พฤติกรรมการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออกของประชาชนตำบลโพนสูง อำเภอด่านซ้าย จังหวัดเลย
คำสำคัญ:
โรคไข้เลือดออก, พฤติกรรม, การป้องกันและควบคุมโรคบทคัดย่อ
การศึกษาเชิงพรรณนาแบบตัดขวางนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาพฤติกรรมการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออก และศึกษาปัจจัยที่สัมพันธ์กับพฤติกรรมป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออกของประชาชน ตำบลโพนสูง อำเภอด่านซ้าย จังหวัดเลย จำนวนทั้งหมด 400 คน สุ่มกลุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน เก็บรวบรวมข้อมูลเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2566 เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบถามคุณลักษณะทั่วไป แบบทดสอบความรู้เรื่อง โรคไข้เลือดออก แบบสอบถามทัศนคติต่อการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออก และแบบสอบถามพฤติกรรมการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออก วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และทดสอบสมมติฐานด้วยสถิติการวิเคราะห์ถดถอยโลจิสติกแบบพหุตัวแปร (Multiple logistic regression) ผลการศึกษา พบว่า กลุ่มตัวอย่างมีพฤติกรรมการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออก อยู่ในระดับดี ร้อยละ 52.80 ค่าเฉลี่ยคะแนนพฤติกรรมโดยรวมอยู่ในระดับปานกลาง ( = 3.65, SD = 0.52) ส่วนใหญ่มีพฤติกรรมระดับดีมากที่สุดในเรื่องการจัดข้าวของภายในบ้าน และรอบบ้านให้เป็นระเบียบ ไม่ให้เป็นแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลาย ( = 4.28, SD = 0.82) ส่วนพฤติกรรมที่ต้องปรับปรุง คือ การแขวนเสื้อผ้า ไว้ตามฝาผนังห้องหรือมุมของบ้าน ซึ่งจะทำให้มียุงมาเกาะ ( = 2.86, SD = 1.31) สำหรับปัจจัยที่สัมพันธ์ กับพฤติกรรมการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออก ได้แก่ การมีบทบาทในชุมชน (Adjusted OR = 1.71, 95%CI = 1.06 - 2.75) และรายได้ครัวเรือนมากกว่า 10,000 บาทต่อเดือน (Adjusted OR = 2.42, 95%CI = 1.19 - 4.91) ดังนั้น หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ควรส่งเสริมให้ประชาชนทุกครัวเรือนเข้ามามีบทบาทในการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออก มีส่วนร่วมในการกำหนดมาตรการการจัดการสิ่งแวดล้อมรอบที่อยู่อาศัยของตนเอง และหมู่บ้าน รวมทั้งการสนับสนุนทรัพยากรที่ใช้ป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออกล่วงหน้าก่อนเริ่มระบาด โดยเฉพาะกลุ่มประชาชนที่มีรายได้น้อยเพื่อให้มีการเข้าถึงทรัพยากรที่จำเป็น
References
กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข. รายงานพยากรณ์โรคไข้เลือดออกประจำปี 2562. นนทบุรี: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย จำกัด; 2562.
กองโรคติดต่อนำโดยแมลง กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข. ยุทธศาสตร์การจัดการโรคติดต่อนำโดยโดยแมลง พ.ศ. 2566 - 2575. นนทบุรี: อักษรกราฟฟิกแอนด์ดีไซด์; 2565.
ศูนย์ตอบโต้ภาวะฉุกเฉินโรคไข้เลือดออก เขตสุขภาพที่ 8. แนวทางการบริหารจัดการโรคไข้เลือดออก. [อินเทอร์เน็ต]. 2566 [เข้าถึงเมื่อ 20 ตุลาคม 2566]. เข้าถึงได้จาก: https://r8way.moph.go.th
กองโรคติดต่อนำโดยแมลง กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข. แนวทางการดำเนินงานเฝ้าระวัง ป้องกัน ควบคุมโรคติดต่อนำโดยยุงลาย สำหรับเจ้าหน้าที่สาธารณสุข พ.ศ. 2564. นนทบุรี: อักษรกราฟฟิคแอนด์ดีไซด์; 2564.
สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 8 จังหวัดอุดรธานี กรมควบคุมโรค. รายงานสถานการณ์โรคไข้เลือดออก (DF, DHF, DSS) ในพื้นที่. [อินเทอร์เน็ต]. วันที่ 22 ก.ค. 2566 [เข้าถึงเมื่อ วันที่ 30 พฤษภาคม 2566]. เข้าถึงได้จาก: https://ddc.moph.go.th
Nooykuwoong, T. Preventive Behavior Related to Dengue Hemorrhagic Fever: A Case Study in Sadao District, Songkhla Province. [Master’s thesis Faculty of Pubic Health]. Songkhla: Rajabhat University; 2015.
