การพัฒนารูปแบบการบริหารจัดการศูนย์ปฏิบัติการภาวะฉุกเฉิน กรณีโรคโควิด 19 ของสำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 6 จังหวัดชลบุรี

ผู้แต่ง

  • วัลภา ศรีสุภาพ สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 6 จังหวัดชลบุรี
  • กาญจนา เจ๊กนอก สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 6 จังหวัดชลบุรี

คำสำคัญ:

การพัฒนารูปแบบ, ศูนย์ปฏิบัติการภาวะฉุกเฉิน, โรคโควิด 19

บทคัดย่อ

การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อพัฒนารูปแบบการบริหารจัดการศูนย์ปฏิบัติการภาวะฉุกเฉิน (EOC)   กรณีโรคโควิด 19 ของสำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 6 ชลบุรี (สคร.6 ชลบุรี) รูปแบบการศึกษาเป็นการวิจัยเชิงปฏิบัติการประยุกต์แนวคิดของเคมมิสและแม็กแท็กการ์ท (PAOR) ร่วมกับวงจรคุณภาพ (PDCA) ของเดมมิ่ง แบ่งการศึกษาเป็น 3 ระยะ คือ ระยะที่ 1 ศึกษาบริบทและสถานการณ์ปัญหา ระยะที่ 2 การพัฒนารูปแบบ      การบริหารจัดการ EOC กรณีโรคโควิด 19 สคร.6 ชลบุรี ระยะที่ 3 การสรุปและประเมินผลศึกษาในเจ้าหน้าที ที่ปฏิบัติงานใน EOC โรคโควิด 19 สคร.6 ชลบุรี ระหว่างวันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2563 ถึง 30 กันยายน พ.ศ. 2565 รวบรวมข้อมูลจากเอกสาร รายงานสถานการณ์และผลการดำเนินงานตอบโต้ภาวะฉุกเฉินแต่ละระลอกใช้กระบวนการประชุมเชิงปฏิบัติการ การแลกเปลี่ยนเรียนรู้และถอดบทเรียนจากเจ้าหน้าที่ใน EOC สคร.6 ชลบุรี นำผลที่ได้มาวิเคราะห์หาค่าร้อยละ และวิเคราะห์เชิงเนื้อหา ผลศึกษา พบว่า การพัฒนารูปแบบ EOC โรคโควิด 19 ของ สคร.6 ชลบุรี มีการจัดการ ดังนี้ 1) ด้านการบริหารจัดการ มีการปรับโครงสร้าง EOC ยุบ/รวม/ขยาย/ตั้งกลุ่มภารกิจใหม่ การปรับบุคลากรตามภาระงาน และสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลง ออกเป็นคำสั่งการปรับเปลี่ยนโครงสร้าง กำหนดบทบาทหน้าที่ชัดเจน  มีการกระจายอำนาจรับผิดชอบ โดยมอบหมายรองผู้อำนวยการและผู้ช่วยผู้อำนวยการดูแลกำกับคนละ 1-2 กลุ่มภารกิจ และแบ่งจังหวัดร่วมการประชุมให้ข้อเสนอแนะกับคณะกรรมการโรคติดต่อจังหวัดทั้ง 8 จังหวัด มีการพัฒนาระบบปฏิบัติงานภายใน มีการปรับแผนการจัดการในระยะตอบโต้ภาวะฉุกเฉิน โดยใช้หลักการ PDCA การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ การถอดบทเรียนมาตรวจสอบและปรับปรุง การทำงานอย่างเป็นระบบ 2) ด้านสถานที่และวัสดุอุปกรณ์ มีการจัดหาสถานที่ทำงานของแต่ละกลุ่มภารกิจ รวมถึงสนับสนุนวัสดุอุปกรณ์ให้เหมาะสม เพียงพอ 3) ด้านบุคลากร มีการพัฒนาศักยภาพบุคลากรภาพรวมเพื่อเตรียมพร้อมการปฏิบัติงาน EOC และการพัฒนาศักยภาพทีมภายในแต่ละกลุ่มภารกิจ   ส่งผลให้เกิดการเรียนรู้และพัฒนากระบวนการทำงาน นำไปสู่การปฏิบัติที่ดี สร้างนวัตกรรมขึ้นมาใช้ ผลลัพธ์การดำเนินงานส่วนใหญ่ผ่านเกณฑ์ประเมินตามตัวชี้วัดที่กำหนด และยกระดับการพัฒนาการจัดการภาวะฉุกเฉินทางสาธารณสุขระดับเขต ข้อเสนอแนะ ควรจัดทำแผนพัฒนาเพื่อเพิ่มศักยภาพบุคลากรไปพร้อมกับการพัฒนานวัตกรรมและเทคโนโลยีที่เปลี่ยนแปลง เพื่อสนับสนุนการปฏิบัติงานที่รวดเร็ว ลดกำลังคน โดยเฉพาะการจัดการระบบฐานข้อมูลขนาดใหญ่ การใช้โมเดลในการทำนายเหตุการณ์ และการนำผลการถอดบทเรียนมาวิเคราะห์เพื่อเรียนรู้และเตรียมพร้อมรับมือต่อสถานการณ์โรคที่ไม่คาดคิดในอนาคตต่อไป

