชยศรี, ศศิมา กุสุมา ณ อยุธยา, วิมลรัตน์ ภู่วราวุฒิพานิช, ธวัชชัย พีรพัฒน์ดิษฐ์. ปัจจัยทำนายพฤติกรรมการใช้ยาของผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2. วารสารพยาบาลศาสตร์. 2556;31(3):48-55.
นพรัตน์ วิบูลสันติ. ผลของการใช้ยาควบคุมระดับน้ำตาลแบบกินของผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 ในโรงพยาบาลลำพูน. วารสารสาธารณสุขล้านนา. 2554;7(1):18-24.
กรมพัฒนาการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก. สรุปผลการประเมินมาตรฐานงานบริการ. [ม.ป.ท.: ม.ป.พ.]; 2558
โรงพยาบาลส่งเสริมและสนับสนุนการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ผสมผสาน ระดับโรงพยาบาล ปีงบประมาณ 2558. กรุงเทพฯ: กรมพัฒนาการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก; 2559.
Bloom, B.S. Handbook on formative and summative evaluation of student learning. New York: McGraw-Hill; 1971.
ธัญลักษณ์ ตั้งธรรมพิทักษ์. ประสิทธิผลของโปรแกรมการสร้างเสริมสุขภาพสำหรับผู้ป่วย เบาหวานในชุมชนบ้านหนองนาสร้าง จังหวัดร้อยเอ็ด. ศรีนครินทร์เวชสาร. 2562;34(3):243-4.
ดวงเดือน หันทยุง, วรพล แวงนอก, วรากร เกรียงไกรศักดา. ผลของการใช้โปรแกรม ประยุกต์แบบแผนความเชื่อด้านสุขภาพต่อพฤติกรรมการดูแลสุขภาพตนเองของผู้ป่วยเบาหวานในเขตโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลเมืองไผ่. วารสารวิจัยราชภัฏพระนคร สาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. 2559;1(1):36-51.
วิไล วิวัฒน์ชาญกิจ, สุปรีดา มณิปันตี. ผลของโปรแกรมอาหารตามธาตุเจ้าเรือนต่อ ความรู้ เจตคติพฤติกรรมการดูแลตนเองและการรับรู้ภาวะสุขภาพด้านร่างกายในการรับประทาน อาหารตามธาตุเจ้าเรือนของบุคลากร คณะพยาบาลศาสตร์เกื้อการุณย์ มหาวิทยาลัยนวมินทราธิราช. วารสารเกื้อการุณย์. 2559;23(2):120-34.
กนิษฐ์ โง้วศิริ. ผลของโปรแกรมการสร้างเสริมสุขภาพแบบองค์รวมต่อคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุ.วารสารวิทยาศาสตร์การกีฬาและสุขภาพ. 2559;21(3):418-31.
วชิรา สุทธิธรรม, ยุวดี วิทยพันธ์, สุรินธร กลัมพากร. ผลของโปรแกรมพัฒนาความ สามารถในการดูแลตนเองต่อพฤติกรรมในการดูแลตนเองและระดับฮีโมโกลบินเอวันซี ของผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 โรงพยาบาลลานสกา. วารสารสภาการพยาบาล. 2559;31(1):19-31.