ชนิดา มัททวางกูร, ปรียานุช พลอยแก้ว, อโนทัย ถวัลย์เสรีวัฒนา, อัมพร สิทธิจาด, ธำรงเดช น้อยสิริวัฒนา. ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการป้องกันและ ควบคุมโรคไข้เลือดออกของประชาชนในพื้นที่รับผิดชอบของโรงพยาบาล ส่งเสริมสุขภาพตำบลสายสี่ จังหวัดสมุทรสาคร. วารสารพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยสยาม 2557;34-48.
ธนัญญา เส้งคุ้ย. ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออกของประชาชนในตำบลท่าช้าง อำเภอบางกล่ำ จังหวัดสงขลา [วิทยานิพนธ์ปริญญาสาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต]. สงขลา: มหาวิทยาลัยทักษิณ; 2563.
อนุชา ศรีเริงหล้า. ปัจจัยทางภูมิอากาศกับการระบาดของไข้เลือดออก. วิจัยและความร่วมมือทางวิชาการ กองพัฒนาอุตุนิยมวิทยา. [อินเทอร์เน็ต]. [เข้าถึงเมื่อ วันที่ 19 เมษายน 2566]. เข้าถึงได้จาก: https://www.sciencedaily.com/releases/2022/07/220 707100937.htm
Krejcie, R.V., & Morgan, D.W. Determining Sample Size for Research Activities. Educational and Psychological Measurement 1970;30:607-10.
Bloom, BS. Learning for Mastery. UCLA Evaluation Comment 1968;1(2):1–8.
Best, & John, W. Research in Education. (3 rd ed.). New Jersey: Prentice Hall; 1977.
ชมพูนุช อินทศรี, ภัคจิรา สาระวงษ์อโนทัย ผลิตนนท์เกียรติ และดวงใจ เอี่ยมจ้อย. ปัจจัยที่สัมพันธ์กับการป้องกันโรคไข้เลือดออกของประชาชนในชุมชนบ้านคลองบางนา ตำบลศรีษะจรเข้น้อย อำเภอบางเสาธง จังหวัดสมุทรปราการ. วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี หัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ 2560;3(1):43-51.
วิทยา ศรแก้ว. พฤติกรรมการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออกของประชาชนอำเภอฉวาง จังหวัดนครศรีธรรมราช สำนักงานสาธารณสุขอำเภอช้างกลาง จังหวัดนครศรีธรรมราช. วารสารสาธารณสุขและวิทยาศาสตร์สุขภาพ 2563;3(2):13-26.
หทัยรัตน์ ตัลยารักษ์ และจุฑาทิพย์ ช่วยคล้าย. ความรู้ เจตคติ และพฤติกรรมการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออกของประชาชนในตำบลเคร็ง อำเภอชะอวด จังหวัดนครศรีธรรมราช. วารสารการประชุมหาดใหญ่วิชาการระดับชาติและนานาชาติ ครั้งที่ 10 2562, มหาวิทยาลัยหาดใหญ่ จังหวัดสุราษฎธานี;1504-14.
บุญประจักษ์ จันทร์วิน. ความสัมพันธ์ระหว่างการรับรู้กับพฤติกรรมป้องกันโรคไข้เลือดออกของประชาชน ในอำเภอที่มีอัตราป่วยสูง จังหวัดนครศรีธรรมราช. วารสารวิชาการสาธารณสุขชุมชน 2565;8(4): 141-56.
สำนักสื่อสารและประชาสัมพันธ์ กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ กระทรวงสาธารณสุข. บทความอาสาสมัครสาธารณสุข (อสม.) [อินเทอร์เน็ต]. วันที่ 14 มิ.ย. 2565 [เข้าถึงเมื่อ วันที่ 17 พฤษภาคม 2567]. เข้าถึงได้จาก: https://prgroup.hss.moph.go.th/article
นอรีนี ตะหวา และปวิตร ชัยวิสิทธ. การพัฒนารูปแบบส่งเสริมศักยภาพการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออกแบบมีส่วนร่วมของชุมชนเขตตำบลเคร็ง อำเภอชะอวด จังหวัดนครศรีธรรมราช วารสารการประชุมหาดใหญ่วิชาการระดับชาติและนานาชาติครั้งที่ 10 2562;1612-27.