References

WHO. “Statement on the Second Meeting of the International Health Regulations (2005) Emergency Committee Regarding the Outbreak of Novel Coronavirus (2019-NCoV)” (Internet). 2020 [Cited 2022 July 31]. Available from: https://www.who.int/news/item/30-01-2020-statement-on-the-second-meeting-of-the-international-health-regulations-(2005)-emergency-committee-regarding-the-outbreak-of-novel-coronavirus-(2019-ncov)

ราชกิจจานุเบกษา. ประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่อง ชื่อและอาการสำคัญของโรคติดต่ออันตราย (ฉบับที่ 3) พ.ศ.2563 [อินเทอร์เน็ต]. 2564 [เข้าถึงเมื่อ 25 มกราคม 2564]. เข้าถึงได้จาก : https://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2563/E/048/T_0001.PDF

Kemmis, S. and R. McTaggart. The Action Research Planner. 3rd ed. Victoria: Deakin University Press; 1988.

Deming in Mycoted. Plan Do Check Act (PDCA) (Internet). 2004 [Cited 2022 July 31]. Available from: http://www.mycoted.com/creativity/techniques/pdca.php

กองควบคุมโรคและภัยสุขภาพในภาวะฉุกเฉิน. แบบเก็บข้อมูลพื้นฐาน เพื่อการวางแผนการพัฒนาศูนย์ปฏิบัติการภาวะฉุกเฉิน สำหรับหน่วยงานสาธารณสุขระดับจังหวัด และระดับเขต (EOC Assessment Tool) [อินเทอร์เน็ต]. 2564 [เข้าถึงเมื่อ 25 พฤษภาคม 2566]. เข้าถึงได้จาก: https://www.ddc.moph.go.th/ddce/news.php?news=13271&deptcode=

กรมควบคุมโรค. แนวทางการบริหารจัดการ สถานที่กักกันซึ่งทางราชการกำหนด (Quarantine Facilities) ฉบับปรับปรุง Version 3.0. กรุงเทพมหานคร: สำนักงานกิจการโรงพิมพ์ องค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึกในพระบรมราชูปถัมภ์; 2563.

รัฐสภา. สรุปมาตรการและการดำเนินงานของไทยต่อสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โรคโควิด 19) ฉบับ 8 ระหว่างเดือนมกราคม-มีนาคม 2565 [อินเทอร์เน็ต]. 2564 [เข้าถึงเมื่อ 25 พฤษภาคม 2566]. เข้าถึงได้จาก: https://www.parliament.go.th/ewtadmin/ewt/parliament_parcy/ewt_dl_link.php?nid=85481&filename=interparliament2

กรมควบคุมโรค. การจัดการภาวะฉุกเฉินทางสาธารณสุขระบบบัญชาการเหตุการณ์และศูนย์ปฏิบัติการภาวะฉุกเฉิน สำหรับผู้บริหารกระทรวงสาธารณสุข. นนทบุรี: ศูนย์ปฏิบัติการภาวะฉุกเฉินทางสาธารณสุข กรมควบคุมโรค; 2560.

