ลักษณะทางระบาดวิทยาและปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการเสียชีวิตของผู้ป่วยโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ในประเทศไทย ระหว่างปี พ.ศ. 2563–2564

ผู้แต่ง

  • ยุวดี แก้วประดับ กองระบาดวิทยา กรมควบคุมโรค
  • ชรัฐพร จิตรพีระ กองระบาดวิทยา กรมควบคุมโรค
  • จุฑารัตน์ อาภาคัพภะกุล กองระบาดวิทยา กรมควบคุมโรค
  • ภาวินี ด้วงเงิน กองระบาดวิทยา กรมควบคุมโรค

คำสำคัญ:

โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ในประเทศไทย, ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการเสียชีวิต, ระบาดวิทยา

บทคัดย่อ

การศึกษานี้เป็นการศึกษาภาคตัดขวาง รวบรวมข้อมูลทุติยภูมิย้อนหลังจากการรายงานข้อมูลของกรมควบคุมโรค ระหว่างปี พ.ศ. 2563-2564  มีวัตถุประสงค์เพื่ออธิบายลักษณะทางระบาดวิทยา และศึกษาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการเสียชีวิตของผู้ป่วยโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ในประเทศไทย ระหว่างปี พ.ศ. 2563-2564 โดยใช้สถิติเชิงพรรณนา (Descriptive Statistics) ได้แก่ อัตรา จำนวน และร้อยละ และการวิเคราะห์ถดถอยลอจิสติกเชิงพหุ (Multiple logistic regression analysis) ได้แก่ Odd ratio, Adjusted odd ratio และช่วงความเชื่อมั่น 95% Confidence Interval ผลการศึกษา พบผู้ป่วย 2,224,450 ราย อัตราป่วย 3,356.35 ต่อแสนประชากร อัตราตาย 32.74 ต่อแสนประชากร  (ข้อมูล ณ วันที่ 1 สิงหาคม 2566) เพศหญิง ร้อยละ 48.56 อายุระหว่าง 20-29 ปี ร้อยละ 20.45 อายุเฉลี่ย 34 ปี ไม่มีข้อมูลการรับวัคซีนสูงสุด ร้อยละ 77.39 ไม่มีการระบุข้อมูลการรับยาต้านไวรัส ร้อยละ 99.69 เดือนสิงหาคมสูงสุด ร้อยละ 27.31 สมุทรสาคร พบอัตราป่วยสูงสุด 19,216.26 ต่อแสนประชากร และพบผู้เสียชีวิต จำนวน 21,698 ราย เพศชาย ร้อยละ 53.89 อายุ 60 ปีขึ้นไปเสียชีวิตสูงสุด ร้อยละ 68.73 โดยที่ผู้เสียชีวิตได้รับยาต้านไวรัส ร้อยละ 74.09 ไม่ได้รับวัคซีนสูงสุด ร้อยละ 83.77 เดือนสิงหาคมสูงสุด ร้อยละ 31.34 สมุทรสาครพบอัตราตายสูงสุด 150.35 ต่อแสนประชากร นอกจากนี้ ปัจจัยเสี่ยงต่อการเสียชีวิตของผู้ป่วยโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 พบว่าเพศชายมีความเสี่ยงมากกว่าเพศหญิง (aOR 1.29, 95%CI = 1.24-1.34) และผู้ที่มีอายุมากกว่า 60 ปี มีความเสี่ยงต่อการเสียชีวิตกว่าอายุอื่นๆ (aOR 77.89, 95%CI = 58.97-102.89) ผู้ที่มีโรคประจำตัว ได้แก่ โรคระบบทางเดินหายใจ (aOR 1.52, 95%CI = 1.25-1.87) โรคหัวใจและหลอดเลือด (aOR 1.97, 95%CI = 1.56-2.49) โรคไต (aOR 13.86, 95%CI = 10.80-17.81) โรคหลอดเลือดสมอง (aOR 1.37, 95%CI = 1.17-1.62) โรคอ้วน (aOR 46.84, 95%CI =  34.16 -64.22) โรคมะเร็ง (aOR 5.80, 95%CI = 4.31-7.80) โรคเบาหวาน (aOR 1.47, 95%CI = 1.31-1.65) อย่างไรก็ตามปี พ.ศ. 2563-2564 เป็นช่วงแรกของการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 กระทรวงสาธารณสุขและรัฐบาลมีความจำเป็นอย่างเร่งด่วนที่จะลดการระบาด และความรุนแรงของโรค การจัดการข้อมูลที่บางส่วนช่วงแรกจึงอาจจะยังไม่สมบูรณ์ ดังนั้น การจัดการข้อมูลเพื่อเฝ้าระวังป้องกันควบคุมโรคอุบัติใหม่ จึงเป็นสิ่งที่ควรจะต้องเตรียมการและพัฒนาให้มีลงข้อมูลให้สมบูรณ์มากที่สุด เพื่อใช้ประกอบในการวางแผนและมาตรการป้องกันควบคุมโรคต่อไป