ชาญเลขา กุลละวณิชย์. การพัฒนากลยุทธ์การบริหารจัดการภาวะฉุกเฉินทางสาธารณสุขด้านการป้องกัน ควบคุมโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 จังหวัดฉะเชิงเทรา. วารสารสมาคมเวชศาสตร์ป้องกันแห่งประเทศไทย 2564;11(2):218-38.

Sinclair H, Doyle Emma EH, Johnston D, and Paton D. “The Use of Emergency Operations Centres in Local Government Emergency Management.” Int. J. of Emergency Management 2013;9(3). p. 205–28. doi: 10.1504/IJEM.2013.058542.

ปวีณา พิเชฐสินธุ์. การทำวิจัยในชั้นเรียน [อินเทอร์เน็ต]. [เข้าถึงเมื่อ 25 มีนาคม 2566]. เข้าถึงได้จาก: http://www.esbuy.net/_files_school/00000754/document/00000754_0_20140124- 140156.pdf)

ศุภวัลย์ พลายน้อย. นานาวิธีวิทยา การถอดบทเรียนและสังเคราะห์องค์ความรู้. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์บริษัท พี.เอ.ลีฟวิ่ง จำกัด; 2547.

ประภาพันธ์ อุ่นอบ และณภัทร ประภาสุชาติ. โครงสร้างและกลไกการบริหารจัดการโครงการสาธารณะ. กรุงเทพ: โรงพิมพ์บริษัท พี.เอ.ลีฟวิ่ง จำกัด; 2547.

Ding F, Li Q, and Lian-Mei J. “Experience and Practice of the Emergency Operations Center, Chinese Center for Disease Control and Prevention: A Case Study of Response to the H7N9 Outbreak”. Infectious Diseases of Poverty 2021;10(4). doi: 10.1186/s40249-020-00789-x.

กระทรวงสาธารณสุข. KPI Template ประจำปี 2564 [อินเทอร์เน็ต]. 2564 [เข้าถึงเมื่อ 25 กันยายน 2564].เข้าถึงได้จาก: http://healthkpi.moph.go.th/kpi2/kpi/index/?id=1687&kpi_year=2564

อรพิรุฬห์ ยุรชัย. แหล่งกำเนิด การแพร่ระบาด และความรู้เกี่ยวกับโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา2019 (COVID-19). วารสาร Disaster Profile สาระภัย Special Edition 2564;7(12):6-13.

อนุรักษ์ สารภาพ. มาตรการการควบคุมโรคลักษณะ Bubble and Seal [อินเทอร์เน็ต]. 2564 [เข้าถึงเมื่อ 25 พฤษภาคม 2566]. เข้าถึงได้จาก: https://psub.psu.ac.th/?p=7917

สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 6 จังหวัดชลบุรี. รายงานสถานการณ์โรคโควิด 19 เขตสุขภาพที่ 6. เอกสารประกอบการประชุม EOC เขตสุขภาพที่ 6; 25 มิถุนายน 2565; เขตสุขภาพที่ 6, ชลบุรี. 2565

เบญจมาภรณ์ ภิญโญพรพาณิชย์. รายงานการวิจัย Bubble and Seal จากนโยบายการป้องกันควบคุมโรคสู่บทเรียนเพื่อความมั่นคงสุขภาพของประเทศไทย [อินเทอร์เน็ต]. [เข้าถึงเมื่อ 25 มิถุนายน 2566]. เข้าถึงได้จาก: https://ddc.moph.go.th/uploads/publish/1378220230130084325.pdf

Downloads

เผยแพร่แล้ว

09-10-2024