References

World Health Organization. Coronavirus [Internet]. 2023 [cited 2023 Jun 21]. Available from: https://www.who.int/thailand/health-topics/coronavirus.

กรมควบคุมโรค. ประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่องชื่อและอาการสำคัญของโรคติดต่ออันตราย [อินเทอร์เน็ต]. 2563 [เข้าถึงเมื่อ 17 กันยายน 2566]. เข้าถึงได้จาก: https://ddc.moph.go.th/law.php?law=1.

World Health Organization. WHO Coronavirus (COVID-19) Dashboard [Internet]. 2023 [cited 2023 Jun 21]. Available from: https://covid19.who.int/.

Parohan M, Yaghoubi S, Seraji A, Javanbakht MH, Sarraf P, Djalali M. Risk factors for mortality in patients with Coronavirus disease 2019 (COVID-19) infection: a systematic review and meta-analysis of observational studies. Aging Male 2020;23(5):1416-24.

Zhang T, Huang WS, Guan W, Hong Z, Gao J, Gao G, et al. Risk factors and predictors associated with the severity of COVID-19 in China: a systematic review, meta-analysis, and meta-regression. J. Thorac. Dis 2020;12(12):7429-41.

Kinoshita R, Jung SM, Kobayashi T, Akhmetzhanov AR, Nishiura H. Epidemiology of coronavirus disease 2019 (COVID-19) in Japan during the first and second waves. Math Biosci Eng 2022;19(6):6088-101.

Tan T, Toh M, Vasoo S, Lye D, Ang B, Leo Y, et al. Coronavirus Disease 2019 (COVID-19) The Singapore Experience: A Review of the First Eight Months. Ann Acad Med Singap 2020;49(10):764-78.

Chen H, Wu S, Zhang X. COVID-19 in China: From epidemiology to treatment (Review). Exp Ther Med 2020;20(6):223.

Karako K, Song P, Chen Y, Tang W, Kokudo N. Overview of the characteristics of and responses to the three waves of COVID-19 in Japan during 2020-2021. Biosci Trends 2021;15(1):1-8.

Dessie ZG, Zewotir T. Mortality-related risk factors of COVID-19: a systematic review and meta-analysis of 42 studies and 423,117 patients. BMC Infect Dis 2021; 21(1): 855.

ปิยนุช ปฏิภาณวัตร. ปัจจัยที่มีผลต่อการเสียชีวิตของผู้ป่วยโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) โรงพยาบาลกาฬสินธุ์. วารสารสุขภาพและสิ่งแวดล้อมศึกษา. 2565;7(1):64-71.

พรรณระพี ศรีชมภู. ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับความรุนแรงของโรคปอดติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ที่ได้รับการรักษาที่โรงพยาบาลโชคชัย จังหวัดนครราชสีมา. วารสารการแพทย์โรงพยาบาลศรีสะเกษ สุรินทร์ บุรีรัมย์.2566;38(1):201-9.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

29-05-2024